นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 239

ปีที่ 51 ฉบับที่ 239 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2565 13 American Association for the Advancement of Science (AAAS). (1990). Nature of Science . Retrieved October 15, 2022, from https://www.project2061.org/publications /sfaa/online-/chap1.htm. Kalogiannakis, M.& Papadakis, S. & Zourmpakis. (2021). Gamification in Science Education. A Systematic Review of the Literatur e. Retrieved October 15, 2022, from https://www.mdpi.com/2227-7102/11/1/22. Khishfe, R. (2021). Nature of Science and Argumentation Instruction in Socio-scientific and Scientific Contexts. International Journal of Science Education . 44 (4): 647-673. Pho, A. (2015). Game-Based Learning . Retrieved October 15, 2022, from https://acrl.ala.org/IS-/wp-content/uploads/2014/05/spring2015.pdf. YouTube. (2019, August 29). The Making of Planet Zoo . Retrieved October 15, 2022, from https://www.youtube.com/watch?v=PQ6DzhLtpxU&ab_channel=PlanetZoo. ประสาท เนืองเฉลิม. (2556). การสอนธรรมชาติของวิทยาศาสตร์. ครุศาสตร์สาร. 7 (1): 135-139. ประสาท เนืองเฉลิม. (2559). ความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้. 8 (1): 85-100. วรัตต์ อินทสระ. (2563). เอกสารประกอบการอบรมและปฏิบัติการเปลี่ยนห้องเรียนให้เป็นห้องเล่น. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. สำ�นักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.). คู่มือการประเมินผลข้อเสนอการวิจัยของหน่วยงานภาครัฐที่เสนอของบประมาณ ประจำ�ปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 ตามมติคณะรัฐมนตรี. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2565. จาก http://www.agricul.rbru.ac.th/download/ethics_research.pdf. องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2555). ระเบียบองค์การสวนสัตว์ว่าด้วยการขาย แลกเปลี่ยน และการให้สัตว์. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2565. จาก https://www.zoothailand.org/download/article-/article_20210321163048.pdf. บรรณานุกรม การเกิดการเรียนรู้ จากงานวิจัย (Pho, 2015) พบว่าการจัดกิจกรรม การเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานนั้น สามารถเพิ่มแรงจูงใจและการมีส่วนร่วม ในชั้นเรียนของผู้เรียนได้ นอกจากนี้ การสอนโดยใช้เกมยังสามารถส่งเสริม ความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ได้อีกด้วย (Kalogiannakis, 2020) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการสอดแทรกธรรมชาติ วิทยาศาสตร์ผ่านเกม Planet Zoo นั้น ผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้ โดยเชื่อมโยงกับเนื้อหาทางชีววิทยา เรื่อง ไบโอม โดยให้ผู้เรียนเรียนรู้ สภาพภูมิอากาศ ภูมิประเทศ ลักษณะพืชพรรณ และชนิดของสัตว์ต่างๆ หรือเรื่องชีวจริยธรรม โดยใช้ประเด็นทางวิทยาศาสตร์กับสังคม เพื่อให้ผู้เรียน โต้แย้งและอภิปรายร่วมกันในประเด็นดังกล่าว เช่น “เราควรส่งเสริมการ อนุรักษ์ชนิดพันธุ์สัตว์โดยการปล่อยเข้าป่าหรือไม่ อย่างไร” หรือใช้คำ�ถามอื่นๆ ที่ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน เพื่อกระตุ้นให้ผู้ร่วมอภิปรายมีความคิดหลากหลาย และแลกเปลี่ยนมุมมองซึ่งกันและกัน และรู้จักรับฟังและยอมรับความคิดเห็น ของผู้อื่น นอกจากการใช้เกม Planet Zoo เป็นสื่อการเรียนรู้ในห้องเรียน วิทยาศาสตร์ ผู้สอนอาจใช้เกมนี้เป็นสื่อการเรียนรู้ในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เช่น ชุมนุมหรือชมรมก็ได้เช่นเดียวกัน ผู้สอนสามารถให้ผู้เรียนรับหน้าที่ เป็นสตรีมเมอร์ (Streamer) ถ่ายทอดสดการเล่นเกมให้กับผู้ชมในโลกออนไลน์ ได้รับชม และให้เพื่อนร่วมชั้นเรียนอภิปรายและเสนอแนวทางในการวางแผน ร่วมกัน หรือผู้สอนอาจจะทำ�หน้าที่สตรีมเมอร์ด้วยตนเองและให้ผู้เรียน ทำ�หน้าที่เสนอความคิดก็ได้ ทั้งนี้ ส่วนที่สำ�คัญคือ ผู้สอนจะต้องมีการประเมินผล ผู้เรียนว่ามีความเข้าใจในธรรมชาติของวิทยาศาสตร์มากน้อยเพียงใด การจัดการเรียนรู้ประสบผลสำ�เร็จหรือไม่อย่างไร จะเห็นได้ว่าผู้สอนนั้นสามารถสอดแทรกธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านกิจกรรมได้อย่างหลากหลาย แม้กระทั่งเกมคอมพิวเตอร์ อย่าง Planet Zoo ก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเรียนรู้ได้ นอกจาก เกมคอมพิวเตอร์แล้ว ผู้สอนสามารถนำ�สื่อบันเทิงประเภทอื่น เช่น ภาพยนตร์ ซีรีส์ หรือหนังสือนิยาย มาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้เช่นเดียวกัน เพราะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 นั้น ไม่ได้จำ�กัดอยู่แต่เพียงในตำ�ราเรียน เท่านั้น

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5