นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 238

36 นิตยสาร สสวท.ิ ต ภาพจาก : https://www.thaibicusa.com/2021/02/08/bcg-green-economy/ ตัวอย่างข้างต้นแสดงให้เห็นว่า การกำ�หนดเงื่อนไขและข้อจำ�กัด ตามแนวคิดสะเต็มบีซีจีเพื่อการศึกษาจะมีความเฉพาะและลึกซึ้งมากกว่า เงื่อนไขและข้อจำ�กัดในสะเต็มทั่วไป กล่าวคือ เงื่อนไขและข้อจำ�กัดจะมี ความเฉพาะกับสถานการณ์ปัญหาที่นักเรียนต้องอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ รวมถึงลักษณะบ่งชี้ต่างๆ ที่แสดงถึงความเป็นเศรษฐกิจ บีซีจี ทั้งนี้ การที่กิจกรรมจะประสบความสำ�เร็จได้นั้นต้องเน้นให้ผู้เรียน ใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้และการออกแบบเชิงวิศวกรรม ซึ่งเป็นหัวใจ ของแนวคิดสะเต็มบีซีจีเพื่อการศึกษาให้ประสบความสำ�เร็จได้ โดยรูปแบบ การเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา เช่น กระบวนการออกแบบเชิง วิศวกรรม โดยผู้เขียนขอยกตัวอย่างกิจกรรมตามกระบวนการออกแบบ เชิงวิศวกรรม 6 ขั้น ตามสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2557) รายละเอียดดังนี้ 1) ขั้นระบุปัญหา ผู้เรียนร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาของชุมชนที่ ทำ�อาชีพเพาะปลูกพืชสมุนไพร รวมถึงวิเคราะห์ปัญหาที่แท้จริงของผู้บริโภค เกี่ยวกับการใช้ลูกประคบแบบเดิม จากนั้นร่วมกันเสนอแนวทางการแก้ปัญหา และสอบถามความต้องการของผู้ใช้ เพื่อนำ�ไปสู่นวัตกรรมแผ่นแปะประคบร้อน จากสมุนไพรในชุมชนท้องถิ่น พร้อมร่วมกันระบุเงื่อนไขและข้อจำ�กัด 2) ขั้นรวบรวมข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหา ผู้เรียน ต้องร่วมกันรวมรวบข้อมูลและหลักฐานเชิงประจักษ์ผ่านกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (ซึ่งไม่ใช่เพียงหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตหรือ แหล่งข้อมูลทุติยภูมิเท่านั้น) เช่น การศึกษาทดลองสมบัติการถ่ายโอน ความร้อนของวัสดุชนิดต่างๆ ที่จะนำ�มาใช้ทำ�แผ่นแปะประคบร้อน การศึกษา สูตรบรรเทาอาการปวดเมื่อยจากพืชสมุนไพรที่ออกฤทธิ์ให้เป็นไปตาม เงื่อนไขและข้อจำ�กัด 3) ขั้นออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ในขั้นนี้ผู้เรียนต้องออกแบบ แบบร่างแผ่นแปะประคบร้อน โดยอาศัยความรู้ที่ได้จากการสืบเสาะมาใช้ ในการออกแบบ เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างแบบร่างนวัตกรรม (Prototype) จากข้อมูลที่เก็บรวบรวม รวมถึงวิเคราะห์ปัญหาที่แท้จริงของผู้บริโภค โดย ผู้เรียนต้องร่วมกันประเมินความเป็นไปได้ผ่านคำ�ถามกระตุ้นความคิด ของครู เช่น “เพราะเหตุใดจึงเลือกใช้สมุนไพรชนิดนี้ สอดคล้องกับการ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสมุนไพรหรือไม่อย่างไร” “แผ่นแปะประคบร้อนมี หลักการทำ�งานอย่างไร” “มีวิธีการอย่างไรที่ทำ�ให้แผ่นแปะไม่หลุดออก ภายใน 2 ชั่วโมง” “แผ่นแปะประคบร้อนราคาต่างจากที่วางขายทั่วไป อย่างไร และต้องขายกี่ชิ้นจึงจะคุ้มทุน” 4) ขั้นวางแผนและดำ�เนินการแก้ปัญหา ในขั้นนี้ผู้เรียนร่วมกัน วางแผนและดำ�เนินการผลิตแผ่นแปะประคบร้อนสมุนไพรในชุมชนท้องถิ่น ให้เป็นไปตามเงื่อนไขและข้อจำ�กัดต่างๆ ตามแบบร่างนวัตกรรมที่ ออกแบบไว้ 5) ขั้นทดสอบ ประเมินผล และปรับปรุงวิธีการแก้ปัญหาหรือ ชิ้นงาน ในขั้นนี้ผู้เรียนต้องทดสอบการใช้งานของแผ่นแปะประคบร้อนจาก สมุนไพรในท้องถิ่นตามเงื่อนไขและข้อจำ�กัด เช่น การถ่ายโอนความร้อน ของแผ่นแปะ พื้นที่ผิวในการกระจายความร้อน ความสามารถในการยึดติด กับผิวหนัง การศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งาน (User) ทั้งด้านการใช้งาน และราคาสินค้า โดนผู้เรียนนำ�เสนอผลการทดสอบ และให้ครูและเพื่อน ในชั้นเรียนร่วมกันวิพากษ์ จากนั้นจึงดำ�เนินการแก้ไขปรับปรุงแผ่นแปะ ประคบร้อนของตนเอง 6) ขั้นนำ�เสนอวิธีการแก้ปัญหา ผลการแก้ปัญหาหรือชิ้นงาน ในขั้นนี้ผู้เรียนต้องดำ�เนินการขายแผ่นแปะประคบร้อนจากสมุนไพรใน ท้องถิ่นที่ผ่านการปรับปรุงไปจำ�ลองขายจริงในโรงเรียน ชุมชน และ สื่อออนไลน์ ทั้งนี้ ในการขายจะต้องนำ�เสนอที่มาของแนวคิดการเพิ่มมูลค่า สมุนไพรในท้องถิ่น จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ ความคุ้มค่าในการใช้งาน รวมถึง เก็บข้อมูลผู้บริโภค เช่น ความพึงพอใจ ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงผลิตภัณฑ์ ให้ดีขึ้นต่อไป

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5