นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 238

50 นิตยสาร สสวท. ใ นปัจจุบันเข้าสู่การประเมิน PISA 2022 โดยมี การประเมินเพิ่มเติม ด้านความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) ซึ่งเป็นทักษะสำ�คัญ ที่ช่วยผลักดันให้บุคคลมีมุมมองที่แปลกใหม่ เกิดการพัฒนา ก้าวไป ข้างหน้า และรับมือกับความท้าทายใหม่ๆ ได้มากขึ้น รวมถึงสามารถแก้ปัญหา โดยไม่ยึดติดกับกรอบคิดแบบเดิม และสร้างสรรค์ให้เกิดนวัตกรรมที่เป็น ประโยชน์ต่อสังคมตามมา การที่ PISA หยิบยกประเด็นเรื่องความคิด สร้างสรรค์ขึ้นมาประเมินนั้น ช่วยกระตุ้นให้สังคมทั้งระดับประเทศและ นานาชาติเกิดการอภิปรายร่วมกันอย่างกว้างขวาง ในประเด็นการพัฒนา เครื่องมือวัดผลที่มีความเหมาะสมและนำ�ไปใช้วัดและประเมินผลในด้าน ดังกล่าวได้จริง ตลอดจนประเด็นความสำ�คัญและแนวทางในการพัฒนาและ ส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ผ่านระบบการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ “การที่จะบอกว่า ใครสักคนเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ PISA ดูจากอะไร” PISA 2022 ได้ให้นิยาม “ความคิดสร้างสรรค์” ไว้ว่า “ความสามารถ ในการมีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิภาพในการสร้าง ประเมิน และปรับปรุงแนวคิด ซึ่งทำ�ให้เกิดแนวคิดใหม่ในการแก้ปัญหาที่แปลกใหม่และมีประสิทธิภาพ มีการพัฒนาองค์ความรู้ และเป็นการแสดงออกถึงจินตนาการที่เกิด ประโยชน์” นิยามของความคิดสร้างสรรค์ดังกล่าว เน้นที่กระบวนการคิด อย่างสร้างสรรค์ที่สามารถคาดหวังให้เกิดกับนักเรียนในช่วงอายุ 15 ปี ทั่วโลก โดยเห็นว่าในทุกบริบทและทุกระดับการศึกษา นักเรียนจำ�เป็นต้องเรียนรู้ ภาพ 1 ด้านที่มีการประเมินเพิ่มเติมในการประเมิน PISA 2012 ถึง PISA 2025 ภาพ 2 โมเดลสมรรถนะสำ�หรับใช้ในการพัฒนาข้อสอบความคิดสร้างสรรค์ของ PISA ที่จะมีส่วนร่วมในการสร้างและสะท้อนแนวคิดอย่างสร้างสรรค์ ในการประเมิน ความคิดสร้างสรรค์ของ PISA 2022 จะครอบคลุมเนื้อหาที่นักเรียนทั่วไป มีโอกาสได้ทำ� โดยเน้นใน 2 ด้าน ได้แก่ 1) การแสดงออกอย่าง สร้างสรรค์ ในการสื่อสารจากภายในตัวบุคคลหนึ่งไปถึงบุคคลอื่น โดยใช้ การแสดงแนวคิดผ่านการเขียนบรรยาย และแสดงแนวคิดด้วยภาพ และ 2) การสร้างสรรค์องค์ความรู้และการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ที่ช่วยให้ เกิดผลลัพธ์ที่ดีขึ้นในการแก้ปัญหาด้านวิทยาศาสตร์ และการแก้ปัญหา ด้านสังคม สมรรถนะความคิดสร้างสรรค์ของ PISA โมเดลสมรรถนะสำ�หรับใช้ในการพัฒนาข้อสอบความคิดสร้างสรรค์ ของ PISA 2022 แสดงดังภาพ 2 โดยแบ่งการประเมินความคิดสร้างสรรค์ ออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ 1) การสร้างแนวคิดที่หลากหลาย 2) การสร้างแนวคิด อย่างสร้างสรรค์ และ 3) การประเมินและปรับปรุงแนวคิด ดังนั้น ข้อสอบ จึงไม่ได้เน้นเพียงการใช้กระบวนการทางการคิดอย่างสร้างสรรค์เท่านั้น แต่ นักเรียนยังต้องแสดงความสามารถในการสร้างแนวคิดที่หลากหลาย รวมถึง การประเมินแนวคิดของผู้อื่นและปรับปรุงแนวคิดเหล่านั้นให้สร้างสรรค์ แปลกใหม่ขึ้นด้วย ซึ่ง “แนวคิด” ที่ใช้ในบริบทของการประเมิน PISA มีได้ หลายรูปแบบ เช่น เรื่องราว ภาพวาด แนวทางแก้ปัญหาด้านสังคม คำ�ถาม การวิจัยเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์ ในบทความนี้จะยกตัวอย่างข้อสอบความคิดสร้างสรรค์ 2 เรื่อง ได้แก่ เรื่อง โลโก้งานเทศกาลอาหาร และจักรยานแห่งอนาคต ซึ่งมาจาก กรอบการประเมินความคิดสร้างสรรค์ของ PISA 2022 ที่ OECD เผยแพร่ โดยข้อสอบแต่ละเรื่องจะประกอบด้วยข้อคำ�ถามย่อยที่เกี่ยวเนื่องภายใต้ สถานการณ์เดียวกัน ดังนี้

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5