นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 238

ปีที่ 50 ฉบับที่ 238 กันยายน - ตุลาคม 2565 47 • การใช้ภาษาและคำ�ถามกระตุ้นการคิด ภาษามีส่วนสำ�คัญในการส่งเสริมกระบวนการคิดและการถ่ายทอด ของเด็ก ดังนั้น จึงควรเปิดโอกาสให้เด็กได้สื่อสารทั้งในรูปแบบของวัจนภาษา และอวัจนภาษา ไม่ว่าจะเป็นการวาดภาพ การแสดงท่าทาง การสนทนา การฟังและตอบคำ�ถาม ซึ่งการใช้คำ�ถามเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก มีสิ่งที่ควรคำ�นึงถึงคือ ควรเปิดโอกาสให้เด็กได้ใช้เวลาในการคิด ไม่เร่งรัด เชื่อมโยงกับประสบการณ์ตรงหรือสิ่งที่เป็นรูปธรรม กำ�หนดจุดประสงค์ ในการถามที่ชัดเจน เช่น กระตุ้นความสนใจ ทบทวน แสดงความคิดเห็น เสนอวิธีแก้ปัญหา สรุปความคิด และใช้คำ�ถามที่มีความท้าทายเหมาะสมกับ วัยหรือความสามารถของเด็ก โดยอาจใช้คำ�ถามที่กระตุ้นให้เด็กได้มีส่วนร่วม ในกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมเพื่อนำ�ไปสู่การแก้ปัญหา เช่น การระบุปัญหา เกิดอะไรขึ้น ปัญหาคืออะไร ต้องการอะไร ถ้าไม่มี...จะเกิดอะไรขึ้น การออกแบบและวางแผน จะทำ�อย่างไร จะใช้อะไร เท่าใด เพราะอะไร จะทำ�อะไรก่อน-หลัง การทดสอบ ประเมิน และปรับปรุง แก้ปัญหาได้หรือไม่ อย่างไร สามารถใช้งานได้อย่างที่ต้องการหรือไม่ อย่างไร จะทำ� อย่างไรให้ดียิ่งขึ้น จะปรับปรุงหรือแก้ไขอะไร เพราะอะไร การรวบรวมข้อมูล จะต้องรู้อะไรบ้าง จะหาคำ�ตอบได้อย่างไร จะทำ�วิธีใดได้บ้าง การสร้างชิ้นงาน จะมีลักษณะเป็นอย่างไร จะทำ�ได้อย่างไร การนำ�เสนอ ทำ�อย่างไร ทำ�อะไรก่อน-หลัง เจอปัญหาหรือไม่ อย่างไร แก้ปัญหาอย่างไร • การประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องเป็น รายบุคคล การประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้สะเต็มศึกษาในระดับ ปฐมวัยควรดำ�เนินการอย่างต่อเนื่องผ่านวิธีการและเครื่องมือการประเมินที่ หลากหลายและเหมาะสมเพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการ ความสนใจ (Ü nlü Çetin, Ş. และคณะ, 2020) รวมถึงพัฒนาการของเด็กเป็นรายบุคคล โดยใช้การประเมินการปฏิบัติ (Performance Assessment) และการประเมิน ตามสภาพจริง (Authentic Assessment) ด้วยวิธีการและเครื่องมือ ที่หลากหลายในระหว่างการจัดการเรียนรู้ (Formative Assessment) ควบคู่กับการประเมินหลังการจัดการเรียนรู้ (Summative Assessment) ซึ่งวิธีการประเมินที่เหมาะสมสำ�หรับเด็กปฐมวัยนั้น มีหลากหลายวิธี เช่น การสังเกต การบันทึกพฤติกรรม การสนทนากับเด็ก การสัมภาษณ์ (สํานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, 2560) การจัดทำ�สารนิทัศน์ใน รูปแบบต่างๆ เช่น การใช้ผังความคิด การบันทึกภาพการทำ�กิจกรรม การวิเคราะห์ข้อมูลจากผลงานเด็กที่เก็บอย่างมีระบบเพื่อนำ�เสนอหลักฐาน หรือร่องรอยการเรียนรู้ของเด็ก การรับฟังและคอยสังเกตในระหว่างที่เด็กเล่น สำ�รวจ สนทนา แก้ปัญหา และมีส่วนร่วมในระหว่างการทำ�กิจกรรมสะเต็ม ศึกษาจึงช่วยให้ครูหรือผู้ปกครองเรียนรู้สิ่งที่เด็กเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดที่ เกี่ยวข้อง เพื่อนำ�ข้อมูลไปใช้ในการพัฒนาเด็กต่อไปได้ • การสร้างความร่วมมือระหว่างบ้าน โรงเรียน และชุมชน การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบ้าน โรงเรียน และชุมชน ในการส่งเสริมการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาของเด็ก ไม่ว่าจะเป็น การสื่อสารร่วมกันระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครองเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็ก การจัดเตรียมสื่อ อุปกรณ์ และสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนการพัฒนา บุตรหลานของผู้ปกครอง การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในฐานะอาสาสมัคร ในกิจกรรมของโรงเรียน การร่วมมือกันระหว่างบ้าน โรงเรียน และชุมชน โดยเชื่อมโยงทรัพยากรของชุมชนและผู้ปกครองเข้าด้วยกัน ( Ünlü Çetin, Ş. และคณะ, 2020) โดยสนับสนุน อำ�นวยความสะดวก และให้ข้อมูลเกี่ยวกับ แหล่งเรียนรู้ วิทยากร รวมถึงสื่อ อุปกรณ์ในชุมชน เช่น พิพิธภัณฑ์ ห้องสมุด ศูนย์วิทยาศาสตร์ สถานีดับเพลิง จากบทความนี้ จะเห็นได้ว่าการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ตามแนวทางสะเต็มศึกษานั้น ครูหรือผู้ปกครองสามารถสร้างเสริม ประสบการณ์ให้กับเด็กได้หลากหลายรูปแบบ โดยสามารถนำ�ไปปรับใช้ ตามแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้โดยคำ�นึงถึงความเหมาะสมกับวัย

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5