นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 239

14 นิตยสาร สสวท. กุลธิดา สะอาด นักวิชาการ ฝ่ายบริหารเครือข่ายและพัฒนาครู สสวท. e-mail: ksaar@ipst.ac.th ผู้ เขียนได้มีโอกาสจัดกิจกรรมนี้ให้นักเรียนโรงเรียนดาราคามได้เรียนรู้อย่างสนุกและได้รับความรู้ทางวิทยาศาสตร์และได้นำ� ประสบการณ์จากการจัดกิจกรรมมาแลกเปลี่ยนกับผู้อ่านในบทความนี้ กิจกรรมนี้มีความเชื่อมโยงกับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในเรื่องของทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล (Inferring) โดยนักเรียนสามารถสร้างข้อสรุปหรือเพิ่มความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่ได้จากการสังเกตอย่างมีเหตุผลโดยใช้ความรู้หรือประสบการณ์ เดิมได้ • ความแตกต่างระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิต จากความรู้เดิมเรื่องความแตกต่างระหว่างสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตที่ได้เรียนรู้ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 สามารถนำ�มาสู่ การเชื่อมโยงกับเรื่องการเขียนโซ่อาหารในชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยเนื้อหาแต่ละเรื่องตรงกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในแต่ละชั้นปี ดังนี้ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มาตรฐานการเรียนรู้ มาตรฐาน ว 1.1 เข้าใจความหลากหลายของระบบนิเวศ ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งไม่มีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต และความสัมพันธ์ ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตต่างๆ ในระบบนิเวศ การถ่ายทอดพลังงาน การเปลี่ยนแปลงแทนที่ในระบบนิเวศ ความหมายของประชากร ภาพจาก : https://rainydaymum.co.uk/polar-bear-food-chain/ กิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ : โซ่อาหาร กิจกรรมทางวิทยาศาสตร์เรื่อง โซ่อาหาร เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักเรียน ได้รับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ผ่านการทำ�กิจกรรมที่สนุก ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยกระตุ้นให้นักเรียน เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองและช่วยให้การเรียนรู้ดีขึ้น

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5