นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 238
32 นิตยสาร สสวท. ปั จจัยอย่างหนึ่งอาจมาจากการนำ�สะเต็มศึกษาไปใช้ในห้องเรียน ที่ยังมีข้อจำ�กัดหลายประการ ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะผู้สอนยังมองว่า สะเต็มศึกษาคือ การจัดการเรียนรู้โดยการบูรณาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์เท่านั้น และยังไม่สามารถ อธิบายเชิงลึกเกี่ยวกับลักษณะของการบูรณาการของศาสตร์ดังกล่าวได้ เช่น ลักษณะของการบูรณาทางสะเต็มศึกษา หรือการกำ�หนดเงื่อนไขและ ข้อจำ�กัดที่สามารถนำ�ไปสู่นวัตกรรมแก้ปัญหา รวมทั้งเป้าหมายที่แท้จริง ของสะเต็มศึกษาว่าจัดกิจกรรมสะเต็มไปเพื่ออะไร ลักษณะกิจกรรมควร เป็นอย่างไร หรือสะเต็มศึกษาเชื่อมโยงกับความเป็นพลเมืองอย่างไร (Srikoom, Hanuscin, & Faikhamta, 2017) อีกประการหนึ่งประเทศไทย ยังมีตัวอย่างกิจกรรมสะเต็มศึกษาที่มีการเชื่อมโยงไปสู่เรื่องเศรษฐกิจและ การพัฒนาที่ยั่งยืนค่อนข้างน้อย ดังนั้น จึงถึงเวลาของการขับเคลื่อนเพื่อปรับเปลี่ยนสะเต็มศึกษา ให้ครอบคลุมทุกมิติ โดยเชื่อมโยงกับสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม รวมถึง การส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นพลเมืองที่มีศักยภาพในการพัฒนาประเทศอย่าง แท้จริง การนำ�แนวคิดเศรษฐกิจบีซีจี (BCG Economy) ซึ่งเป็นการบูรณาการ เศรษฐกิจสามมิติแบบองค์รวมมาผนวกกับสะเต็มศึกษาจึงเป็นอีกทางเลือก ที่ส่งเสริมการบรรลุเป้าหมายของการขับเคลื่อนสะเต็มศึกษา เนื่องจาก แนวคิดเศรษฐกิจบีซีจี เป็นนโยบายทางเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ที่กำ�เนิดขึ้นมา เพื่อแก้ปัญหาเป้าหมายการสร้างพลเมืองตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี รวมถึงการพัฒนาประเทศให้ไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนสอดคล้องตามหลักการ เศรษฐกิจพอเพียง ชึ่งภาคการศึกษามีบทบาทสำ�คัญในการเตรียมพลเมือง ให้เป็นไปตามเป้าหมายของประเทศและนำ�ไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนที่ สอดคล้องตามหลักการเศรษฐกิจพอเพียงต่อไป แนวคิดเศรษฐกิจบีซีจี เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม ที่จะพัฒนาเศรษฐกิจ 3 มิติ ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy : B) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy : C) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy : G) ไปพร้อมกัน (ประชาคมวิจัยด้านเศรษฐกิจ ชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว, 2561) โดยมีเป้าหมาย เพื่อต่อยอดความเข้มแข็งของฐานเศรษฐกิจภายในประเทศไทย รวมถึงตอบโจทย์ การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals หรือ SDGs) ของสหประชาชาติ ซึ่งรายละเอียดแสดงดังตาราง 1 ตาราง 1 ลักษณะสำ�คัญของเศรษฐกิจบีซีจี เศรษฐกิจชีวภาพ Bioeconomy (ฺB) การใช้ทรัพยากรชีวภาพ เพื่อเพิ่มมูลค่า โดยเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง ผ่านการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี นิยาม - การเลือกใช้วัสดุเหลือทิ้งในชุมชน มาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า - การเพิ่มมูลค่าของทรัพยากร โดยแสดง เอกลักษณ์ของชุมชน ตัวอย่าง การออกแบบผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิต ผ่านการหมุนเวียนเพื่อให้เกิดของเสียน้อย ที่สุด (ใช้อย่างคุ้มค่า) รวมถึงการแปลง ของเสียให้เป็นแหล่งรายได้ - การนำ�วัสดุที่เหลือทิ้งในชุมชนหมุนเวียน กลับมาใช้ใหม่ - การยืดอายุของทรัพยากร ให้ใช้ซ้ำ� ตลอดอายุการใช้งาน การคำ�นึงเกี่ยวกับทรัพยากรและการผลิต ที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ลดปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ - ไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม - ลดการใช้สารเคมีในกระบวนการผลิต เศรษฐกิจหมุนเวียน Circular Economy (C) เศรษฐกิจสีเขียว Green Economy (G)ิ ต
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5