นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 238
ปีที่ 50 ฉบับที่ 238 กันยายน - ตุลาคม 2565 33 ภาพ 1 โมเดลเศรษฐกิจบีซีจี ที่มา: https://www.bcg.in.th/bcg-by-nstda/ ี ที่ ั บี่ ั นุ ล จากที่กล่าวมาข้างต้น ชาตรี ฝ่ายคำ�ตา และคณะ (2565) ได้พัฒนา กรอบแนวคิดที่ชื่อว่า “แนวคิดสะเต็มบีซีจีเพื่อการศึกษา (STEM-BCG for Education)” ดังภาพ 2 ซึ่งแสดงลักษณะสำ�คัญของสะเต็มบีซีจีดังนี้ 1. เป้าหมายการจัดการเรียนรู้สะเต็มบีซีจีควรเน้นให้ผู้เรียน ได้เกิดสมรรถนะ (Competency) ที่ต้องคิดได้ ทำ�เป็น เห็นคุณค่า เป็นการพัฒนา สมรรถนะแบบองค์รวม (Holistic Development) ตามหลักการของโครงการ พัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน (CBE Thailand, 2564) ซึ่งการที่ผู้เรียน มีสมรรถนะนี้จะทำ�ให้เกิดการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนและเกิดสุขภาวะ 2. การนำ�บริบทท้องถิ่น ชุมชน และวัฒนธรรมสังคมที่เกี่ยวเนื่อง กับเศรษฐกิจบีซีจีมาเป็นโจทย์หรือสถานการณ์สำ�หรับผู้เรียนจะทำ�ให้เกิด การพัฒนาสมรรถนะ 3. ผู้ เรียนควรเกิดการเรียนรู้ผ่านการแก้ปัญหาหรือพัฒนา ชุมชน สร้างเป็นนวัตกรรมขึ้น และในกระบวนการเรียนรู้ดังกล่าวผู้เรียน ควรได้ใช้การบูรณาการศาสตร์ต่างๆ ได้ฝึกกระบวนการสืบเสาะทาง วิทยาศาสตร์ แก้ปัญหาหรือออกแบบนวัตกรรมโดยอาศัยกระบวนการทาง วิศวกรรมศาสตร์ ภาพ 2 แนวคิดสะเต็มบีซีจีเพื่อการศึกษา ที่มา: ชาตรี ฝ่ายคำ�ตา และคณะ (2565) B ioeconomy C ircular Economy G reen Econony
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5