นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 238
ปีที่ 50 ฉบับที่ 238 กันยายน - ตุลาคม 2565 39 กิ จกรรมของมนุษย์ที่มีการปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจก (Greenhouse Gas: GHG) เป็นจำ�นวนมากขึ้นจากในอดีต ส่งผลให้อุณหภูมิอากาศ ของโลกมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น และขณะนี้เรากำ�ลังได้รับผลกระทบ จากภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น เราได้รับทราบข่าวสารหรือมีการรายงานการเกิด น้ำ�ท่วม ดินถล่ม การเกิดความแห้งแล้งในบางพื้นที่มาอย่างต่อเนื่องในช่วง หลายปีที่ผ่านมา นอกจากภัยทางธรรมชาติเหล่านี้แล้ว สิ่งมีชีวิต เช่น สัตว์ และพืชก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกันกับเรา การศึกษาชีพลักษณ์ของพืช หรือ Plant Phenology ซึ่งเป็นการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิต ตามฤดูกาลที่สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่เกิดขึ้น โดย ปัจจัยหลักๆ ที่มีผลต่อชีพลักษณ์ของพืช ได้แก่ อุณหภูมิอากาศ ปริมาณฝน ความชื้นสัมพัทธ์ รวมทั้งสภาพแวดล้อมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ความชื้นในดิน อุณหภูมิดิน สภาพภูมิประเทศ ปัจจัยเหล่านี้จะส่งผล ต่อการเจริญเติบโต และการสืบพันธุ์ของต้นไม้ ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งในการ ดูดซับ GHG ที่สำ�คัญของโลก การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เรื่องใกล้ตัวที่ต้องรู้ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Climate Change) ตามคำ� จำ�กัดความของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change : IPCC) และกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) มีดังนี้ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ โดย IPCC หมายถึง การเปลี่ยนแปลง ภูมิอากาศไม่ว่าจะเนื่องมาจากความผันแปรตามธรรมชาติหรือจากกิจกรรม มนุษย์ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ โดย UNFCCC หมายถึง การเปลี่ยนแปลง ภูมิอากาศอันเป็นผลทางตรงหรือทางอ้อมจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ ที่ทำ�ให้องค์ประกอบของบรรยากาศเปลี่ยนแปลงไป จากคำ�จำ�กัดความข้างต้น กล่าวได้ว่าการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เพื่อปรับให้โลกอยู่ในสภาวะที่สมดุล แต่ผล จากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ซึ่งส่งผลทั้งทางตรงหรือทางอ้อมทำ�ให้เกิด การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ แก๊สเรือนกระจกที่ปลดปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศ มีสมบัติิในการดูดซับรังสีความร้อนหรือรังสีอินฟราเรดได้ดี โดยในสภาวะปกติ เมื่อดวงอาทิตย์ส่องผ่านมายังโลกพลังงานบางส่วนจะสะท้อนกลับออก สู่อวกาศ ส่วนที่เหลือจะถูกดูดกลืนโดยพื้นดินและมหาสมุทร จากนั้น พื้นผิวโลกจะค่อยๆ แผ่รังสีความร้อนออกสู่ชั้นบรรยากาศ แก๊สเรือนกระจก ในชั้นบรรยากาศจะดูดคลื่นรังสีความร้อนไว้ และค่อยๆ แผ่รังสีความร้อน ออกมาสู่ชั้นบรรยากาศด้านล่าง จึงทำ�ให้โลกของเราอบอุ่นเหมาะแก่การ ดำ�รงชีวิตของสิ่งมีชีวิตบนโลกหรือเรียกว่า ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect) แต่จากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ที่ผ่านมาทำ�ให้ มีการปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศมากขึ้นเปรียบเสมือน ผ้าห่มหนาที่ปกคลุมโลกของเราส่งผลให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้น หรือเกิดภาวะโลกร้อน (Global Warming) ที่เราทราบกันมาอยู่แล้ว และ ประชาคมโลกต่างเฝ้าระวังและพยายามลดการปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจก เหล่านี้ แก๊สเรือนกระจกที่คุณรู้จัก มีอะไรบ้าง? แก๊สเรือนกระจกแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ แก๊สเรือนกระจก ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ (Natural Greenhouse Gases) เช่น ไอน้ำ� ในบรรยากาศ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จากการหายใจของสิ่งมีชีวิต และแก๊สเรือนกระจกที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ (Anthropogenic Greenhouse Gases) ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศมากขึ้นทำ�ให้ โลกร้อนขึ้น ได้แก่ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO 2 ) ซึ่งเป็น GHG ตัวหลัก ที่มีการปลดปล่อยออกมาสู่ชั้นบรรยากาศของโลกมากที่สุด และส่วนใหญ่ เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลและภาคอุตสาหกรรมแก๊สมีเทน (CH 4 ) จากการทำ�ปศุสัตว์ การทำ�นาข้าวที่มีน้ำ�ท่วมขัง หลุมฝังกลบขยะ แก๊สไนตรัส- ออกไซด์ (N 2 O) จากการใช้ปุ๋ยมากเกินความจำ�เป็นและภาคอุตสาหกรรม แก๊สในกลุ่มฟลูออริเนต (F-gases) ได้แก่ แก๊สไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFCs) แก๊สซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (SF 6 ) และแก๊สเพอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PFCs) ซึ่งแก๊สกลุ่มนี้เป็นแก๊สที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้นและถูกใช้ใน อุตสาหกรรมต่างๆ เช่น เครื่องทำ�ความเย็น เครื่องปรับอากาศ แก๊สเหล่านี้ ถูกปลดปล่อยออกมาสู่บรรยากาศน้อยกว่าแก๊สเรือนกระจกชนิดอื่นๆ แต่ศักยภาพในการทำ�ให้เกิดภาวะโลกร้อนสูงมาก จึงต้องเฝ้าระวัง แก๊สในกลุ่มนี้ (ภาพ 1) ภาพ 1 ปริมาณแก๊สเรือนกระจกที่มีการปลดปล่อยจากทั่วโลก โดยใช้ฐานข้อมูลจากรายงานปี ค.ศ.2010 ที่มา : https://www.epa.gov/ghgemissions/global-greenhouse-gas-emissions-data
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5