นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 238
42 นิตยสาร สสวท. 3. การลงมือสำ�รวจ การออกไปสำ�รวจ Green Up หรือ Green Down ควรมี การตรวจวัดอุณหภูมิอากาศและความชื้นสัมพัทธ์อากาศด้วยทุกครั้ง เพื่อนำ�มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลและเชื่อมโยงความสัมพันธ์ ควรวางแผน ออกไปสำ�รวจสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ก่อนที่จะสังเกตเห็นต้นไม้มีการเปลี่ยนแปลง เช่น การผลิตาหรือใบไม้จะเปลี่ยนสี ภาพ 4 ตัวอย่างการทำ�เครื่องหมายบนกิ่งไม้ที่ต้องการศึกษา ที่มา : GLOBE Program ภาพ 5 ตัวอย่างการศึกษาพัฒนาการของใบของต้นราชพฤกษ์ ที่มา : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ภาพ 6 การตรวจวัดการเปลี่ยนสีใบไม้ ที่มา: GLOBE Program การศึกษาพัฒนาการของใบ (Green Up) ดูจาก 3 ระยะ ดังนี้ ระยะก่อนผลิตา ระยะผลิตา และระยะหลังผลิตา หรือช่วงมีการ ผลิตาเสร็จสิ้น โดยออกไปเก็บข้อมูลทุกวันติดต่อกันจนถึงช่วงที่ มีการผลิตาเสร็จสิ้น ดังภาพ 5 เป็นการศึกษา Green Up ของต้น ราชพฤกษ์ภายหลังจากที่มีการผลิตาใบแล้ว ให้ใช้ไม้บรรทัดวัดความยาว ของใบโดยไม่รวมก้านใบอย่างต่อเนื่องจนความยาวไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่ง แต่ละใบจะมีความยาวไม่เท่ากัน การศึกษาการเปลี่ยนสีของใบ (Green Down) ให้สังเกต การเปลี่ยนสีของใบไม้จากกิ่งที่เราเลือกไว้ โดยใช้ GLOBE Plant Color Guide ในการเปรียบเทียบสีของใบไม้ที่กำ�หนดไว้ ควรออกไปตรวจวัดสี ของใบไม้ทุกวันจนกว่าใบนั้นจะร่วง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5