นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 238

ปีที่ 50 ฉบับที่ 238 กันยายน - ตุลาคม 2565 23 จ ากข้อกำ�หนดดังกล่าว ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 4 จึงตีความหมายได้ว่า เมื่อผู้เรียนจบการศึกษาในชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 แล้ว ผู้เรียนก็ควรจะต้องสามารถใช้เครื่องมือในการวัดความยาว การแปลงหน่วยวัดความยาว และควรจะมีความสามารถ ในการประยุกต์ใช้ทักษะดังกล่าวในชีวิตประจำ�วันได้อย่างคล่องแคล่ว ดังตัวอย่างบทสนทนาที่เกิดขึ้นในห้องเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ตัวอย่างบทสนทนาในห้องเรียน ครู มีใครตอบได้ไหมเอ่ย ว่าไม้บรรทัดที่เราใช้กันนั้น มีหน่วยวัดกี่แบบ ส้มแป้น 2 แบบ ค่ะ ครู มีอะไรบ้างเอ่ย ตะวันโด่ง วัดเป็นเซนติเมตร และวัดเป็นนิ้ว ครับ ครู เท่านั้นหรือ แล้ว มีใครรู้ไหมเอ่ย ว่า 1 เมตรมีกี่เซนติเมตร และ 1 เซนติเมตร มีกี่มิลลิเมตร เตยหอม 1 เมตร เท่ากับ 100 เซนติเมตร และ 1 เซนติเมตร เท่ากับ 10 มิลลิเมตร ค่ะ ครู เด็กๆ เก่งมากค่ะ ว่าแต่มีใครใช้ไม้บรรทัดวัดความยาวไม่เป็นบ้างเอ่ย เด็กๆ ทั้งห้อง {ไม่มีคนยกมือเลย} ครู ทุกคนใช้ไม้บรรทัดเป็นกันหมดเลย เอาหล่ะ งั้นวันนี้ครูจะให้ทุกคนได้ทำ�กิจกรรมวัดความยาวของต้นถั่วงอกกัน จากบทสนทนา จะเห็นได้ว่าเมื่อจบบทสนทนาในชั้นเรียน ผู้สอนส่วนใหญ่จะประเมินแบบคร่าวๆ ได้ว่า ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจในการใช้ไม้บรรทัดเพื่อวัดสิ่งของต่างๆ ได้ เพราะเด็กๆ มักจะตอบได้ ท่องได้อย่างเสียงดังฟังชัดกันเลยทีเดียว ทำ�ให้ ผู้สอนหลายคนมองข้ามที่จะตรวจสอบทักษะในการใช้ไม้บรรทัดของนักเรียนแต่ละคนอีกครั้ง ในช่วงปีการศึกษา พ.ศ. 2563 - 2564 เป็นช่วงที่มีการระบาดของเชื้อ Covid-19 ทำ�ให้การจัดการเรียนการสอนใน ชั้นเรียนไม่สามารถทำ�ได้เหมือนปกติที่เคยปฏิบัติกันมา และในปีการศึกษา 2565 หลังจากที่สถานการณ์คลี่คลายลง เด็กๆ ได้ กลับมาเรียนในชั้นเรียนอีกครั้ง ผู้เขียนได้มีโอกาสจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการวัดโดยใช้ไม้บรรทัดเพื่อตรวจสอบทักษะการใช้ไม้บรรทัด ในการวัดของผู้เรียน และเมื่อทำ�การตรวจสอบความรู้พื้นฐานของผู้เรียนในรูปแบบของการถามตอบก็พบว่า ผู้เรียนสามารถจดจำ� องค์ความรู้เกี่ยวกับหน่วยวัดและการใช้ไม้บรรทัดสำ�หรับการวัดได้เป็นอย่างดีเหมือนในตัวอย่างของบทสนทนาข้างต้น ดังกิจกรรม ต่อไปนี้ กิจกรรม การวัดหาความยาวของต้นถั่วงอก วัสดุอุปกรณ์ ถั่วงอก เส้นด้าย กรรไกร ไม้บรรทัด วิธีการทำ�กิจกรรม ให้ผู้เรียนวัดหาความยาวของต้นถั่วงอกด้วยตนเอง บันทึกผลความยาวมีหน่วยเป็นมิลลิเมตร โดยพยายามกำ�ชับให้ผู้เรียนแต่ละคนทำ�การวัดด้วยตนเองตามศักยภาพ และให้เดินมารายงาน ค่าที่ได้จากการวัดด้วยตนเองที่โต๊ะผู้สอนหน้าชั้นเรียน เพื่อผู้สอนจะได้นำ�ค่าที่ได้จากการวัด ของแต่ละคนบันทึกลงบนตาราง (ตาราง 1 และตาราง 2) เพื่อนำ�มาอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน จากข้อมูลในการทำ�กิจกรรมสั้นๆ พบว่า ในช่วงแรกของการทำ�กิจกรรม ผู้เรียนจะยังไม่สามารถแก้ปัญหาในการวัดได้ เนื่องจากต้นถั่วงอกมีลักษณะไม่ตรง หลายกลุ่มทำ�ต้นถั่วงอกหัก ทำ�ให้ต้องมารับต้นถั่วงอกต้นใหม่และทำ�การวัดใหม่ ทั้งหมด โดยตัวเลขที่ได้จากการวัดต้นถั่วงอกที่หักจะไม่สามารถนำ�มาใช้ได้อีก และ เมื่อถามผู้เรียนถึงสาเหตุที่ทำ�ให้สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มวัดได้ความยาวที่แตกต่างกัน ผู้เรียนจึงจะเข้าใจและมองเห็นประโยชน์ของการนำ�เส้นด้ายมาช่วยในการวัดหา ความยาวต้นถั่วงอกได้

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5