นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 238

34 นิตยสาร สสวท.ิ ต ตาราง 2 ความสัมพันธ์ของนวัตกรรมและเศรษฐกิจบีซีจี เศรษฐกิจชีวภาพ Bioeconomy (ฺB) ตัวแผ่นแปะและกาวต้องสร้างมาจาก ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น เช่น เส้นใยของ พืชที่นำ�มาพัฒนาเป็นแผ่นแปะ รวมถึงต้องใช้ พืชจำ�พวกแป้งทำ�เป็นกาวยึดติดแผ่นแปะกับ ผิวหนัง ทรัพยากรที่ใช้สร้างแผ่นแปะต้องเป็นทรัพยากร ชีวภาพในชุมชนที่หมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ใน กระบวนการผลิตแผ่นแปะประคบร้อน กระบวนการผลิตจำ�เป็นต้องคำ�นึงถึงผลกระ ทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยไม่ก่อให้เกิดของเสีย ที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ก่อให้เกิดแก๊ส คาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นหนึ่งในแก๊สเรือน กระจก ที่ก่อให้เกิดปัญหาภาวะโลกร้อน และ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระยะยาว เศรษฐกิจหมุนเวียน Circular Economy (C) เศรษฐกิจสีเขียว Green Economy (G) อย่างไรก็ตาม เพื่อให้แนวคิดดังกล่าวเป็นรูปธรรมมากขึ้น ในบทความนี้ผู้เขียนจะนำ�ผู้อ่านถอดรหัสกิจกรรมสะเต็ม บีซีจี โดยพิจารณา องค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้ใน 3 ประเด็นสำ�คัญ 1) สถานการณ์ของ กิจกรรม 2) จุดประสงค์การเรียนรู้ และ 3) ลักษณะการจัดการเรียนรู้ ผ่าน กิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง แผ่นแปะประคบร้อนจากสมุนไพรในชุมชนท้องถิ่น ประเด็นที่ 1 สถานการณ์ของกิจกรรม ลักษณะของสถานการณ์กิจกรรมตามแนวคิดสะเต็มบีซีจีเพื่อ การศึกษา ต้องเป็นสถานการณ์ที่นำ�ไปสู่ปัญหาเชิงวิศวกรรมที่เน้นแก้ปัญหา ผ่านการพัฒนานวัตกรรมที่ตอบโจทย์บริบทจริงในชุมชน เช่น ในชุมชนแห่งหนึ่ง มีการปลูกพืชสมุนไพรจำ�นวนมาก ชาวบ้านในชุมชนดังกล่าวจึงนิยมทำ� ลูกประคบร้อนจากสมุนไพรเพื่อขายเป็นอาชีพ แต่ปัญหาคือ ชาวบ้านใน หมู่บ้านอื่น ๆ ก็นิยมทำ�ลูกประคบร้อนจากสมุนไพรเพื่อขายเช่นกัน ทำ�ให้ ชุมชนดังกล่าวมีรายได้ลดลงจากการขายลูกประคบร้อน รวมถึงผู้บริโภค ส่วนใหญ่พบปัญหาการใช้ลูกประคบร้อนที่ไม่สะดวก เนื่องจากต้องนำ�มานึ่ง ให้ร้อนก่อนการใช้งาน จากสถานการณ์ข้างต้นกิจกรรมตามแนวคิดสะเต็ม บีซีจีเพื่อการศึกษาต้องมีลักษณะเป็นสถานการณ์ปัญหาปลายเปิดที่เปิดโอกาส ให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน รวมถึงจุดเด่น ในชุมชน ซึ่งในที่นี้คือ ชุมชนที่มีการประกอบอาชีพการเกษตรที่มีการปลูกพืช สมุนไพรเป็นหลัก นอกจากนี้ จุดเด่นอีกอย่างคือ การวิเคราะห์กลุ่มผู้บริโภคว่า ผู้บริโภคในที่นี้คือใคร และปัญหาที่แท้จริงของผู้บริโภค (Pain Point) คืออะไรก่อนสร้างคุณค่าให้กับสินค้าของชุมชน ซึ่งจากการวิเคราะห์ผู้บริโภค ทำ�ให้ทราบว่า ผู้บริโภคไม่ชอบใช้ลูกประคบร้อนที่ต้องนำ�มานึ่งก่อนใช้งาน เนื่องจากความไม่สะดวกในการใช้งาน ลักษณะของสถานการณ์ปัญหาดังกล่าวจะช่วยนำ�ผู้เรียนมาสู่ การแก้ปัญหาตามกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม อย่างไรก็ตาม แนวทางการแก้ปัญหาเชิงวิศวกรรมของผู้เรียนมีจุดสังเกตคือ ต้องมีความ สอดคล้องกับโมเดลเศรษฐกิจบีซีจี เพื่อนำ�ไปสู่เงื่อนไขของสถานการณ์ ปัญหาของกิจกรรมดังกล่าว โดยครูและผู้เรียนจำ�เป็นต้องร่วมกันวิเคราะห์ เงื่อนไขของปัญหาจากสถานการณ์ดังกล่าวให้สอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจ บีซีจี เช่น ถ้าต้องการสร้างนวัตกรรม “แผ่นแปะประคบร้อนจากสมุนไพร ในชุมชนท้องถิ่น” ต้องพิจารณาความสัมพันธ์ดังตาราง 2 จะเห็นได้ว่าตัวอย่างข้างต้นมีลักษณะของสถานการณ์ตามแนวคิด สะเต็มบีซีจีเพื่อการศึกษา สถานการณ์ที่ดีต้องนำ�ไปสู่การสร้างนวัตกรรม ที่สอดคล้องกับมิติของเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจ สีเขียว โดยแสดงเงื่อนไขและข้อจำ�กัดที่เจาะจงและเงื่อนไขไม่ได้มีเพียง เงื่อนไขด้านการแก้ปัญหา แต่ยังประกอบด้วยเงื่อนไขด้านเศรษฐกิจบีซีจี และ เงื่อนไขความรู้ที่ผู้สอนสามารถสอดแทรกเนื้อหา เช่น การถ่ายโอนความร้อน เพื่อที่จะทำ�ให้กิจกรรมสะเต็มศึกษาไม่จำ�เป็นต้องอยู่ในรายวิชาโครงงาน หรือรายวิชาอิสระเพียงอย่างเดียว แต่สามารถนำ�ไปเรียนรู้ในชั้นเรียน วิทยาศาสตร์ได้ในเชิงประจักษ์ ประเด็นที่ 2 จุดประสงค์การเรียนรู้ จุดประสงค์การเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มบีซีจีเพื่อการศึกษา ต้องเป็นจุดประสงค์ที่แสดงลักษณะสมรรถนะที่ให้เห็นการลงมือปฏิบัติ ร่วมกับกระบวนการคิดขั้นสูง รวมทั้งการพัฒนาการคิดแบบเติบโต (Growth Mindset) ตัวอย่างเช่น 1) ร่วมกันวางแผนและออกแบบแผ่นแปะ ประคบร้อนจากสมุนไพรในชุมชนท้องถิ่น เพื่อแก้ปัญหาอาการปวดเมื่อยผ่าน กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม โดยใช้การรวบรวมข้อมูลและหลักฐาน จากการสังเกตและทดลองผ่านกระบวนการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์” ตัวอย่างข้างต้นแสดงให้เห็นลักษณะของสมรรถนะที่บ่งชี้ว่าผู้เรียนได้ ร่วมกันวางแผนและออกแบบ และได้ใช้การคิดโดยการรวบรวมข้อมูล หลักฐานจากการสังเกตและการทดลอง แสดงให้เห็นว่าผู้เรียนเกิด สมรรถนะการคิดขั้นสูง อย่างไรก็ตาม จุดประสงค์การเรียนรู้นี้ได้แทรก เรื่องแผ่นแปะประคบร้อนจากสมุนไพรในชุมชนท้องถิ่นเข้าไป แสดง ให้เห็นว่าเป็นมิติด้านเศรษฐกิจชีวภาพและเชื่อมโยงกับความเป็นท้องถิ่น ภายในชุมชน 2) สร้างแผ่นแปะประคบร้อนจากสมุนไพรในท้องถิ่นภายใต้ เงื่อนไขและข้อจำ�กัดของสถานการณ์ปัญหาได้ 3) นำ�เสนอผลงานการทำ�

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5