นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 239

ปีที่ 51 ฉบับที่ 239 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2565 25 จีรนันท์ เพชรแก้ว นักวิชาการ สาขาวิทยาศาสตร์ภาคบังคับ สสวท. e-mail: jpetk@ipst.ac.th การแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ของนักวิทยาศาสตร์ นอกจากจะใช้กระบวนการต่าง ๆ อย่างมีระเบียบ ขั้นตอนแล้ว ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ก็ยังเป็นเครื่องมือสำ�คัญอย่างหนึ่งของนักวิทยาศาสตร์ในการ ค้นหาความรู้หรือหาคำ�ตอบของปัญหาต่าง ๆ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่ควรฝึกฝนให้เกิดขึ้น กับทุกคน เพราะไม่เพียงแต่จะมีความสำ�คัญกับการค้นหาความรู้ของนักวิทยาศาสตร์ แต่ยังเป็นประโยชน์ และเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำ�วันของทุกคนด้วย ทั กษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ประกอบด้วยทักษะขั้นพื้นฐาน (Basic Science Process Skills) ได้แก่ ทักษะการสังเกต ทักษะ การวัด ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล ทักษะการจำ�แนกประเภท ทักษะการหาความสัมพันธ์ของสเปซกับเวลา ทักษะการใช้จำ�นวน ทักษะ การจัดกระทำ�และสื่อความหมายข้อมูล ทักษะการพยากรณ์ และทักษะขั้นผสม (Integrated Science Process Skills) ได้แก่ ทักษะการตั้งสมมติฐาน ทักษะการกำ�หนดนิยามเชิงปฏิบัติการ ทักษะการกำ�หนดและควบคุมตัวแปร ทักษะการทดลอง ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป ทักษะการสร้าง แบบจำ�ลอง (สสวท., 2561) ในบทความนี้จะกล่าวถึงทักษะขั้นพื้นฐานหนึ่ง ที่สำ�คัญ นั่นคือ ทักษะการสังเกต ซึ่งเป็นทักษะที่นักวิทยาศาสตร์มักใช้เป็น จุดเริ่มต้นในการค้นคว้าหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในแขนงต่างๆ และ สำ�คัญต่อการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์อื่นๆ ในระดับ ที่สูงขึ้น รวมทั้งยังเป็นทักษะที่ทุกคนได้ใช้ในชีวิตประจำ�วันอีกด้วย การมีทักษะ การสังเกตที่ดีต้องใช้อวัยวะรับความรู้สึกหลายส่วนทั้งตา หู จมูก ลิ้น ผิวหนัง และต้องใช้อย่างละเอียดรอบคอบเพื่อให้ได้ข้อมูลหรือรายละเอียด ของสิ่งที่สังเกตมากที่สุด โดยนักการศึกษาหลายท่านได้ให้นิยามทักษะ รู้จัก…ทักษะการสังเกต การสังเกตที่สอดคล้องกันรวมทั้งสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี (สสวท.) ได้ให้นิยามทักษะการสังเกตไว้ดังนี้ ทักษะการสังเกต (Observing Skill) คือ ความสามารถในการใช้ อวัยวะรับความรู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างเข้าไปสำ�รวจวัตถุ หรือปรากฏการณ์ต่างๆ ในธรรมชาติหรือจากการทดลอง ผ่านประสาทสัมผัส ทั้งห้าได้แก่ การดู การฟังเสียง การดมกลิ่น การชิมรส และการสัมผัส โดยไม่ลงความคิดเห็นของผู้สังเกตลงไป ประเภทของการสังเกต โดยทั่วไปข้อมูลที่ได้จากการสังเกตมีหลายลักษณะ เมื่อพิจารณา ลักษณะของข้อมูลทำ�ให้สามารถแบ่งการสังเกตได้เป็น 2 ประเภทดังนี้ 1. การสังเกตเชิงคุณภาพ (Qualitative Observations) เป็น การสังเกตเกี่ยวกับลักษณะและคุณสมบัติของสิ่งที่สังเกต เช่น สี รูปร่าง กลิ่น รส เสียง ผิวสัมผัส โดยใช้อวัยวะรับความรู้สึกทั้งห้า หรืออาจใช้ เครื่องมือมาช่วยขยายขอบเขตการสังเกต ข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ หรือเป็นข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะและคุณสมบัติของสิ่งที่สังเกตซึ่งไม่ได้ระบุ ตัวเลขแสดงจำ�นวนหรือปริมาณ ดังตัวอย่างในตาราง 1 สิ่งที่สังเกต ข้อมูลจากการสังเกต หินก้อนนี้มีสีเทา มีรูปร่างกลม ได้ยินเสียง เมื่อเคาะส้อมเสียงแล้วนำ�มาไว้ใกล้หู อมยิ้มมีรสหวาน อวัยวะรับความรู้สึก (ประสาทสัมผัส) ตา (การดู) หู (การฟัง) ลิ้น (ชิมรส) ตาราง 1 ตัวอย่างข้อมูลที่ได้จากการสังเกตเชิงคุณภาพ

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5