นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 239
42 นิตยสาร สสวท. จากค่าดัชนี ONI ของ Climate Prediction Center, National Weather Service (ตาราง 1) จะเห็นว่า ปรากฏการณ์ลานีญาเกิดขึ้น ช่วงเดือนพฤษภาคม ปี 2553 (ค.ศ. 2010) โดยมีกำ�ลังแรงช่วงปลายปี 2553 ตั้งแต่เดือนสิงหาคมจนถึงต้นปี 2554 (ค.ศ. 2011) จากนั้นปรากฏการณ์ ลานีญาอ่อนตัวลงจนเข้าสู่สภาพเป็นกลาง ช่วงระหว่างเดือนมิถุนายน ถึงกรกฎาคม และค่อยๆ เริ่มกลับสู่สภาวะลานีญาอีกครั้งช่วงปลายปี 2554 (แถบตัวเลขสีเขียว) จึงเห็นได้ว่าในปี 2554 ประเทศไทยประสบสภาวะ ลานีญาเกือบทั้งปี ทำ�ให้ประเทศไทยมีฝนตกมากกว่าปกติ ในขณะเดียวกัน ในปี 2563 (ค.ศ. 2020) เกิดปรากฏการณ์ลานีญาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม จนถึงเดือนมิถุนายนปี 2564 (ค.ศ. 2021) และก็เกิดขึ้นต่อเนื่องอีกครั้ง ในเดือนกรกฎาคม จนถึงเดือนกันยายน ปี 2565 (แถบตัวเลขสีเหลือง) จะเห็นได้ว่าในปี 2564 นี้ ประเทศไทยก็ประสบปัญหาลานีญาเกือบทั้งปี อีกครั้งหนึ่งและยังคงต่อเนื่องในปี 2565 ซึ่งสอดคล้องกับที่ประเทศไทย มีฝนตกหนัก โดยจากการรายงานสถานการณ์ฝนสะสมตั้งแต่ปี 2434 - 2565 (ภาพ 5) ของศูนย์ภูมิอากาศกรมอุตุนิยมวิทยาพบว่า ประเทศไทยมี ฝนตกหนัก ปี 2554 (กราฟสีเขียว) มีปริมาณฝนสะสมมากกว่าปี 2565 (กราฟสีแดง) เล็กน้อยและมีปริมาณฝนสะสมมากกว่าค่าปกติ (กราฟสีดำ�) และในปีอื่นๆ ที่ไม่เกิดปรากฏการณ์ลานีญามาก จากความพยายามในการเก็บรวบรวมข้อมูลปริมาณฝนสะสม อย่างสม่ำ�เสมอ และการทำ�นายโอกาสเกิดปรากฏการณ์ลานีญาของ นักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์ และนักวิจัยจากหน่วยงานต่างๆ ทั่วโลก จะเห็นได้ว่าเป็นข้อมูลที่สำ�คัญอย่างยิ่งในการติดตาม การคาดการณ์ การเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติได้ล่วงหน้า ซึ่งเป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยในการ วางแผนการจัดการน้ำ� และบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนได้ เนื่องจาก การเกิดฝนตกและปรากฏการณ์ลานีญาเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ที่มนุษย์ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เราทำ�ได้เพียงแค่เรียนรู้ ติดตามสถานการณ์ และเตรียมรับมือกับเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น โดยเราสามารถติดตาม ได้จากหน่วยงานต่างๆ ดัง QR Code ขวามือบน บทบาทของ สสวท. กับการส่งเสริมการเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ สสวท. เป็นองค์กรส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ที่มุ่งหวังให้เยาวชนของชาติดำ�รงชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อม ท้องถิ่นของตน และอยู่ร่วมกันกับเพื่อนๆ ทั่วโลกได้อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี ได้พัฒนาหนังสือเรียนและคู่มือครูกิจกรรมการเรียนรู้การเปลี่ยนแปลง ภูมิอากาศสำ�หรับนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 และระดับมัธยมศึกษา ปีที่ 1 - 3 ซึ่งจะช่วยเพิ่มความตระหนักและความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง ภูมิอากาศทั้งระดับท้องถิ่น ภูมิภาค และระดับโลก นักเรียนจะได้เรียนรู้ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสภาพอากาศและภูมิอากาศ การใช้ข้อมูลทาง วิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องและสม่ำ�เสมอ แสดงให้เห็นถึงคุณค่าและความจำ�เป็น ภาพ 5 ปริมาณฝนสะสม ตั้งแต่ ปี 2434 - 2565 ที่มา: ศูนย์ภูมิอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา, 2565 ข้อมูลภูมิอากาศ ติดตามจาก ศูนย์ภูมิอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา (http://climate.tmd.go.th/ ) สถานการณ์น้ำ�ประเทศไทย ติดตามจาก ศูนย์อำ�นวยการน้ำ�แห่งชาติ สำ�นักงานทรัพยากรน้ำ�แห่งชาติ (http://nwcc.onwr.go.th/) ซึ่งสามารถติดตามข้อมูลปริมาณฝน ระดับน้ำ� แหล่งน้ำ� คุณภาพน้ำ� เตือนภัยน้ำ�หลากดินถล่ม การคาดการณ์ฝน การ คาดการณ์คลื่นการคาดการณ์น้ำ�ท่วมฉับพลัน การคาดการณ์ความเค็ม และการติดตามภัยแล้ง ซึ่งสามารถดูข้อมูลย้อนหลังได้ 7 วัน และ คาดการณ์ล่วงหน้าได้ 7 วัน โอกาสการเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ และลานีญา ติดตามจาก Climate Prediction Center (https://origin.cpc.ncep.noaa.gov/products/analysis_monitor- ing/ensostuff/ONI_v5.php) ที่ต้องมีการเก็บข้อมูลในการทำ�งานวิจัย สาเหตุของการ เปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก ผลที่ตามมาจากการเปลี่ยนแปลง ภูมิอากาศเชื่อมโยงกับชีวิตประจำ�วันของนักเรียน เช่น ผลกระทบ ต่อสุขภาพและภัยพิบัติ และร่วมกันเสนอแนวทางที่หลากหลาย ที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก นำ�ไปสู่การ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และดำ�รงชีวิต อยู่ได้อย่างมีคุณภาพ ดังนั้น ครูจึงมีบทบาทสำ�คัญยิ่งในการ ช่วยส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ โดยฝึกให้นักเรียนเข้าใจธรรมชาติ เรียนรู้วิธีการตรวจวัดและเก็บข้อมูลทางสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้อง ฝึกคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดอย่างมีเหตุและผลเช่นเดียวกับ นักวิทยาศาสตร์ เพื่อเตรียมนักเรียนให้เกิดสมรรถนะหลักที่สำ�คัญ (Core Competencies) และทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 นอกจากนี้ การเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศยังสอดคล้อง กับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5