นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 238
ปีที่ 50 ฉบับที่ 238 กันยายน - ตุลาคม 2565 35ี ที่ ั บี่ ั นุ ล แผ่นแปะประคบร้อนและการให้ข้อมูลย้อนกลับ โดยการสื่อสาร ให้ผู้อื่นเข้าใจในแนวความคิดและกระบวนการทำ�งานได้ 4) ปรับปรุงและ พัฒนาผลงานแผ่นแปะประคบร้อนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นด้วยการทำ�งาน แบบร่วมมือรวมพลัง ตัวอย่างข้างต้นแสดงให้เห็นว่า การเขียนจุดประสงค์จะแตกต่าง จากเดิมที่มักเขียนตามกรอบแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูม (Bloom’s Taxonomy) ที่นิยมเขียนแยกเป็นด้านพุทธิพิสัย (K) ด้านทักษะพิสัย (P) และด้านจิตพิสัย (A) แยกกันแต่ละด้าน แต่การเขียนจุดประสงค์แบบเดิม ยังไม่แสดงสมรรถนะของผู้เรียนที่เกิดจากการหล่อหลอมรวมกันระหว่างด้าน พุทธิพิสัย ทักษะพิสัย และจิตพิสัย เช่น ครูมักเขียนว่า “อธิบาย….. “ ด้าน ทักษะพิสัย มักเขียนว่า “ออกแบบ….” ด้านจิตพิสัย มักเขียนว่า “ทำ�งาน ร่วมมือกัน….” ซึ่งการเขียนในลักษณะดังกล่าวไม่สามารถนำ�นักเรียนไปสู่ การเกิดสมรรถนะ (Competencies) ซึ่งเป็นศักยภาพชของผู้เรียนที่มี การหลอมรวมระหว่างด้านพุทธิพิสัย ทักษะพิสัย และจิตพิสัยและแสดงออกมา ผ่านการปฏิบัติ (Action) (OECD, 2019) รวมทั้งไม่ได้แสดงเงื่อนไข ที่จะนำ�ไปสู่การออกแบบเชิงวิศวกรรมศาสตร์ เช่น หากพิจารณาตัวอย่าง จุดประสงค์ข้อ 2 ได้สะท้อนว่าผู้เรียนได้ทำ�งานภายใต้เงื่อนไขและข้อจำ�กัด ของสถานการณ์ปัญหา ซึ่งสะท้อนการออกแบบเชิงวิศวกรรรมศาสตร์ หรือหากพิจารณาจุดประสงค์ข้อ 4 ได้สะท้อนให้เห็นว่าผู้เรียนได้ทำ�งาน ร่วมกันแบบร่วมมือรวมพลังที่เป็นการคิดแบบเติมโตเพื่อนำ�ไปสู่การปรับปรุง และพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพ ประเด็นที่ 3 ลักษณะกิจกรรมการเรียนรู้ ลักษณะของกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มบีซีจีเพื่อ การศึกษา ควรเป็นกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) ที่เน้น นักเรียนเป็นศูนย์กลาง โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนแก้ปัญหา ออกแบบและสร้าง นวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ชุมชน และเน้นให้สะท้อนคิด (Minds-on) และปฏิบัติ (Hands-on) อย่างไรก็ตาม จุดสังเกตที่สำ�คัญในกิจกรรมการเรียนรู้สะเต็ม บีซีจี คือ การให้นักเรียนร่วมกันกำ�หนดเงื่อนไขและข้อจำ�กัด ซึ่งเงื่อนไขใน สะเต็มบีซีจีต้องประกอบด้วย 1) เงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาที่อยู่ ภายใต้โมเดลเศรษฐกิจบีซีจี ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่นำ�ไปสู่นวัตกรรมที่ตอบโจทย์ สถานการณ์ปัญหา รวมถึงต้องสามารถทดสอบประสิทธิภาพได้ เช่น “แผ่นแปะต้องมาจากวัสดุธรรมชาติในท้องถิ่นสามารถบรรเทาอาการปวดเมื่อย ที่เพิ่มมูลค่าและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยสามารถออกฤทธิ์ได้ยาวนาน 2 ชั่วโมง รวมถึงยึดติดกับผิวหนังได้ดี” 2) เงื่อนไขด้านความรู้ที่อาศัยหลักการ วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ประกอบการแก้ปัญหาและสร้างนวัตกรรม เช่น “แผ่นแปะที่มาจากวัสดุธรรมชาติในท้องถิ่นต้องสามารกักเก็บความร้อนได้ ระยะเวลานานรวมถึงถ่ายโอนความร้อนได้ดี” หรือ “รูปร่างของแผ่นแปะต้องมี พื้นที่ในการกระจายความร้อนได้อย่างทั่วถึง” 3) เงื่อนไขด้านเศรษฐกิจ บีซีจี เช่น แผ่นแปะต้องสามารถสร้างรายได้และสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชน นอกจากนี้ ในส่วนของข้อจำ�กัด อาจแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1) ข้อจำ�กัด ทั่วไป เช่น งบประมาณ ระยะเวลา 2) ข้อจำ�กัดด้านเศรษฐกิจบีซีจี เช่น การผลิตต้องไม่มีของเสียเหลือทิ้งเกิน 1 กรัม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5