นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 239

52 นิตยสาร สสวท. ผลการประเมินจาก PISA 2018 พบว่า ใน 53 ประเทศ/เขตเศรษฐกิจ มีนักเรียนมากกว่า 50% ที่มีกรอบความคิดแบบเติบโต โดยค่าเฉลี่ย ของประเทศสมาชิก OECD มีนักเรียนที่มีกรอบความคิดแบบเติบโต ภาพ 1 ร้อยละของนักเรียนในแต่ละประเทศ/เขตเศรษฐกิจที่มีกรอบความคิดแบบเติบโต ประมาณ 63% ในขณะที่ประเทศไทยมีนักเรียนที่มีกรอบความคิดแบบเติบโต ประมาณ 43% (ดังภาพ 1) นอกจากนี้ ยังพบว่า กรอบความคิดแบบเติบโตมีความสัมพันธ์กับ สถานะทางเศรษฐกิจและสังคมของนักเรียนแตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่ม โดยนักเรียนที่มีสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมอยู่ในกลุ่มล่างสุดของ ประเทศ (ต่ำ�กว่าเปอร์เซ็นไทล์ที่ 25) หรือกลุ่มนักเรียนด้อยเปรียบ มีนักเรียน ที่มีกรอบความคิดแบบเติบโตน้อยกว่านักเรียนที่มีสถานะทางเศรษฐกิจและ สังคมอยู่ในกลุ่มเปอร์เซ็นไทล์ที่ 75 ขึ้นไปของประเทศ หรือกลุ่มนักเรียน ได้เปรียบ โดยกลุ่มนักเรียนด้อยเปรียบในประเทศสมาชิก OECD มีนักเรียน ที่มีกรอบความคิดแบบเติบโต 56% ส่วนกลุ่มนักเรียนได้เปรียบมีนักเรียน ที่มีกรอบความคิดแบบเติบโต 68% สำ�หรับกลุ่มนักเรียนด้อยเปรียบของไทย มีนักเรียนที่มีกรอบความคิดแบบเติบโตเพียง 36% ส่วนกลุ่มนักเรียนได้เปรียบ มีนักเรียนที่มีกรอบความคิดแบบเติบโตถึง 56% แต่เมื่อพิจารณาในนักเรียน กลุ่มช้างเผือก (Academic Resilience) ของไทย ซึ่งเป็นนักเรียนที่มี ผลการประเมินสูงแต่มีสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมต่ำ� กลับพบว่า นักเรียนในกลุ่มนี้มีถึง 59% ที่มีกรอบความคิดแบบเติบโต ซึ่งมีสัดส่วนที่ ใกล้เคียงกับกลุ่มนักเรียนที่มีสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมอยู่ในกลุ่มบนสุด ของประเทศ กรอบความคิดแบบเติบโตกับผลการประเมิน PISA ในเกือบทุกประเทศ/เขตเศรษฐกิจที่ร่วมตอบแบบสอบถาม ซึ่งรวมถึงประเทศไทยพบว่า นักเรียนที่มีกรอบความคิดแบบเติบโตจะมี คะแนน PISA ด้านการอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ สูงกว่านักเรียน ที่มีกรอบความคิดแบบตายตัว ซึ่งสะท้อนว่าการมีกรอบความคิดแบบเติบโต มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผลการประเมิน PISA ทั้งนี้ งานวิจัยต่างๆ ได้กล่าวถึงประโยชน์ของการมีกรอบความคิดแบบเติบโตสำ�หรับนักเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มนักเรียนที่มีปัญหาทางการเรียนและนักเรียนที่มี ภูมิหลังทางครอบครัวที่ด้อยเปรียบ ซึ่งประเทศสมาชิก OECD พบว่า กลุ่มนักเรียนด้อยเปรียบที่มีกรอบความคิดแบบเติบโตจะมีคะแนนการอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ มากกว่านักเรียนด้อยเปรียบที่มีกรอบความคิด แบบตายตัว ส่วนกลุ่มนักเรียนได้เปรียบที่มีกรอบความคิดแบบเติบโต ถึงแม้จะมีคะแนนทั้งสามด้านมากกว่านักเรียนที่มีกรอบความคิดแบบตายตัว แต่ก็ยังน้อยกว่าในกลุ่มนักเรียนด้อยเปรียบ สำ�หรับประเทศไทยกลับพบว่า กลุ่มนักเรียนด้อยเปรียบที่มี กรอบความคิดแบบเติบโตมีคะแนนทั้งสามด้านต่างกันไม่มากนักเมื่อเทียบกับ นักเรียนที่มีกรอบความคิดแบบตายตัว ส่วนกลุ่มนักเรียนได้เปรียบที่มี กรอบความคิดแบบเติบโตจะมีคะแนนทั้งสามด้านมากกว่านักเรียนที่มี กรอบความคิดแบบตายตัวสูงมาก (ดังภาพ 2) ซึ่งประเด็นนี้ก็ยิ่งทำ�ให้ช่องว่าง ของคะแนนระหว่างกลุ่มนักเรียนด้อยเปรียบและกลุ่มนักเรียนได้เปรียบที่ มีกรอบความคิดแบบเติบโตมีช่องว่างกว้างมากขึ้น ผลการประเมินดังกล่าว จึงชี้ให้เห็นถึงช่องทางสำ�หรับการออกแบบเชิงนโยบายและการออกแบบ เครื่องมือในการพัฒนาเพื่อใช้ส่งเสริมความเท่าเทียมทางการศึกษาและ เป็นการลดช่องว่างด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างนักเรียนกลุ่มต่างๆ โดยเฉพาะการส่งเสริมการมีกรอบความคิดแบบเติบโตให้กับกลุ่มนักเรียน ด้อยเปรียบ กรอบความคิดแบบเติบโตกับเจตคติต่างๆ เมื่อนำ�ข้อมูลจากแบบสอบถามมาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง การมีกรอบความคิดแบบเติบโตกับเจตคติด้านต่างๆ ของนักเรียน พบว่า ข้อมูลของนักเรียนจากทั้งประเทศสมาชิก OECD และไทย พบลักษณะ ความสัมพันธ์เช่นเดียวกัน นั่นคือ การมีกรอบความคิดแบบเติบโตมีความ สัมพันธ์เชิงบวกกับการมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการทำ�งาน การรับรู้ถึง ความสามารถและศักยภาพของตนเอง การกลัวความล้มเหลวที่น้อยลง การตั้งเป้าหมายการเรียนรู้ และการเห็นคุณค่าของการเรียนรู้ในโรงเรียน 0 20 40 60 80 100 เอสโตเนีย เดนมาร์ก เยอรมนี ไอร์แลนด์ ไอซ์แลนด์ ลัตเวีย ลิทัวเนีย ออสเตรีย สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย แคนาดา นิวซีแลนด์ ญี?ปุ่น ฟินแลนด์ ยูเครน โปรตุเกส บราซิล สวิตเซอร์แลนด์ สวีเดน ค่าเฉลี?ย OECD อิสราเอล ลักเซมเบิร์ก สเปน ฮังการี โคลอมเบีย ชิลี สหพันธรัฐรัสเซีย จีนไทเป สิงคโปร์ ตุรกี บัลแกเรีย อิตาลี สาธารณรัฐสโลวัก โครเอเชีย เบลเยียม จีนสี?มณฑล(B-S-J-Z) คาซัคสถาน เบลารุส ไซปรัส คอสตาริกา มอลตา อุรุกวัย ฝรั ?งเศส เกาหลี เวียดนาม สาธารณรัฐเช็ก เซอร์เบีย บากู(อาเซอร์ไบจาน) เปรู สโลวีเนีย บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา เนเธอร์แลนด์ กาตาร์ จอร์เจีย อาร์เจนตินา มาเก๊า กรีซ จอร์แดน บรูไนดารุสซาลาม สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มอนเตเนโกร เม็กซิโก สาธารณรัฐมอลโดวา โรมาเนีย ซาอุดีอาระเบีย ไทย ฮ่องกง โมร็อกโก มาเลเซีย แอลเบเนีย โปแลนด์ เลบานอน สาธารณรัฐโดมินิกัน ฟิลิปปินส์ ปานามา อินโดนีเซีย โคโซโว สาธารณรัฐมาซิโดเนียเหนือ ไทย

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5