นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 239

ปีที่ 51 ฉบับที่ 239 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2565 27 การฝึกและพัฒนาทักษะการสังเกต โดยทั่วไป การสังเกตเป็นทักษะที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติของมนุษย์ แต่ไม่ใช่สิ่งที่จะพัฒนาได้ในชั่วข้ามคืนต้องใช้เวลาในการฝึกฝน หากได้รับ การฝึกฝนทักษะนี้ตั้งแต่เด็กก็จะช่วยส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้ตาม ธรรมชาติได้อย่างเต็มที่และสามารถนำ�ไปใช้ในการดำ�เนินชีวิตประจำ�วัน ได้อย่างดี การฝึกทักษะการสังเกตในวัยเด็กสามารถเริ่มได้ตั้งแต่ที่บ้าน อาจ เริ่มจากการสังเกตสิ่งต่างๆ ที่อยู่ใกล้ตัว พ่อแม่สามารถช่วยส่งเสริมโดยการ ชวนพูดคุยถึงสิ่งต่างๆ ที่พบเห็นในชีวิตประจำ�วัน ตั้งคำ�ถามกระตุ้นให้เกิด การสังเกต หรือหากิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมการสังเกต ซึ่งเมื่อเด็กได้ฝึกซ้ำ�ๆ ก็จะเกิดทักษะการสังเกตขึ้นได้โดยอัตโนมัติ ในห้องเรียนก็สามารถฝึกทักษะการสังเกตได้ หากในกิจกรรม การเรียนการสอน นักเรียนได้มีโอกาสสังเกตสิ่งต่างๆ ในบริบทที่หลากหลาย ได้ใช้อวัยวะรับสัมผัสในการสังเกตสิ่งต่างๆ ตามความเหมาะสม และได้ลอง ใช้เครื่องมือต่างๆ เช่น แว่นขยาย กล้องจุลทรรศน์ เทอร์มอมิเตอร์ เครื่องชั่ง ช่วยขยายขอบเขตการสังเกตตามความเหมาะสมกับวัยและสิ่งที่สังเกต ทั้งนี้ ครูควรส่งเสริมให้นักเรียนสังเกตสิ่งต่างๆ อย่างใกล้ชิดและละเอียด ถี่ถ้วน และให้ตัวอย่างและแนวทางการได้มาซึ่งข้อมูลจากการสังเกตอย่าง ชัดเจน เพื่อให้นักเรียนเข้าใจว่าข้อมูลที่ได้จากการสังเกตมีลักษณะอย่างไร และแตกต่างกับข้อมูลจากการลงความเห็นจากข้อมูลอย่างไร เมื่อนักเรียน ลงมือทำ�จะได้รายละเอียดของข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน และน่าเชื่อถือ นอกจากนี้ ครูอาจให้คำ�แนะนำ�เกี่ยวกับการสังเกตอย่างปลอดภัยด้วย เช่น ให้นักเรียนทราบว่าอะไรควรชิม ไม่ควรชิม อะไรควรจับ ไม่ควรจับ หรือ อาจใช้คำ�ถามหรือคำ�สั่งก่อนให้นักเรียนสังเกตสิ่งต่างๆ เพื่อให้นักเรียนใช้ เป็นแนวทางในการรวบรวมข้อมูล ซึ่งการมีคำ�ถามนำ�จะช่วยให้นักเรียน เก็บรายละเอียดของสิ่งที่สังเกตได้มากขึ้น และสามารถใช้ประสาทสัมผัส ในการสังเกตได้มากขึ้น หากนักเรียนได้รับการฝึกฝนทักษะการสังเกตอย่างต่อเนื่อง จะทำ�ให้ เกิดการพัฒนาจนสามารถสังเกตสิ่งต่างๆ ได้ละเอียดและรอบคอบมากขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการดำ�รงชีวิตประจำ�วัน การแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น ในชีวิต รวมทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อการเรียนในรายวิชาต่างๆ โดยเฉพาะ ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ โดยเมื่อนักเรียนต้องลงมือทำ�กิจกรรมหรือทำ�การ ทดลองเพื่อหาคำ�ตอบ ก็มักจะเริ่มต้นจากการสังเกตเพื่อเก็บรวบรวมและ บันทึกข้อมูลต่างๆ แล้วนำ�ข้อมูลไปวิเคราะห์ จำ�แนก จัดกระทำ� ลงความเห็น สร้างสมมติฐาน ทำ�การทดลอง ตีความหมาย และลงข้อสรุปต่อไป ซึ่งจะเห็นว่าการสังเกตเป็นจุดเริ่มต้นที่นำ�ไปสู่ทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์อื่นๆ ในระดับที่สูงขึ้นได้ และยิ่งข้อมูลที่ได้จากการสังเกตนั้นมี ความละเอียดและถูกต้องก็จะทำ�ให้การค้นคว้าหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือมากขึ้นด้วย Adamskbd. (n.d.). Topic 2 Basic Science Process Skills I. Retrieved December 12, 2022, from https://www.scribd.com/doc/ 199208487/Topic-2-Basic-Science-Process-Skills-I. Anderson. (n.d.). 5th Grade Science Study Guide : science process skills. Retrieved December 12, 2022, from https://www.anderson1.org/cms/lib04/SC01000609/Centricity/Domain/79/5th_grade_study_guide4_pdf.pdf. Longwood. (n.d.). Teaching the Science Process Skills. Retrieved December 12, 2022, from http://www.longwood.edu/cleanva/ images/sec6.processskills.pdf. NARST. (1990). The Science Process Skills. Retrieved December 12, 2022, from https://narst.org/research-matters/science-process-skills. Scenic Hudson. (n.d.). Investigations with Magnifying Glasses. Retrevies December 12, 2022, from https://www.teachingthe hudsonvalley.org/wp-content/uploads/Magnifying-Glass-Lesson-Plan.pdf. TeacherVision. (n.d). Basic Science Skills Printable Book. Retrieved December 12, 2022, from https://www.teachervision.com/ science/basic-science-skills-printable-book-6-10. ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์และธงชัย ชิวปรีชา. (ม.ป.ป.). ชุดพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ ชุดที่ 1 ทักษะการสังเกต. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2565, จาก https://www.stou.ac.th/Schools/Sed/upload/ชุดที่%2003.pdf. ทิพย์อุบล สัมฤทธิ์. (2560). การสอนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์. สำ�นักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2565, จาก http://portal5.udru.ac.th/ebook/pdf/ upload/187IjNI334U0984c8U89.pdf. พัดตาวัน นาใจแก้ว. (2555). เอกสารประกอบการสอนวิชาธรรมชาติวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2565, จาก http://portal5.udru.ac.th/ebook/pdf/upload/17v1K7MB1572K3oB388S.pdf. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561). คู่มือการใช้หลักสูตรรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2565, จาก https://www.scimath.org/ebook-science/item/8923-2018-10-01-01-59-16. สุภาพรรณ ศรีสุข. (2560). มาฝึกทักษะการสังเกตกันเถอะ. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2565, จาก https://www.trueplookpanya.com/ knowledge/content/61331. บรรณานุกรม การใช้กล้องจุลทรรศน์สังเกตสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า การใช้กล้องส่องทางไกลสังเกต สิ่งที่อยู่ไกลออกไป การใช้หูฟังสเต็ทโตสโคปของหมอในการ ฟังเสียงอวัยวะภายในร่างกาย

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5