นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 239

ปีที่ 51 ฉบับที่ 239 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2565 35ี ที่ ั บี่ ิ กั น 3) การที่ผู้เรียนมีความเข้าใจและได้เรียนรู้การเขียน Number Bonds จะเป็นพื้นฐานที่ดีในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดย เฉพาะอย่างยิ่งในการคิดคำ�นวณในใจอย่างยืดหยุ่น สามารถเลือกขั้นตอนในการคำ�นวณในใจได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งสามารถ ใช้ Number Bonds เขียนช่วยในการคำ�นวณได้ด้วย หากผู้เรียนผ่านกิจกรรมการแยก การรวมจำ�นวน 10 และการเขียนคู่สิบ (จำ�นวน 2 จำ�นวนที่รวมกันได้ 10 ) ต่างๆ ในรูปของ Number Bonds และเมื่อต้องคิดคำ�นวณ ผู้เรียนจะสามารถนำ�สิ่งที่เรียนรู้ มาคิดหาคำ�ตอบได้อย่างหลากหลาย เช่น ตัวอย่าง 1 7 + 4 = จากโจทย์ 7 + 4 = ผู้เรียนอาจคิดหาจำ�นวนที่เมื่อรวมกับ 7 แล้วจะได้ 10 นั่นคือ 3 เมื่อเขียน Number Bonds แยก 4 เป็น 3 กับ 1 จากนั้นนำ� 3 ไปบวกกับ 7 ได้ 10 ผู้เรียนก็จะหาคำ�ตอบได้ว่า 7 + 4 = 10 + 1 ซึ่งคำ�ตอบก็คือ 11 นั่นเอง ดังภาพ 4 (ซ้าย) ภาพ 4 ตัวอย่างการคิดหาคำ�ตอบโดยใช้แนวคิดเกี่ยวกับส่วนย่อย-ส่วนรวม ภาพ 5 ตัวอย่างการคิดหาคำ�ตอบโดยใช้แนวคิดเกี่ยวกับส่วนย่อย-ส่วนรวม 7 + 4 10 + 1 = 11 7 + 4 = 11 3 1 36 + 49 40 + 45 = 85 36 + 49 = 85 4 45 7 + 8 10 + 5 = 15 7 + 8 = 15 3 5 36 + 49 35 + 50 = 85 36 + 49 = 85 35 1 สำ�หรับโจทย์ข้อนี้ผู้เรียนในระดับประถมศึกษาอาจใช้วิธีการอื่นในการหาคำ�ตอบได้ เช่น ใช้การนับต่อ โดยนับต่อจาก 7 ไป 4 แต่สำ�หรับบางโจทย์ เช่น 7 + 8 = การนับต่อ จาก 7 ไปหลายๆ ครั้ง อาจไม่สะดวกกับผู้เรียนบางคน การใช้ การคิดในใจโดยแยกจำ�นวนหนึ่ง แล้วนำ�มาบวกให้ครบสิบอาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง (ดังภาพ 4 ขวา) ตัวอย่าง 2 36 + 49 = การหาคำ�ตอบของ 36 + 49 = โดยปกติผู้เรียนอาจใช้การหาคำ�ตอบโดยการตั้งบวก ซึ่งจะมีการทด แต่หากผู้เรียน ใช้การแยกจำ�นวนเป็นส่วนย่อยและใช้ความรู้เรื่องคู่สิบ ผู้เรียนจะหาคำ�ตอบได้อย่างยืดหยุ่นมากกว่า 1 วิธี ดังแสดงในภาพ 5

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5