นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 239
20 นิตยสาร สสวท. กษมา สมฤดี กัณฐมณี เรืองรัตน์สุนทร สุวภัทร อิทธิโชติ นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา e-mail: suwapat.i@ku.th รศ. ดร.พงศ์ประพันธ์ พงษ์โสภณ อาจารย์ที่ปรึกษา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กระป๋องน้ำ�อัดลมกับการจัดการเรียนรู้แบบ การใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน Phenomenon-based Learning (PhBL) การจัดการเรียนรู้ในปัจจุบันยึดหลักที่ว่าผู้เรียนทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียน มีความสำ�คัญที่สุด กระบวนการจัดการเรียนรู้จึงควรเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student-centered Learning) หรือเกิดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) อย่างไรก็ตาม ในห้องเรียนจริงครูอาจเกิดปัญหา ในการจัดการเรียนรู้ที่ยังไม่สามารถทำ�ให้ผู้เรียนเชื่อมโยงความรู้กับชีวิตประจำ�วัน หรือไม่สามารถใช้ความรู้ ที่มีแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำ�วันได้ ซึ่งจากข้อมูลการวัดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ของไทยใน PISA ปี 2018 พบว่ามีนักเรียนร้อยละ 44.50 มีความสามารถด้านวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับต่ำ�กว่า 2 โดย ระดับ 2 ถือเป็นระดับพื้นฐานที่นักเรียนเริ่มแสดงว่ารู้และสามารถใช้ประโยชน์จากความรู้ได้ในชีวิตจริง ดังนั้น ข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าผู้เรียนยังไม่สามารถเชื่อมโยงความรู้กับชีวิตประจำ�วัน หรือไม่สามารถใช้ความรู้ ที่มีแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำ�วันได้ ส ำ�หรับรายวิชาฟิสิกส์ซึ่งเป็นวิชาที่อธิบายถึงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และมีการใช้สมการอธิบายปรากฏการณ์มากมาย แต่สมการเหล่านั้น กลับทำ�ให้ผู้เรียนไม่เห็นภาพจริงและไม่สามารถนำ�ความรู้เหล่านี้มา ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำ�วันได้ วิธีการหนึ่งในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริม ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ได้ฝึกการปฏิบัติ ทำ�เป็น คิดเป็น แก้ปัญหาเป็นคือ การจัดการเรียนรู้แบบการใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน Phenomenon-based Learning (PhBL) เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เอา ประสบการณ์มาเชื่อมโยงกับความเป็นจริง ซึ่งเป็นวิธีจัดการเรียนรู้ เชิงรุก โดยรูปแบบนี้เป็นการจัดการเรียนรู้ที่กระทรวงศึกษาธิการประเทศ ฟินแลนด์ประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อ ปี 2016 (ทิพย์พิมล, 2563) ประเทศฟินแลนด์เป็นประเทศที่ได้ขึ้นชื่อว่ามีการจัดการศึกษาดีที่สุดในโลก ประเทศหนึ่ง และเชื่อว่าสถานการณ์จริงกระตุ้นให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีกว่า วิธีการสอนดั้งเดิมในห้องเรียน ซึ่งตรงกับการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ใน ประเทศไทยที่เน้นวางแผนการจัดการเรียนรู้โดยสรรหาและเลือกกิจกรรมที่ สอดคล้องกับตัวชี้วัดเพื่อให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติ (สถาบันส่งเสริมการสอน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.), 2560) ดังนั้น ผู้เขียนจึงขอนำ�เสนอการจัดการเรียนรู้แบบการใช้ ปรากฏการณ์เป็นฐาน ในรายวิชาฟิสิกส์ เรื่อง แรงพยุง ที่มีการจัดการเรียนรู้ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยกิจกรรมการจัดการเรียนรู้นี้จะใช้ กิจกรรมจากงานวิจัยเรื่อง Buoyancy Can-Can โดยผู้วิจัย Jim Nelson และ Jane Bray Nelson ซึ่งเป็นครูสอนฟิสิกส์ระดับมัธยมปลายที่มี ประสบการณ์และปัจจุบันสอนอยู่ที่ Santa Fe College ทั้งคู่ได้รับรางวัลจาก ประธานาธิบดีและได้รับ Homer L. Dodge Citation ของ American Association of Physics Teachers (AAPT) โดย Jane เป็นอาจารย์ที่
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5