นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 239

46 นิตยสาร สสวท. เครื่องมือสะเต็มบีซีจีบนผืนผ้าใบ มีรากฐานการออกแบบและ พัฒนาเครื่องมือมาจากโมเดลธุรกิจ (Business Model) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ องค์กรธุรกิจใช้ในการสื่อสารกับสมาชิกภายในองค์กรเพื่อวางแผนธุรกิจ รวมถึง สร้างกลยุทธ์ใหม่ๆ ทางธุรกิจขึ้นมา ผ่านองค์ประกอบ 9 ช่อง ในกรอบ สี่เหลี่ยมผืนผ้า ซึ่งเปรียบเสมือนพิมพ์เขียวที่เรียกว่า ผืนผ้าใบ (Canvas) ซึ่งครอบคลุมปัจจัยต่างๆ ตามโครงสร้างหลักของธุรกิจไม่ว่าจะเป็นกลุ่มลูกค้า กระแสรายได้ ทรัพยากร ซึ่งแต่ละช่องล้วนแต่มีความสัมพันธ์และสอดคล้อง ซึ่งกันและกัน ทำ�ให้องค์กรธุรกิจสามารถกำ�หนดหน้าตาของธุรกิจ และ วางแนวทางความสำ�เร็จของธุรกิจในอนาคตได้ (Osterwalder & Pigneur, 2564; ฮิมะสึ มิกิ, 2561) จากแนวคิดองค์ประกอบ 9 ช่อง ของผืนผ้าใบ ช่วยจุดประกายความคิดให้กับผู้เขียนในการแก้ปัญหาและช่วยเหลือครูให้ สามารถออกแบบกิจกรรมสะเต็มศึกษา โดยสกัดลักษณะเด่นของปัญหา ที่พบเกี่ยวกับการออกแบบกิจกรรมสะเต็มศึกษาตามที่กล่าวไปในตอนต้น ผนวกกับลักษณะสำ�คัญของเศรษฐกิจสามมิติตามแนวคิดโมเดลเศรษฐกิจ บีซีจี ร่วมกับลักษณะเด่นจากมิติด้านธุรกิจของโมเดลธุรกิจออกมาเป็น เครื่องมือที่เรียกว่า “สะเต็มบีซีจีบนผืนผ้าใบ” ซึ่งเป็นนวัตกรรมทางการศึกษา ครูสามารถออกแบบกิจกรรมสะเต็มศึกษาที่บูรณาการแนวคิดโมเดล เศรษฐกิจบีซีจีได้ สำ�หรับการใช้เครื่องมือสะเต็มบีซีจีบนผืนผ้าใบ ผู้เขียนดัดแปลง จาก ฮิมะสึ มิกิ (2561) แสดงดังภาพ 2 โดยกระบวนการนี้เป็นกระบวนการ กลุ่มที่มุ่งเน้นให้ครูร่วมกันวางแผน ออกแบบ วิพากษ์ ผ่านการเรียนรู้ ร่วมกันเพื่อพัฒนาปรับปรุงกิจกรรมสะเต็มบีซีจีให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยมี รายละเอียดดังต่อไปนี้ ภาพ 2 ขั้นตอนการใช้เครื่องมือสะเต็มบีซีจีบนผืนผ้าใบ ขั้นที่ 1 เขียน (Draw) ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ให้ครูเขียนข้อมูลสำ�คัญลงไปในองค์ประกอบ 9 ช่อง ในเครื่องมือสะเต็มบีซีจีบนผืนผ้าใบ (ดังภาพ 3) โดยครูต้องพิจารณา ความสัมพันธ์ตั้งแต่ช่องที่ 1 ถึงช่องที่ 9 ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่มีความ ต่อเนื่องกัน โดยเริ่มต้นจากการวิเคราะห์ปัญหาของชุมชน (ช่อง 1) จุดเด่น ของชุมชน (ช่องที่ 2) จากนั้นพิจารณาแนวทางแก้ปัญหาหรือการพัฒนา ของชุมชนที่มีอยู่เดิม (ช่องที่ 3) รวมถึงพิจารณาความเหมาะสมของ แนวทางการแก้ปัญหาหรือการพัฒนาที่มีอยู่เดิม (ช่องที่ 4) จากนั้น วิเคราะห์กลุ่มลูกค้าและผู้บริโภค (ช่องที่ 5) เพื่อหากลุ่มลูกค้าและผู้บริโภค ที่แท้จริงที่ตอบโจทย์ช่องที่ 1 - 4 และต้องหาวิธีการที่นำ�มาซึ่งการทราบ ความต้องการของกลุ่มลูกค้าและผู้บริโภคที่แท้จริง (ช่องที่ 6) เมื่อทราบ ข้อมูลต่างๆ ในช่องที่ 1 - 6 แล้ว ครูต้องพิจารณาความสัมพันธ์ทั้ง 6 ช่อง และลองออกแบบกิจกรรมสะเต็มศึกษา (ช่องที่ 7) ว่า กิจกรรมการเรียนรู้ ดังกล่าวควรมีลักษณะเป็นอย่างไรจึงจะสามารถตอบโจทย์ท้าทายในช่องที่ 1 - 6 ได้ โดยลักษณะของกิจกรรมต้องมีเป้าหมายให้นักเรียนออกแบบและ สร้างสรรค์นวัตกรรมบางอย่างขึ้นมา อย่างไรก็ตาม ในช่องนี้ครูจำ�เป็นต้อง พิจารณาลักษณะของกิจกรรมและนวัตกรรมที่จะให้นักเรียนสร้างขึ้นว่า สอดคล้องตามโมเดลเศรษฐกิจทั้ง 3 มิติในประเด็นเศรษฐกิจชีวภาพ

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5