นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 239
48 นิตยสาร สสวท. ภาพ 4 ตัวอย่างการวิพากษ์ข้อมูลในสะเต็มบีซีจีบนผืนผ้าใบ ขั้นที่ 3 แก้ไข (Revise) ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ครูนำ�ผลลัพธ์และข้อสรุปที่ได้จากการวิพากษ์ ของเพื่อนครู หรือผู้เชี่ยวชาญมาปรับปรุงองค์ประกอบ 9 ช่อง ในเครื่องมือ สะเต็มบีซีจีบนผืนผ้าใบให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยพิจารณาตามความเหมาะสมของ ข้อสรุปและข้อเสนอแนะ เช่น ข้อสรุปที่ได้จากกระบวนการวิพากษ์เกี่ยวกับ วิธีการทราบความต้องการของลูกค้าและผู้บริโภค (ช่องที่ 6) จากเดิมที่ พิจารณาเฉพาะเรื่อง การสัมภาษณ์กลุ่มลูกค้าในกลุ่มเกษตรกร แต่เมื่อ ข้อเสนอแนะเพื่อนครูได้พูดถึงประเด็นเกี่ยวกับสถิติของความเสียหายที่ ลูกค้าพบจากสินค้า เช่น การส่งออกทุเรียน ดังภาพ 5 ครูอาจนำ�ประเด็นนี้ เพิ่มลงไปเป็นแนวทางในการทราบความต้องการของกลุ่มลูกค้าและผู้บริโภค เพิ่มเติมเพื่อนำ�ไปสู่เป้าหมายของนวัตกรรมที่ต้องการให้นักเรียนสร้างขึ้น และตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายชัดเจนมากขึ้น ขั้นที่ 4 ลงมือ (Act) ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ครูได้องค์ประกอบ 9 ช่อง ในเครื่องมือ สะเต็มบีซีจีบนผืนผ้าใบที่ผ่านการแก้ไขเป็นฉบับสมบูรณ์และไปใช้ดำ�เนินการ ออกแบบและจัดกิจกรรมการเรียนรู้สะเต็มศึกษาที่บูรณาการแนวคิดโมเดล เศรษฐกิจบีซีจีจริงในชั้นเรียน อย่างไรก็ตาม ในขั้นตอนนี้มีความเป็นพลวัต ในกรณีที่พบปัญหาและอุปสรรคต่างๆ หลังจากนำ�กิจกรรมไปใช้จริง ในชั้นเรียน ครูจำ�เป็นต้องย้อนกลับไปที่ขั้นตอนทบทวนอีกครั้ง รวมถึง แสดงจุดเด่นของกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนากิจกรรมโดยปรับแก้ องค์ประกอบ 9 ช่อง ในเครื่องมือสะเต็มบีซีจีบนผืนผ้าใบให้ดีและสมบูรณ์ ยิ่งขึ้นต่อไป
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5