นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 239

18 นิตยสาร สสวท. 2. ระบายสีตามจินตนาการ 3. อธิบายภาพโซ่อาหารของฉัน 3.1 ผู้ผลิตที่ฉันเลือก คือ ...................................................................................................... ฉันเลือกเพราะ.................................................................................................................. 3.2 ผู้บริโภคลำ�ดับที่ 1 ที่ฉันเลือก คือ .................................................................................. ฉันเลือกเพราะ.................................................................................................................. 3.3 ผู้บริโภคลำ�ดับที่ 2 ที่ฉันเลือก คือ .................................................................................. ฉันเลือกเพราะ................................................................................................................... 4. นำ�ไดโอดเปล่งแสง (LED) สีเหลือง ถ่านกระดุม 3 โวลต์ มาติดไว้หลังภาพตามใจชอบ 1 ภาพ เช่น ภาพผู้บริโภค หรือภาพผู้ผลิต 2.4 ครูสอบถามความสมัครใจของนักเรียนที่อยากนำ�เสนอผลงานให้เพื่อน ๆ ได้เรียนรู้ร่วมกัน 3. ขั้นสรุปการเรียนรู้ (5 นาที) ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับการทำ�กิจกรรมการเรียนรู้เรื่องโซ่อาหาร ซึ่งภายในโซ่อาหารประกอบด้วย ผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์ โดยสิ่งมีชีวิตทั้ง 3 กลุ่มนี้มีความสัมพันธ์กัน ดังนี้ • ผู้ผลิต เป็นสิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารได้เองโดยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง • ผู้บริโภค เป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถสร้างอาหารได้เอง และต้องกินผู้ผลิต หรือสิ่งมีชีวิตอื่นเป็นอาหาร โดยผู้บริโภค แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) สิ่งมีชีวิตกินพืช เช่น กระต่าย ช้าง ควาย 2) สิ่งมีชีวิตกินสัตว์ เช่น เหยี่ยว เสือ งู 3) สิ่งมีชีวิตกินพืชและสัตว์ เช่น สุนัข แมว คน 4) สัตว์กินซาก เช่น แร้ง ไส้เดือนดิน กิ้งกือ • ผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์ เมื่อผู้ผลิตและผู้บริโภคตายลง จะถูกย่อยโดยผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์ซึ่งจะเปลี่ยนสารอินทรีย์ เป็นสารอนินทรีย์กลับคืนสู่สิ่งแวดล้อม ทำ�ให้เกิดการหมุนเวียนสารเป็นวัฏจักร จำ�นวนผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์จะต้องมีความเหมาะสม จึงทำ�ให้กลุ่มสิ่งมีชีวิตอยู่ได้อย่างสมดุล หมายเหตุ : 1. เนื่องจากเนื้อหาในชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีการกล่าวถึงผู้ผลิตและผู้บริโภคเท่านั้น ดังนั้น ครูอาจเกริ่นคำ�ศัพท์และ ความหมายของผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์ได้เบื้องต้น แต่ไม่ควรมากเกินไปเพราะเป็นเนื้อหาที่อยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2. การนำ�ไดโอดเปล่งแสง (LED) มาใช้ในกิจกรรมเพื่อทำ�ให้ชิ้นงานมีความน่าสนใจเป็นการสร้างสรรค์ชิ้นงานอย่างหนึ่ง หรือ ครูอาจจะให้ความรู้ว่า ไดโอดเปล่งแสง (LED) คือ อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ�ที่สามารถเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานแสงทำ�ให้เกิด แสงสว่างได้ ไดโอดเปล่งแสง (LED) มี 2 ขั้ว คือ ขั้วบวกและขั้วลบ เมื่อมีกระแสไหลผ่านจะเปล่งแสงออกมา ด้วยการที่เป็นไดโอด จึงยอมให้กระแสไหลผ่านทางเดียวคือ จากขั้วบวกไปยังขั้วลบ ถ้าต่อกลับทิศไฟจะไม่ติด ขั้วบวก ขายาวขั้วบวก ขั้วลบ ขาสั้นขั้วลบ

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5