นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 239
ปีที่ 51 ฉบับที่ 239 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2565 51 “คุณเห็นด้วยหรือไม่ว่า ความสามารถและสติปัญญาเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงและพัฒนาได้” หากคำ�ตอบของคุณคือ เห็นด้วย นั่นมีแนวโน้มว่า คุณเป็นคนที่มีกรอบความคิดแบบเติบโต ซึ่งจะนำ�ไปสู่ พฤติกรรมที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ เช่น การไม่หลีกเลี่ยงความท้าทาย การไม่ย่อท้อต่อความล้มเหลว การเห็นคุณค่าของความพยายาม การเรียนรู้จากคำ�วิจารณ์ และการมองหาบทเรียนและ แรงบันดาลใจจากความสำ�เร็จของผู้อื่น ซึ่งล้วนเป็นหนทางสู่การประสบความสำ�เร็จ ทั้งในด้านการศึกษาและด้านอื่นๆ ในชีวิต ก รอบความคิดแบบเติบโต หรือ Growth Mindset คือความเชื่อว่า ความสามารถหรือสติปัญญาของบุคคลสามารถพัฒนาได้ ตลอดเวลา โดยบุคคลที่มีกรอบความคิดแบบเติบโตจะเป็น คนที่ชอบความท้าทาย มีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ มีความมุมานะ ที่จะแก้ไขปัญหาหรืออุปสรรค ไม่ท้อถอยหรือกลัวความล้มเหลว และมี ความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งตรงกันข้ามกับกรอบความคิดแบบตายตัว (Fixed Mindset) ที่มีความเชื่อว่าบุคคลเกิดมาพร้อมกับความสามารถและ สติปัญญาระดับหนึ่งซึ่งแทบจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ด้วยประสบการณ์ โดยบุคคลที่มีกรอบความคิดแบบตายตัวจะไม่ชอบความท้าทาย ท้อถอยง่าย มีพฤติกรรมอ่อนแอ และมักโทษคนอื่น ซึ่งในบทความนี้จะนำ�เสนอมุมมอง และผลการประเมินเรื่องกรอบความคิดแบบเติบโต จากการประเมินผล การศึกษาระดับนานาชาติ PISA ว่ามีความน่าสนใจอย่างไรบ้าง โปรแกรมประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล (Programme for International Student Assessment หรือ PISA) ขององค์การเพื่อ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co-operation and Development หรือ OECD) มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินคุณภาพของระบบการศึกษาในการเตรียมความพร้อมให้ประชาชน มีศักยภาพหรือความสามารถพื้นฐานที่จำ�เป็นต่อการดำ�รงชีวิตในโลกที่ มีการเปลี่ยนแปลง ในรอบการประเมิน PISA 2018 มีการเก็บรวบรวม ข้อมูลจากทั้งแบบทดสอบและแบบสอบถามนักเรียนและโรงเรียน โดย การประเมินในรอบนี้มีการสำ�รวจเรื่องกรอบความคิดแบบเติบโตขึ้นเป็น ครั้งแรกและให้ความสำ�คัญในการวิเคราะห์เชิงลึกเกี่ยวกับกรอบความคิด แบบเติบโตแล้วหาความสัมพันธ์กับผลการประเมินและข้อมูลปัจจัยต่างๆ ที่เชื่อมโยงกัน เนื่องจาก PISA มองว่าสังคมในปัจจุบันเป็นสังคมที่มีความ ไม่แน่นอนและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว พลเมืองในสังคมจึง หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆ ซึ่งบางครั้งก็อาจนำ�ไปสู่ ความล้มเหลว ดังนั้น หากพลเมืองมีกรอบความคิดแบบเติบโตมองว่า สิ่งที่เผชิญนั้นเป็นเรื่องที่ท้าทาย หรือมองว่าความล้มเหลวที่พบเจอนั้นคือ โอกาสในการพัฒนาตนเอง พลเมืองเหล่านั้นก็จะสามารถเผชิญหน้ากับ ความยากลำ�บากและจัดการกับความพ่ายแพ้เพื่อก้าวไปสู่ความสำ�เร็จได้ สำ�หรับการเก็บข้อมูลใน PISA 2018 มี 78 ประเทศ/เขตเศรษฐกิจ เข้าร่วมการตอบแบบสอบถามสำ�หรับนักเรียน ซึ่งมีข้อคำ�ถามเกี่ยวกับ การมีกรอบความคิดแบบเติบโต โดยให้นักเรียนรายงานว่าเห็นด้วยมากน้อย เพียงใดกับข้อความ “สติปัญญาของนักเรียนเป็นสิ่งหนึ่งในตัวของนักเรียน ที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงไปได้มากนัก” นักเรียนที่ ไม่เห็นด้วย กับข้อความ ดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะเชื่อว่า สติปัญญาของตนเองเป็นสิ่งที่สามารถ เปลี่ยนแปลงได้ หรือกล่าวได้ว่า นักเรียนที่ ไม่เห็นด้วย กับข้อความดังกล่าว มีกรอบความคิดแบบเติบโตมากกว่านักเรียนที่เห็นด้วย บทความนี้จะเรียก นักเรียนที่ไม่เห็นด้วยกับข้อความดังกล่าวว่าเป็น “นักเรียนที่มีกรอบความคิด แบบเติบโต” ส่วนนักเรียนที่เห็นด้วยกับข้อความดังกล่าวจะเรียกว่าเป็น “นักเรียนที่มีกรอบความคิดแบบตายตัว”
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5