นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 239
26 นิตยสาร สสวท. 2. การสังเกตเชิงปริมาณ (Quantitative observations) เป็น การสังเกตที่มีการบอกรายละเอียดของสิ่งที่สังเกตเป็นตัวเลขแสดงจำ�นวนหรือ ปริมาณ โดยจะใช้การนับจำ�นวนหรือการวัดโดยใช้เครื่องมือ เช่น ไม้บรรทัด เครื่องชั่ง กระบอกตวง บีกเกอร์ เทอร์มอมิเตอร์ มาช่วยในการสังเกตร่วมกับ การดู ซึ่งต้องมีหน่วยกำ�กับไว้ ข้อมูลที่ได้จะเป็นข้อมูลเชิงปริมาณหรือเป็น ข้อมูลที่มีตัวเลขบอกจำ�นวนหรือปริมาณ เช่น มีม้า 6 ตัว น้ำ�สีแดงในบีกเกอร์ มีปริมาตร 20 ลูกบาศก์เซนติเมตร ส้มมีมวล 85.3 กรัม นอกจากนี้ การสังเกตที่มีการเปรียบเทียบสิ่งที่สังเกต ก็เป็นการ สังเกตเชิงปริมาณอย่างหนึ่ง ซึ่งข้อมูลที่ได้จะเป็นข้อมูลที่แสดงการเปรียบเทียบ จำ�นวนหรือปริมาณ เช่น นักเรียนในห้องเรียนวิทยาศาสตร์มีจำ�นวนน้อยกว่า นักเรียนในห้องเรียนคณิตศาสตร์ อย่างไรก็ตาม หากไม่มีเครื่องมือที่เป็นมาตรฐานสำ�หรับวัดสิ่งที่ สังเกต ก็สามารถใช้การประมาณค่าสิ่งที่สังเกตแทนได้ โดยการอ้างอิง กับสิ่งที่ทราบค่า เช่น อาจบอกว่าหลอดดูดน้ำ�หลอดนี้ยาวเท่าๆ กับดินสอ แท่งหนึ่ง หรือมีมวลเท่าๆ กับคลิปหนีบกระดาษ จากที่กล่าวไปแล้วจะเห็นว่าข้อมูลที่ได้จากการสังเกตทั้ง สองประเภทจะมีลักษณะแตกต่างกัน ทั้งนี้ ข้อมูลที่ได้จะมีความละเอียด และมีประโยชน์เพียงใดขึ้นอยู่กับทักษะของผู้สังเกตและเครื่องมือที่นำ�มาช่วย ในการสังเกต และการที่จะตรวจสอบว่าข้อมูลนั้นได้มาจากการสังเกตหรือไม่ ต้องพิจารณาว่าข้อมูลนั้นได้มาจากการใช้อวัยวะรับความรู้สึกใดประกอบ เพราะแม้แต่ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตเชิงปริมาณที่ต้องอาศัยเครื่องมือช่วย ในการสังเกตก็ต้องใช้ตาช่วยในการนับจำ�นวนหรือปริมาณร่วมด้วย นอกจากนี้ สิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นวัตถุ เหตุการณ์ หรือปรากฏการณ์ต่างๆ มักมีการ เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของสิ่งเหล่านี้ จะทำ�ให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของวัตถุหรือปรากฏการณ์ เช่น การใส่เม็ดเกลือลงในถ้วยที่มีน้ำ�บรรจุอยู่ ณ อุณหภูมิห้อง แล้วเม็ดเกลือ มีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ จนหายไปในเวลา 10 นาที หลักการสังเกต การสังเกตในทางวิทยาศาสตร์ต้องการข้อมูลที่ถูกต้อง แม่นยำ� และเที่ยงตรง รวมทั้งมุ่งค้นหาข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงหรือรายละเอียดของ สิ่งที่สังเกตให้ได้มากที่สุด โดยในการสังเกตควรคำ�นึงถึงหลักการสังเกตดังนี้ 1. ควรสังเกตอย่างละเอียด รอบคอบ และควรสังเกตให้ได้ตาม จุดประสงค์ที่ตั้งไว้ ซึ่งการสังเกตไม่ได้ใช้การดูเพียงอย่างเดียว แต่อาจ ใช้การฟัง การสัมผัส การดมกลิ่น การชิมรสร่วมด้วย เพื่อให้ได้ข้อมูล เกี่ยวกับสิ่งที่สังเกตมากที่สุด แต่สิ่งสำ�คัญที่ผู้สังเกตต้องระมัดระวัง คือ การใช้อวัยวะรับความรู้สึกใดในการสังเกต ต้องมั่นใจว่าสิ่งที่สังเกตไม่ เป็นอันตรายต่อร่างกาย เช่น ไม่ชิมสารที่ไม่รู้จัก ไม่สูดดมสารเคมีที่เป็น อันตราย 2. ควรสังเกตซ้ำ�หลายๆ ครั้ง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องเที่ยงตรง และน่าเชื่อถือ รวมทั้งควรทบทวนข้อมูลที่ได้ให้แน่ใจว่าข้อมูลนั้นมีความ ถูกต้องและเที่ยงตรง 3. การสังเกตที่ดี ต้องไม่ใส่ความคิดเห็นส่วนตัวลงไป เพราะ อาจทำ�ให้ได้ข้อมูลที่ไม่เป็นข้อเท็จจริง เช่น เมื่อมีควันลอยออกมาจากในบ้าน และมีกลิ่นเหม็นไหม้ พี่ชายบอกว่าควันและกลิ่นไหม้เกิดจากกระทะไหม้ ส่วนน้องสาวบอกว่าควันและกลิ่นไหม้เกิดจากแม่รีดผ้าแล้วลืมถอดปลั๊กเตารีด หรือจากการสังเกตพืชลักษณะดังภาพ มีม้า 6 ตัว น้ำ�ในบีกเกอร์มีปริมาตร 20 ลูกบาศก์เซนติเมตร ส้มมีมวล 85.3 กรัม อย่างไรก็ตาม การใช้อวัยวะรับความรู้สึกทั้งห้าในการสังเกตอาจ มีข้อจำ�กัด เช่น สิ่งที่สังเกตอาจมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า หรือความรู้สึกจาก การรับรู้สิ่งต่างๆ ของแต่ละบุคคลแตกต่างกัน จึงจำ�เป็นต้องขยายขอบเขต การสังเกตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการสังเกตและลดความคลาดเคลื่อน ของข้อมูลโดยการใช้เครื่องมือหรือเทคโนโลยีบางอย่างที่มีมาตรฐานมาช่วย ในการสังเกต เช่น การใช้แว่นขยายเพื่อสังเกตรายละเอียดบางอย่างที่ ไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน การใช้กล้องจุลทรรศน์สังเกตสิ่งมีชีวิต ขนาดเล็กที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า การใช้กล้องส่องทางไกลเพื่อ สังเกตสิ่งที่อยู่ไกลออกไป การใช้หูฟังสเต็ทโตสโคปของหมอในการฟังเสียง อวัยวะภายในร่างกายเพื่อประเมินอาการและวินิจฉัยโรคเบื้องต้นในผู้ป่วย การใช้เทอร์มอมิเตอร์วัดระดับความสุกของเนื้อสเต็กเพื่อให้ได้ระดับ ความสุกตรงตามความต้องการ เด็กหญิง A บอกว่าพืชใบเหลืองเพราะขาดปุ๋ย เด็กหญิง B บอกว่าพืชใบเหลือง เพราะโดนยาฆ่าแมลง จากทั้งสองตัวอย่างจะเห็นว่าข้อมูลที่ได้เป็นการ ใส่ความคิดเห็นส่วนตัวลงไป ไม่จัดเป็นข้อมูลที่ได้จากการสังเกต นอกจากนี้ จะเห็นว่าในแต่ละเหตุการณ์ คนที่ให้ข้อมูลต่างก็มีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน และข้อมูลที่ได้ก็อาจไม่เป็นข้อเท็จจริง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5