นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 239
40 นิตยสาร สสวท. ภาพ 3 การเกิดปรากฏการณ์ลานีญา (La Niña) ในประเทศไทย ที่มา: ศูนย์ประสานงานและพัฒนางานวิจัยด้านโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, 2564 ปัจจัยที่ส่งผลทำ�ให้เกิดอุทกภัยในประเทศไทย ปัจจัยที่ส่งผลทำ�ให้เกิดอุทกภัย เกิดจากหลายปัจจัยประกอบกัน ทั้งปัจจัยทางกายภาพ เช่น พื้นที่ต้นน้ำ�และป่าไม้ถูกทำ�ลาย ปัจจัยทาง ธรรมชาติ เช่น ฝนที่มาเร็วกว่าปกติ ปริมาณน้ำ�ฝนเฉลี่ยที่มากกว่าทุกปี จำ�นวนพายุที่เคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทย ร่องมรสุมและลมประจำ�ถิ่นที่ ผ่านบริเวณประเทศไทยอย่างต่อเนื่องทำ�ให้เกิดฝนตกหนัก ปริมาณน้ำ�ในอ่าง ปริมาณน้ำ�ท่า การหนุนของน้ำ�ทะเล การก่อสร้างกีดขวางเส้นทางการไหล ของน้ำ� สภาพภูมิประเทศ และปัจจัยทางด้านการบริหารจัดการน้ำ�โดยภาครัฐ และภาคประชาชนที่ไม่พร้อมในการรับมือและไม่ประสานงานกันก็เป็น ปัจจัยที่สำ�คัญมากปัจจัยหนึ่งที่ไม่อาจปฏิเสธได้ จากปัจจัยทั้งหมดที่กล่าวมา ปัจจัยทางธรรมชาติเป็นปัจจัยที่มนุษย์ ไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดในการเตรียมรับมือกับปัจจัยทาง ธรรมชาติคือ การทำ�ความเข้าใจ ติดตาม เฝ้าระวัง และเตรียมการตั้งรับกับ เหตุการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น เรามาทำ�ความเข้าใจธรรมชาติกันให้มากขึ้น เกี่ยวกับปรากฏการณ์ลานีญา ( La Niña ) ที่ทำ�ให้เกิดฝน รวมทั้งพายุ ร่องมรสุม และลมประจำ�ถิ่นที่เคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทย ปรากฏการณ์ลานีญา ( La Niña ) กับปริมาณฝนในประเทศไทย ลานีญา ( La Niña ) เป็นปรากฏการณ์ที่อุณหภูมิผิวน้ำ�ทะเลใน มหาสมุทรแปซิฟิกฝั่งตะวันตก (ฝั่งประเทศไทย) สูงขึ้น ขณะที่อุณหภูมิ ผิวน้ำ�ทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกฝั่งตะวันออก (ฝั่งสหรัฐอเมริกา) เย็นลงกว่า ปกติ ลมซึ่งเคลื่อนที่จากบริเวณที่มีอุณหภูมิอากาศต่ำ�กว่าไปสู่บริเวณที่มี อุณหภูมิอากาศสูงกว่าจึงพัดพาความชื้นจากฝั่งสหรัฐอเมริกามาสู่ประเทศไทย มากกว่าปกติ ทำ�ให้เกิดการก่อตัวของเมฆฝนและมีปริมาณฝนเพิ่มขึ้นใน ประเทศไทย ในขณะที่อากาศฝั่งสหรัฐอเมริกา มีความแห้งแล้งมากขึ้น (ภาพ 3) (ศูนย์ประสานงานและพัฒนางานวิจัยด้านโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, 2564) ซึ่งสังเกตได้จากค่าดัชนี Oceanic Niño Index: ONI ที่มีค่าน้อยกว่า - 0.5 °C ติดต่อกันอย่างน้อย 5 ครั้ง หมายถึง โอกาสการเกิดปรากฏการณ์ลานีญา (สถาบันที่ปรึกษา เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในราชการ (สปร.), 2555)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5