นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 238

ปีที่ 50 ฉบับที่ 238 กันยายน - ตุลาคม 2565 37ี ที่ ั บี่ ั นุ ล CBE Thailand. (2564). หลักสูตรฐานสมรรถนะ คิดได้ ทำ�เป็น เห็นคุณค่า. Retrieved Aug 25, 2022, from https://cbethailand.com/. OECD. (2019). PISA 2018 Assessment and Analytical Framework. Retrieved Aug 25, 2022, from https://www.oecd.org/education/pisa-2018-assessment-and-analytical-framework-b25efab8-en.htm. Srikoom, W. & Hanuscin, D. L. & Faikhamta, C. (2017). Perceptions of In-Service Teachers toward Teaching STEM in Thailand. Asia-Pacific Forum on Science Learning and Teaching. 18 (2): 1-23. ชาตรี ฝ่ายคำ�ตา และคณะ. (2565). การจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนด้วย BCG Model. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2565, จาก https://www.nstda.or.th/nac/2022/youth-activity/b1-30f-09y/. ประชาคมวิจัยด้านของเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว. (2561). สมุดปกขาว BCG in Action. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2565, จาก https://www.nstda.or.th/home/knowledge_post/bcg-in-action/. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2557). คู่มือหลักสูตรอบรมครูสะเต็มศึกษา. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2565, จาก http://www.stemedthailand.org/wp-content/uploads/2015/03/newIntro-to-STEM.pdf.pdf. ศูนย์ดำ�เนินงาน PISA แห่งชาติ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562). ผลการประเมิน PISA 2018 : บทสรุปสาหรับผู้บริหาร. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2565, จาก https://pisathailand.ipst.ac.th/pisa2018-summary-result/. บรรณานุกรม ตัวอย่างข้างต้นแสดงให้เห็นว่า ลักษณะของกิจกรรมการเรียนรู้ตาม แนวคิดสะเต็มบีซีจีเพื่อการศึกษาในแต่ละขั้นตอนล้วนพัฒนาให้ผู้เรียน เกิดสมรรถนะตามจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ครูตั้งเป้าหมายไว้ ซึ่ง จุดประสงค์การเรียนรู้เชิงสมรรถนะมีส่วนช่วยให้ครูสามารถออกแบบ กิจกรรม รวมถึงทราบอาการหรือพฤติกรรมบ่งชี้ที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียนใน แต่ละขั้นของกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งสามารถวัดผลประเมินผลผู้เรียนได้ สอดคล้องตามสภาพจริง บทสรุป กิจกรรมการเรียนรู้สะเต็มศึกษาที่บูรณาการแนวคิดเศรษฐกิจ สามมิติเป็นแนวทางหนึ่งเพื่อเตรียมความพร้อมให้ผู้เรียนมีสมรรถนะ ที่จะไปขับเคลื่อนประเทศในฐานะที่เป็นพลเมืองตื่นรู้ (Active Citizen) ผู้เรียนจะได้ซาบซึ้งกับความหลากหลายทางชีวภาพในชุมชนหรือในประเทศ และสร้างมูลค่าสินค้าผ่านเทคโนโลยีหรือนวัตกรมใหม่เพื่อให้ชุมชนอยู่ดี กินดีและสอดคล้องกับสังคมและวัฒนธรรม นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นความเป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน การนำ�วัตถุดิบหรือพลังงานมาใช้หมุนเวียน ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการออกแบบกิจกรรมการสอนครูควรให้ผู้เรียน สำ�รวจความต้องการพื้นฐานของชุมชนหรือความโดดเด่นทางด้านทรัพยากร ชีวภาพในท้องถิ่นของตน เพื่อจะนำ�ความต้องการหรือความโดดเด่น ดังกล่าวนั้นมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาทางด้าน เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจทำ�ได้โดยผู้เรียนกับชุมชน สังเกต สัมภาษณ์คนในชุมชนหรือทำ�ความร่วมมือกับผู้คนในชุมชนของตน ไม่ว่าจะเป็นการแลกเปลี่ยนมุมมอง แนวคิด หรือกระบวนการในวิถีเดิม อันนำ�ไปสู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อต่อยอดการพัฒนาทรัพยากรชีวภาพ ในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุดร่วมกัน รวมถึงการตระหนักต่อปัญหา สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นกับชุมชนในระยะสั้นและระยะยาว สิ่งสำ�คัญอีกอย่างหนึ่งของกิจกรรมการเรียนรู้สะเต็มศึกษาที่ บูรณาการแนวคิดเศรษฐกิจสามมิติคือ การทำ�ความเข้าใจตัวกิจกรรม ว่าเป็นสะเต็มศึกษาหรือไม่ หรือเป็นเพียงการศึกษาและทำ�ตามขั้นตอน เพื่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ ในการป้องกันความคลาดเคลื่อนของการจัดกิจกรรม ผู้สอนควรวางเงื่อนไข และข้อจำ�กัดผ่านประเด็นในสถานการณ์ที่น่าสนใจ และกระตุ้นให้ผู้เรียนวางแผนออกแบบกระบวนการต่างๆ ด้วยตนเอง ผ่านการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มุ่งแก้ไขปัญหาที่พบเห็น ในชีวิตจริงเพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ ทักษะชีวิต ความคิดสร้างสรรค์ นำ�ไปสู่การสร้างนวัตกรรม การจัดการเรียนรู้ดังกล่าวจึงเป็นกิจกรรม การเรียนรู้สะเต็มศึกษาที่บูรณาการแนวคิดเศรษฐกิจสามมิติอย่างแท้จริง อันนำ�ไปสู่การพัฒนาคุณภาพเศรษฐกิจในท้องถิ่นและพัฒนาคุณภาพชีวิต ของคนในชุมชนได้อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ กิจกรรมการเรียนรู้สะเต็มศึกษาที่ บูรณาการแนวคิดเศรษฐกิจสามมิติบางกิจกรรมอาจมีข้อจำ�กัดซึ่งทำ�ให้เกิด การประยุกต์ใช้จริง ผู้สอนควรคำ�นึงถึงความเป็นไปได้ในการนำ�ไป ประยุกต์ใช้จริงเป็นหลัก กิจกรรมดังกล่าวสามารถยืดหยุ่นโดยการจัดกิจกรรม ในชั้นเรียนในรายวิชาวิทยาศาสตร์ โครงงานวิทยาศาสตร์หรือสะเต็มศึกษา หรือวิชาการศึกษาอิสระ นอกจากนี้ ยังสามารถจะดำ�เนินการเป็นหลักสูตร ท้องถิ่นหรือหลักสูตรสถานศึกษาในภาพรวมใหญ่ของโรงเรียนก็ได้ ผู้สอน แต่ละกลุ่มสาระสามารถร่วมกันออกแบบหลักสูตรและกิจกรรม เพื่อสร้าง ความเข้มแข็งและความเป็นเอกลักษณ์ของโรงเรียนและชุมชนได้ต่อไป

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5