นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 238
ปีที่ 50 ฉบับที่ 238 กันยายน - ตุลาคม 2565 41 ภาพ 3 นกนางนวลธรรมดาอพยพหนีหนาวมายังประเทศไทย ที่สถานตากอากาศบางปู จังหวัดสมุทรปราการ ที่มา : สำ�นักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ โครงการ GLOBE (Global Learning and Observations to Benefit the Environment) มีหลักวิธีดำ�เนินการตรวจวัดในการศึกษา การเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตตามฤดูกาลที่เป็นสากล และสามารถแลกเปลี่ยน เรียนรู้ร่วมกับสมาชิกโครงการ GLOBE ทั่วโลก โดยสามารถศึกษาได้ทั้ง ต้นไม้ ไม้พุ่ม และหญ้า ในบทความนี้ขอกล่าวถึงเฉพาะการเปลี่ยนแปลง ของต้นไม้ตามฤดูกาล เช่น การศึกษาพัฒนาการของใบ (Green Up) และการศึกษาการเปลี่ยนสีของใบ (Green Down) โดยสามารถเรียนรู้ได้ง่าย ใช้อุปกรณ์ที่ไม่ยุ่งยาก มีขั้นตอนในการศึกษา ดังนี้ 1. การเลือกพื้นที่ศึกษาและต้นไม้ การเลือกพื้นที่ศึกษา ควรเลือกพื้นที่ที่เป็นธรรมชาติ ไม่มีการดูแล รดน้ำ�หรือใส่ปุ๋ย เพราะปัจจัยแวดล้อมเหล่านี้จะส่งผลต่อการศึกษา Green up และ Green down ของต้นไม้ พื้นที่ควรมีระดับเป็น แนวเดียวกัน หากเป็นพื้นที่ชันไม่ควรต่างกันเกิน 100 เมตร โดยต้นไม้ ที่เราจะศึกษาไม่ควรอยู่ใกล้ตึกหรืออาคารมากนัก เพราะจะทำ�ให้ ตึกบดบังแสงจากดวงอาทิตย์ได้ วิธีการพิจารณาว่าต้นไม้นั้นอยู่ใกล้อาคาร หรือไม่ ให้เรายืนอยู่ตรงบริเวณต้นไม้ และใช้ไคลโนมิเตอร์เล็งไปที่ยอดตึก หรืออาคารที่อยู่ใกล้ หากมุมที่วัดได้มีค่ามากกว่า 45 องศา แสดงว่าตึก หรืออาคารนั้นอยู่ใกล้ต้นไม้มากเกินไป ให้ลองหาต้นใหม่มาศึกษา อีกทั้งพื้นที่ที่เราเลือกศึกษาควรเป็นพื้นที่ที่เราสามารถเดินทางไปสำ�รวจได้ สะดวกและปลอดภัย การเลือกต้นไม้ที่ใช้ในการศึกษาควรเป็นไม้ยืนต้น ประเภทไม้ผลัดใบ (Deciduous Plant) เป็นไม้พื้นเมือง (Native Species) ของพื้นที่นั้นๆ เช่น ประดู่ เต็ง รัง ราชพฤกษ์ ทั้งนี้เนื่องจากหากเป็นต้นไม้ที่ไม่ใช่ พืชท้องถิ่น (Exotic Species) รอบของการตอบสนองต่อฤดูกาลของ พื้นที่นั้นๆ อาจจะมีความคลาดเคลื่อนมากกว่าไม้พื้นเมือง และสิ่งสำ�คัญ ต้นไม้ที่เลือกจะต้องเป็นไม้ที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้ว โดยสังเกตว่าเคย ผลิดอกออกผลมาแล้ว 2. การทำ�เครื่องหมายและกำ�หนดพิกัดของต้นไม้ ทำ�เครื่องหมายที่ต้นไม้หรือกิ่งไม้ที่ต้องการศึกษาด้วยเทปกาว หรือเชือก หากมีอุปกรณ์ในการตรวจวัดพิกัดทางภูมิศาสตร์ (Global Positioning System: GPS) ให้วัดพิกัดทางภูมิศาสตร์ ได้แก่ ละติจูด ลองจิจูด และความสูงจากระดับน้ำ�ทะเล (Altitude) จากนั้นทำ�แผนที่ ของต้นไม้ที่เราต้องการศึกษา หากเป็นไปได้ควรถ่ายภาพของพื้นที่ศึกษา ทั้ง 4 ทิศ (เหนือ ใต้ ตะวันออก และตะวันตก) รวมทั้งระบุข้อมูลสภาพ แวดล้อมอื่นๆ การเลือกกิ่งไม้ในการเก็บข้อมูล ให้เลือกกิ่งที่สมบูรณ์ ควรเลือก กิ่งทางทิศใต้ และไม่มีร่มเงาจากกิ่งอื่นมาบดบัง จากนั้นทำ�เครื่องหมาย ด้วยเทปหรือเชือก สำ�หรับการศึกษา Green Up ให้กำ�หนดตำ�แหน่ง ตาของกิ่งที่เราจะใช้ในการสังเกต ทำ�เครื่องหมาย และควรเลือกตาที่อยู่ ใกล้เคียงกันอีก 3 จุด ในส่วนของการศึกษา Green Down ให้กำ�หนด ตำ�แหน่งของใบไม้ที่จะใช้ในการศึกษา ทำ�เครื่องหมาย และควรเลือกใบ ที่อยู่ใกล้เคียงกันอีก 3 ใบ ดังภาพ 4
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5