นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 239

ปีที่ 51 ฉบับที่ 239 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2565 15 ปัญหาและผลกระทบที่มีต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แนวทางในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งนำ�ความรู้ไปใช้ประโยชน์ ตัวชี้วัด 1.1 ป. 5/2 อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต และความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิต เพื่อ ประโยชน์ต่อการดำ�รงชีวิต 1.1 ป. 5/3 เขียนโซ่อาหารและระบุบทบาทหน้าที่ของสิ่งมีชีวิตที่เป็นผู้ผลิตและผู้บริโภคในโซ่อาหาร สาระสำ�คัญ กิจกรรมการเรียนรู้เรื่องโซ่อาหาร เป็นกิจกรรมที่นักเรียนจะได้ฝึกการคิดวิเคราะห์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่มี การกินกันเป็นอาหารในลักษณะของการกินต่อกันเป็นลำ�ดับขั้นผ่านการสร้างชิ้นงานด้วยตนเอง นอกจากนี้ ยังเป็นการกระตุ้นและ ส่งเสริมให้นักเรียนเกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในเรื่องของทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล สามารถสร้างข้อสรุปจาก ความรู้เดิมที่มี ซึ่งข้อมูลจากการวิเคราะห์นี้จะทำ�ให้นักเรียนเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่มีการกินกันเป็นอาหารได้มากยิ่งขึ้น จุดประสงค์ของกิจกรรม 1. เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้นักเรียนคิดวิเคราะห์และสร้างภาพโซ่อาหารที่สนใจด้วยตนเอง 2. เพื่อฝึกให้นักเรียนเลือกและใช้วัสดุอุปกรณ์เพื่อประดิษฐ์ชิ้นงานภาพโซ่อาหาร ระยะเวลาดำ�เนินกิจกรรม 50 นาที วัสดุอุปกรณ์สำ�หรับทำ�กิจกรรม ชุดอุปกรณ์สำ�หรับทำ�กิจกรรม 1. สมุดจดบันทึกเล่มเล็ก (Booklet) 2. สติกเกอร์ภาพสิ่งมีชีวิตที่หลากหลายและลูกศร 3. สีไม้หรือสีเมจิกกล่องเล็ก 4. ไดโอดเปล่งแสง (LED) สีเหลือง ขนาด 3 มิลลิเมตร 5. ถ่านกระดุม 3 โวลต์ 6. ปากกา/ดินสอ 7. ถุงซิปล็อค ขนาด 4x6 เซนติเมตร สื่อและแหล่งการเรียนรู้ วีดิทัศน์สิ่งมีชีวิตที่หลากหลาย เช่น What do Chickens Eat?/Plants Rabbits Can Eat • https://www.youtube.com/watch?v=Ka34hJgYV38&t=41s • https://www.youtube.com/watch?v=gRgn6MpOfHw&t=6s • https://www.youtube.com/watch?v=AFvT0GVjX1A • https://www.youtube.com/watch?v=qzV5Zqs28l0 • https://www.youtube.com/watch?v=jQ6xexfJNAE หมายเหตุ : ผู้เขียนนำ�วีดิทัศน์ที่สืบค้นจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายมาตัดต่อเป็นวีดิทัศน์ 1 ชุด ความยาวประมาณ 5 นาที แนวการจัดกิจกรรม 1. ขั้นนำ�เข้าสู่กิจกรรม (10 นาที) ครูเปิดวีดิทัศน์สิ่งมีชีวิตที่หลากหลายให้นักเรียนดู จากนั้นตั้งคำ�ถามเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนคิดและตั้งคำ�ถามสำ�คัญที่นำ�ไปสู่การเรียนรู้ด้วยตนเอง ตัวอย่างเช่น - ในวีดิทัศน์ที่นักเรียนได้ดูให้ยกตัวอย่างสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต - นักเรียนคิดว่าสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตมีความสัมพันธ์กันหรือไม่ (การวิเคราะห์หลักการ)

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5