นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 238

46 นิตยสาร สสวท. ภายในกระเป๋าไม่เปียก หรือการทำ�โครงงานเกี่ยวกับไข่อาจนำ�ไปสู่สถานการณ์ ปัญหาหรือความต้องการวิธีการและภาชนะที่สามารถบรรจุไข่โดยที่ไข่ไม่แตก เมื่อปล่อยมือ • การบูรณาการศาสตร์หรือสาระอื่นๆ การจัดประสบการณ์ ให้เด็กได้มีโอกาสเชื่อมโยงและเรียนรู้ศาสตร์หรือสาระอื่นๆ ในสะเต็มศึกษา เพื่อแก้ปัญหา เช่น STEAM ที่มีการบูรณาการศิลปะ (Arts) หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นดนตรีและการเคลื่อนไหว ละคร จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ หรือแม้กระทั่งสถาปัตยกรรม STREAM ที่มีการบูรณาการศิลปะ การอ่าน และการเขียน (Art, Reading, Writing) STEMi ที่มีการบูรณาการนวัตกรรม (Innovation) i-STREAMe ที่มีการบูรณาการนวัตกรรม การอ่าน ศิลปะ และการเป็นผู้ประกอบการ (STEM and Innovation Reading, Art, Entrepreneurship) STREM ที่มีการบูรณาการหุ่นยนต์ (Robotics) หรือ eSTEM ที่มีการบูรณาการสิ่งแวดล้อม (Environment) (Chatzopoulos, A. และคณะ, 2019) เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้แนวคิดและทักษะที่เกี่ยวข้อง สิ่งที่ควรคำ�นึงถึงในการวางแผนเพื่อออกแบบการจัดประสบการณ์ตาม แนวทางสะเต็มศึกษา การวางแผนเพื่อออกแบบการจัดประสบการณ์ตามแนวทาง สะเต็มศึกษามีองค์ประกอบที่สำ�คัญ ได้แก่ การมีบริบทที่สร้างแรงจูงใจ และการมีส่วนร่วมของเด็ก การบูรณาการสาระและทักษะที่เกี่ยวข้องกับ สะเต็มศึกษา กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ เช่น เน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง เน้น กระบวนการคิดและการลงมือปฏิบัติ การทำ�งานร่วมกัน การสื่อสาร การจัดระบบที่ชัดเจนเกี่ยวกับ เป้าหมายและกิจกรรม รวมถึงการประเมินระหว่างการจัดการเรียนรู้และ หลังการจัดการเรียนรู้ (William S. Walker และคณะ, 2018) บทบาท ของครูหรือผู้ปกครองนั้นมีส่วนสำ�คัญในการสนับสนุนและเสริมต่อการ เรียนรู้ (Scaffolding) ให้เด็กเกิดการเรียนรู้และค้นพบด้วยตนเอง (Sarama, J. และคณะ, 2018) ซึ่งสิ่งที่ควรคำ�นึงถึงในการวางแผนเพื่อ ออกแบบการจัดประสบการณ์ตามแนวทางสะเต็มศึกษาในระดับปฐมวัยนั้น มีแนวทางและวิธีการดังต่อไปนี้ • การสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติ การลงมือปฏิบัติเป็นหัวใจสำ�คัญของสะเต็มศึกษาซึ่งช่วยสร้าง ประสบการณ์เพื่อนำ�ไปสู่การพัฒนาทักษะและความสามารถทั้งด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การออกแบบเชิงวิศวกรรมศาสตร์ รวมถึงคณิตศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็น การตั้งคำ�ถาม การสังเกต การเปรียบเทียบ การจำ�แนก การสำ�รวจตรวจสอบ การเลือกใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมืออย่างง่าย การออกแบบ การแก้ปัญหา การสื่อสาร การวัด การให้เหตุผล นอกจากนี้ การลงมือปฏิบัติยังนำ�ไปสู่ การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ตลอดจนสร้างเสริมให้เด็กมีเจตคติที่ดี ต่อการเรียนรู้ และมีคุณลักษณะของนักวิทยาศาสตร์ นักเทคโนโลยี วิศวกร และนักคณิตศาสตร์อีกด้วย ดังนั้น จึงควรเปิดโอกาสให้เด็กได้มีส่วนร่วมใน ประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาที่หลากหลาย เชื่อมโยง แนวคิดและประสบการณ์เดิมของเด็กเกี่ยวกับสะเต็มศึกษาจากสิ่งที่อยู่ ใกล้ตัวเด็กหรือสิ่งที่เด็กสนใจ • การเลือกใช้สื่อ วัสดุอุปกรณ์ และแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย เด็กเรียนรู้สะเต็มศึกษาผ่านการจัดกระทำ�กับวัตถุหรือสื่อใน รูปแบบต่างๆ ด้วยวิธีที่หลากหลาย ทั้งการใช้ประสาทสัมผัสในการสังเกต การสำ�รวจตรวจสอบ การทดลอง การสร้างสรรค์ชิ้นงาน โดยอาจเป็น สื่อใกล้ตัว เช่น ของเล่น ของใช้ วัสดุธรรมชาติ เศษวัสดุเหลือใช้ หนังสือ ดังนั้น การจัดเตรียมสื่อ วัสดุอุปกรณ์ให้เด็กได้มีโอกาสสำ�รวจและเลือกอย่าง หลากหลายจะช่วยสร้างประสบการณ์ทั้งในแง่การพัฒนาด้านร่างกาย ภาษา การคิดและการตัดสินใจ รวมไปถึงการใช้แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย โดยเฉพาะนอกห้องเรียน เช่น สวนพฤกษศาสตร์ ตลาด สวนสัตว์ พิพิธภัณฑ์ เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้สำ�รวจ จุดประกายความสงสัยใคร่รู้ เรียนรู้และ ค้นพบในบริบทจริง เด็กลงมือปฏิบัติโดยใช้วัสดุอุปกรณ์ที่หลากหลาย ตัวอย่างวัสดุอุปกรณ์และแหล่งเรียนรู้ ภาพจาก : Freepik.com/prostooleh

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5