นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 238
ปีที่ 50 ฉบับที่ 238 กันยายน - ตุลาคม 2565 25 บทสรุปจากการทำ�กิจกรรม เมื่ออภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน ผู้เรียนจะค้นพบว่า ผู้เรียนแต่ละคนภายในกลุ่มวัดความยาวต้นถั่วงอกต้นเดียวกัน ได้ไม่เท่ากันเนื่องจาก 1. เพื่อนๆ ในกลุ่มใช้ไม้บรรทัดไม่เป็น โดยในตอนแรกเพื่อนบางคนใช้ไม้บรรทัดด้านที่มีหน่วยเป็นนิ้ววัดความยาว ต้นถั่วงอกและบันทึกผลเป็นมิลลิเมตร 2. เพื่อนในกลุ่มใช้ขอบไม้บรรทัดเป็นจุดเริ่มต้นในการวัด ไม่ได้ใช้ที่ขีดแรกของไม้บรรทัด 3. ต้นถั่วงอกงอ ทำ�ให้การจัดเรียงเพื่อทำ�การวัดในตอนแรกแตกต่างกันไป ค่าที่วัดได้จึงไม่เท่ากัน เส้นด้ายเป็นสิ่งที่ สามารถนำ�มาแก้ปัญหาเรื่องการโค้งงอของต้นถั่วงอกได้ ทำ�ให้ค่าที่ได้จากการวัดมีค่าใกล้เคียงกันมากขึ้น 4. ไม่เข้าใจการเปลี่ยนหน่วยวัดจากเซนติเมตรเป็นมิลลิเมตร เมื่อลงมือวัดจริง จากผลการศึกษานักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 5 จำ�นวน 120 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำ�นวน 89 คน ของ Bragg & Outhred (2004) พบว่า การที่ผู้เรียนไม่สามารถใช้ไม้บรรทัดในการวัดความยาวสิ่งของต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง สามารถพบได้ในเด็กทุกชั้นในระดับประถมศึกษา โดยพบว่าผู้เรียนหลายคนไม่สามารถระบุได้ว่าไม้บรรทัดด้านใดมีหน่วยวัด เป็นเซนติเมตรหรือเป็นนิ้ว หรือไม้บรรทัดมีหน่วยวัดเป็นอะไร แต่เมื่อให้ผู้เรียนได้ลงมือทำ�ผ่านประสบการณ์ พบว่าผู้เรียนสามารถ เรียนรู้การวัดและอ่านค่าได้อย่างถูกต้องเช่นเดียวกันกับเด็กไทยที่ร่วมอยู่ในกรณีศึกษาในครั้งนี้ ดังนั้น สิ่งสำ�คัญที่ผู้สอนควรตระหนักก็คือ วิธีการสอนที่เราใช้สามารถทำ�ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ได้อย่างเข้าใจหรือไม่ ซึ่งพบว่าวิธีการสอนโดยทั่วไป ไม่สามารถส่งเสริมให้ผู้เรียนเข้าใจการใช้ไม้บรรทัดและหน่วยการวัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Deitz, et al, 2009) สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ Covid -19 ทำ�ให้ผู้เรียนขาดโอกาสที่จะได้เรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติใน ชั้นเรียน จึงส่งผลกระทบทำ�ให้ผู้เรียนไม่มีทักษะในการใช้ไม้บรรทัดสำ�หรับการวัดได้อย่างถูกต้อง และเมื่อผู้เรียนได้กลับเข้ามาเรียน ในชั้นเรียนแบบปกติอีกครั้ง ผู้สอนจำ�เป็นต้องหาวิธีการตรวจสอบผู้เรียนแต่ละคนว่าสามารถใช้ไม้บรรทัดและหน่วยการวัดได้อย่าง ถูกต้องหรือไม่ เพราะถ้าหากผู้เรียนไม่สามารถเรียนรู้ทักษะนี้ได้ จะส่งผลต่อเนื่องทำ�ให้ผู้เรียนไม่สามารถนำ�เอาความรู้ในส่วนนี้ ไปใช้ในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์สำ�หรับการเรียนในระดับที่สูงขึ้น หรือการนำ�ไปใช้ในชีวิตประจำ�วันได้ Bragg, P. & Outhred, L. (2004). A Measure of Rulers--The Importance of Units in a Measure. International Group for the Psychology of Mathematics Education. 2 : 159-166. Deitz, K. & Huttenlocher, J. & Kwon, M. K. & Levine, S. C. & Ratliff, K. (2009). Children’s Understanding of Ruler Measurement and Units of Measure: A training study. In Proceedings of the Annual Meeting of the Cognitive Science Society. 31 (31): 2391-2395. กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำ�กัด. บรรณานุกรม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5