นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 238

ปีที่ 50 ฉบับที่ 238 กันยายน - ตุลาคม 2565 19 Ain, T. N. et.al . (2018). T he Scientific Argumentation Profile of Physics Teacher Candidate in Surabaya. Journal of Physics: Conference Series. 997 (1): 012025. McNeill, K. L. & Berland, L. (2017). W hat is (or Should Be) Scientific Evidence Use in K-12 Classrooms? Journal of Research in Science Teaching. 54( 5): 672-289. Sampson, V. & Grooms, J. & Walker, J. P. (2009). Argument-Driven Inquiry: way to promote learning during laboratory activities . The Science Teacher. 11: 42-47. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2551). หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติม ฟิสิกส์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 3 ตามผลการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: สำ�นักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). ครูวิทยาศาสตร์มืออาชีพ แนวทางสู่การเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร: อินเตอร์เอ็ดคูเดชั่น ซัพพลายส์. บรรณานุกรม ภาพ 6 ตัวอย่างคำ�อธิบายทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนรายบุคคล ขั้นที่ 5 การเขียนรายงานคำ�อธิบายทางวิทยาศาสตร์ (Write up Scientific Explanation Report) หลังจากที่นักเรียนแต่ละกลุ่มได้รับ การตรวจสอบด้วยกระบวนการโต้แย้งในขั้นที่ 4 เรียบร้อยแล้ว จากนั้น นักเรียนรับใบกิจกรรมการสร้างคำ�อธิบายทางวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย ข้อกล่าวอ้าง หลักฐาน และเหตุผล ในกิจกรรมนี้นักเรียนแต่ละคนเขียน คำ�อธิบายทางวิทยาศาสตร์ที่สมบูรณ์ด้วยตนเองอีกครั้ง ดังภาพ 6 ในขั้นตอนสุดท้ายเป็นการประเมินผลกิจกรรมรายบุคคล โดย สามารถตรวจใบกิจกรรมของนักเรียนทุกคน ซึ่งจะสะท้อนความสามารถ ในการสร้างคำ�อธิบายของนักเรียนและช่วยให้นักเรียนมีทักษะการสื่อสาร ทางวิทยาศาสตร์ผ่านการเขียนได้เป็นอย่างดี ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับกลวิธีการโต้แย้ง นำ�มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาฟิสิกส์ ผ่านกิจกรรม “การแกว่งของลูกตุ้ม อย่างง่าย” เป็นกิจกรรมสืบเสาะหาความรู้ที่ผนวกกับกระบวนการโต้แย้ง ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนสามารถพัฒนาแนวคิดทางวิทยาศาสตร์และสร้าง องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และคุณลักษณะ ของนักวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ ระหว่างที่นักเรียนทำ�การโต้แย้งจะทำ�ให้ นักเรียนเกิดการรู้คิด มีเหตุผล มีหลักฐานที่สื่อสารหรือโต้แย้งออกไป และยังปลูกฝังคุณลักษณะความมีใจกว้างยอมรับความคิดเห็น ของผู้อื่น รวมทั้งสามารถสร้างคำ�อธิบายเพื่ออธิบายปรากฏการณ์ทาง ธรรมชาติ คณะผู้เขียนจึงอยากเชิญชวนครูวิทยาศาสตร์ที่สนใจได้นำ�ไป ประยุกต์ใช้กับหน่วยการเรียนรู้อื่น เช่น กลศาสตร์ คลื่น เนื่องจากเป็นเนื้อหา ที่เป็นนามธรรมเช่นเดียวกับการเคลื่อนแบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย นอกจากนี้ การเรียนรู้ที่เน้นการโต้แย้งสามารถเปลี่ยนการเรียนรู้ของผู้เรียนแบบ ตั้งรับ (Passive Learning) เป็นการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) ได้ นักเรียนจะเกิดกระบวนการตั้งคำ�ถาม ทดลอง และโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ เพื่อหาข้อสรุปอย่างฉันทามติบนพื้นฐานของหลักฐานเชิงประจักษ์ จะช่วย พัฒนาให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาฟิสิกส์อย่างลึกซึ้งถึงแก่นแท้ของวิชาอย่าง แท้จริง

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5