นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 239

ปีที่ 51 ฉบับที่ 239 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2565 45 แ นวคิดดังกล่าวสอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ของสหประชาชาติ ตามวิสัยทัศน์ ที่กล่าวไว้ว่า “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” ซึ่งสอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 ของประเทศไทย (สหประชาชาติ ประเทศไทย, 2565) โดยในช่วงที่ผ่านมา ประเทศไทย ได้กำ�หนดนโนบายที่สอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวคิด การบูรณาการเศรษฐกิจสามมิติได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) เรียกว่า โมเดลเศรษฐกิจบีซีจี (BCG Economy Model) (ประชาคมวิจัยด้านเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจ สีเขียว, 2561) โดยโมเดลเศรษฐกิจดังกล่าวมุ่งเน้นให้เกิดการสร้างมูลค่า ของทรัพยากรของประเทศที่เหมาะสมกับบริบทชีวิตจริง สังคม วัฒนธรรม รวมถึงสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงนโยบายดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงจุดเปลี่ยนผ่าน ที่ภาคการศึกษาจำ�เป็นต้องก้าวข้ามและปฏิวัติการจัดการศึกษาของประเทศ ให้สามารถพัฒนาพลเมืองที่ตอบโจทย์เป้าหมายดังกล่าวได้ โดยแนวทางหนึ่ง ของการจัดการศึกษาคือสะเต็มศึกษา (STEM Education) ซึ่งเป็นแนวทาง การเรียนรู้ที่สามารถพัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะสำ�คัญในศตวรรษที่ 21 ผ่านการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) สำ�หรับแก้ปัญหาในชีวิตจริง (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2557) อย่างไรก็ตาม สะเต็มศึกษาต้องเพิ่มและปรับมุมมองเพื่อมุ่งไปสู่การเกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ของเศรษฐกิจและสังคม และสิ่งแวดล้อมด้วย โดยจะเห็นได้จากตัวอย่าง ของนักการศึกษาที่ได้คิดค้นและพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษา สะเต็มบีซีจีเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนขึ้น เช่น ชาตรี ฝ่ายคำ�ตา และคณะ (2565)ที่ได้นำ�เสนอแนวคิดของการจัดกิจกรรมและยกตัวอย่างการสอน ตามแนวคิดสะเต็มบีซีจี อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนพบว่า การที่จะส่งเสริมและ พัฒนาสะเต็มศึกษาให้ไปถึงเป้าหมายดังกล่าวยังเป็นสิ่งที่ยากต่อภาค การศึกษาไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากอุปสรรคสำ�คัญอย่างหนึ่งมาจาก ครูไทยส่วนใหญ่ยังเผชิญปัญหาการออกแบบกิจกรรมสะเต็มศึกษา โดยเฉพาะ การกำ�หนดสถานการณ์หรือการกำ�หนดปัญหาเชิงวิศวกรรมให้สอดคล้องกับ ปัญหาที่พบในบริบทชีวิตจริง รวมถึงการกำ�หนดเงื่อนไข และข้อจำ�กัดของ แนวทางการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม ซึ่งเป็น กลไกขับเคลื่อนการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา (กรกนก เลิศเดชาภัทร และชาตรี ฝ่ายคําตา, 2564) รวมถึงการทำ�ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จาก กิจกรรมสะเต็มศึกษาในลักษณะของการสืบเสาะหาความรู้ โดยคำ�ถามที่ ผู้เขียนมักพบจากครูคือ ครูมักจะถามว่า “ควรใช้สถานการณ์ใด” “ปัญหา ในลักษณะใดจึงจะนำ�ไปสู่การแก้ไขปัญหาเชิงวิศวกรรม” “สถานการณ์หรือ ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับบีซีจีควรเป็นอย่างไร” “ทำ�ไมทำ�กิจกรรมสะเต็มศึกษา แล้วผู้เรียนไม่เกิดกระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์” “มีอะไรบ้างที่ควรจะ พิจารณาหากต้องนำ�สถานการณ์จริงเข้ามาใช้ในห้องเรียน” ในบทความนี้ ผู้เขียนขอเสนอแนวคิดในการออกแบบกิจกรรม สะเต็มศึกษาที่บูรณาตามแนวคิดของเศรษฐกิจบีซีจีเพื่อนำ�ไปสู่เป้าหมาย การพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยเครื่องมืออัจฉริยะที่ผู้เขียนได้ออกแบบและพัฒนาขึ้น เรียกว่า สะเต็มบีซีจีบนผืนผ้าใบ (STEM-BCG CANVAS) ดังภาพ 1 ภาพ 1 สะเต็มบีซีจีบนผืนผ้าใบ (STEM-BCG CANVAS)

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5