นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 239
ปีที่ 51 ฉบับที่ 239 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2565 47 ภาพ 3 ตัวอย่างการเขียนข้อมูลในสะเต็มบีซีจีบนผืนผ้าใบ เช่น นวัตกรรมเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน เศรษฐกิจหมุนเวียน เช่น นวัตกรรมมาจากทรัพยากรธรรมชาติหรือ สิ่งเหลือทิ้งในชุมชนที่อาศัยการหมุนเวียน และลดการเกิดของเสียและขยะ ระหว่างกระบวนการสร้างนวัตกรรม และเศรษฐกิจสีเขียว เช่น นวัตกรรม ดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม หรือกระบวนการผลิตไม่ก่อให้เกิด สารพิษปลดปล่อยไปสู่สิ่งแวดล้อม กรณีที่ความสัมพันธ์ดังกล่าวไม่ครบถ้วน ทุกมิติ ครูจำ�เป็นต้องย้อนกลับไปเริ่มต้นพิจารณาปัญหาชุมชนในช่องที่ 1 ใหม่ จนกระทั่งมาถึงช่องที่ 7 เมื่อได้ลักษณะของกิจกรรมการเรียนรู้แล้ว ครูจำ�เป็น ต้องกำ�หนดเงื่อนไข (ช่องที่ 8) ประกอบด้วย เงื่อนไขด้านการแก้ปัญหา ได้แก่ นวัตกรรมที่สามารถแก้ปัญหาคืออะไร รวมถึงทรัพยากรต่างๆ เช่น วัสดุ เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ที่ส่งผลต่อการแก้ปัญหานี้คืออะไร เงื่อนไขด้านความรู้ ได้แก่ ความรู้และเนื้อหาที่นำ�มาใช้ในการแก้ปัญหานี้คือเรื่องอะไร เงื่อนไขด้าน บีซีจี ได้แก่ นวัตกรรมตอบโจทย์โมเดลเศรษฐกิจอย่างไร และข้อจำ�กัดในการ แก้ปัญหา (ช่องที่ 9) เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษา ที่สอดคล้องกับกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมและกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงทำ�ให้ผู้เรียนประสบผลสำ�เร็จจากการเรียนรู้ ดังกล่าวได้อย่างสมบูรณ์ ขั้นที่ 2 ทบทวน (Reflect) ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนหลังจากที่ครูเขียนข้อมูลสำ�คัญลงใน องค์ประกอบ 9 ช่อง ในเครื่องมือสะเต็มบีซีจีบนผืนผ้าใบเรียบร้อยแล้ว ครูจะต้องนำ�เสนอผลลัพธ์ที่ได้จากองค์ประกอบ 9 ช่อง ให้เพื่อนครู หรือ ผู้เชี่ยวชาญ ในลักษณะของการเรียนรู้ร่วมกัน เช่น การช่วยกันสะท้อน วิพากย์ ทบทวนความเหมาะสมและความเป็นไปได้ขององค์ประกอบ 9 ช่อง กับลักษณะ ของกิจกรรมการเรียนรู้ที่ครูออกแบบขึ้นดังภาพ 4 โดยพิจารณาความเหมาะ ของกิจกรรมเมื่อนำ�ไปใช้จริงในชั้นเรียน รวมถึงพิจารณาความเหมาะสม ตามช่วงอายุของผู้เรียน หลักสูตรแกนกลางและตัวชี้วัดของกลุ่มสาระ การเรียนรู้ รวมถึงช่วยกันให้ข้อเสนอแนะอื่นๆ ดังตัวอย่างคำ�ถาม เช่น • สถานการณ์ปัญหาในกิจกรรมนี้นำ�ไปสู่การสร้างนวัตกรรมที่ ตอบโจทย์ชุมชนหรือไม่อย่างไร • สถานการณ์ปัญหาสอดคล้องกับสิ่งที่ต้องการพัฒนาผู้เรียน หรือไม่ • เงื่อนไขด้านความรู้สอดคล้องกับเนื้อหาในหลักสูตรแกนกลาง และตัวชี้วัดหรือไม่ • เงื่อนไขด้านการแก้ปัญหานำ�ไปสู่การออกแบบเชิงวิศกรรม และ การสืบเสาะหาความรู้หรือไม่ • นวัตกรรมนี้ตอบโจทย์มิติด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อย่างไร
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5