นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 239
ปีที่ 51 ฉบับที่ 239 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2565 59 QUIZ สวัสดีปีใหม่คุณๆ ที่รักของต่าย ในช่วงนี้ ต่ายมั่นใจว่าหลายคนได้ค้นพบ ด้วยตนเองแล้วว่าการมีสุขภาพดีด้วยการออกกำ�ลังกายอย่างสม่ำ�เสมอคือ เส้นทางที่ดีที่สุดในตอนนี้ ซึ่งเป็นช่วงเวลาของการเกิดโรคอุบัติใหม่มากมาย และต่อเนื่อง และก็เป็นที่รู้กันดีว่าการออกกำ�ลังกายร่วมกับการรับประทาน อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนการอย่างครบถ้วนและเหมาะสมมีผลโดยตรง ต่อสุขภาพของเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และคำ�ว่า “เหมาะสม” นี่เองที่แต่ละคน จะไม่เหมือนกัน ไม่เท่ากัน ดังนั้น เป็นหน้าที่ของคุณๆ แหละที่จะต้อง ค้นหาและค้นพบด้วยตนเองจากพื้นฐานของตารางคุณค่าทางโภชนาการ ของคนไทยที่กระทรวงสาธารณสุขได้กำ�หนดไว้ ฉ บับนี้ ต่ายจะพูดถึงเรื่องข้าว ซึ่งเป็นพืชที่มีการปลูกใน 114 ประเทศจาก 193 ประเทศทั่วโลก โดยมีการปลูกทั้งในทวีปเอเชีย แอฟริกา ออสเตรเลีย อเมริกาใต้ และอเมริกาเหนือ และเป็นที่ยอมรับจากนักวิทยาศาสตร์แล้วว่า การขยายตัวของพื้นที่เมืองกับการ เกิดภาวะโลกร้อนส่งผลกระทบต่อพื้นที่การทำ�เกษตรกรรมอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะในเรื่องของความแห้งแล้งและการเกิดสภาพ ดินเค็มเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น ข้าวก็ได้รับผลกระทบในเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน บทสรุปจึงไปลงเอยที่ความพยายามในการพัฒนาสายพันธุ์ข้าว ที่ให้ผลผลิตสูงๆ และทนต่อสภาพดินเค็มได้ด้วย การวิจัยเพื่อหายีนทนเค็มและทนแล้งจากข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่มีอยู่จึงเป็นจุดเริ่มต้นสำ�คัญ ของงานวิจัยนี้ สำ�หรับคนไทย ต่ายเชื่อว่า ถ้าพูดถึงข้าว เราก็จะนึกถึงข้าวหอมมะลิที่โด่งดังไปทั่วโลกก่อนข้าวชนิดอื่น และเช่นเดียวกับประเทศจีน ซึ่งมีประชากรจำ�นวนมากที่สุดในโลก (1,425,856,972 คน ข้อมูลเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2022 จาก worldpopulationreview.com ) ข้าวก็เป็นพืชอาหารสำ�คัญของประเทศเช่นเดียวกัน จีนตระหนักและมองเห็นผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นภายในประเทศแล้วได้อย่างชัดเจน โดยทำ�ให้พื้นที่ที่เหมาะสม สำ�หรับการเพาะปลูกลดลงเรื่อยๆ จากข้อมูลในปี 2020 จีนมีพื้นที่เกษตรกรรมคิดเป็น 56.1% ซึ่งลดลงจากเดิม และมีพื้นที่ดินเค็มประมาณ 5% ของพื้นที่ทั้งประเทศ ซึ่งเพิ่มมากขึ้นจากเดิม (ขณะที่ไทยมีพื้นที่สำ�หรับทำ�การเกษตรเพียง 45%) ทีมวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ข้าวจึงเริ่ม การพัฒนาข้าวทนเค็ม หรือข้าวที่สามารถปลูกในพื้นที่ที่เป็นดินเค็ม พื้นที่ตามชายฝั่งทะเลได้ เพื่อทำ�ให้มีการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ดินเค็ม ที่ปล่อยทิ้งไว้เฉยๆ โดยได้นำ�ยีนจากข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่ทนสภาพดินเค็มมาใส่ในข้าวสายพันธุ์ที่มีผลผลิตสูงและเป็นที่ต้องการของตลาด จีนเริ่มศึกษาและพัฒนาสายพันธุ์ข้าวมาตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1950 และในขณะนี้ผู้นำ�การวิจัยพันธุ์ข้าวของจีน ก็คือ Yuan Longping ซึ่งทางรัฐบาลจีนได้ยกย่องให้ท่านเป็น บิดาแห่งการพัฒนาสายพันธุ์ข้าวลูกผสม (Father of Hybrid Rice) ท่านได้เริ่มนำ�คำ�ว่า “Seawater Rice” มาใช้ในปี ค.ศ. 2012 จากนั้นก็ได้ศึกษาค้นคว้าวิจัยกันอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่ง ในปี 2022 ทั่วโลกก็ได้ทึ่งกับความ สำ�เร็จของจีนอีกครั้ง โดยจีนได้ประกาศความสำ�เร็จของการพัฒนาสายพันธุ์ข้าวทนเค็มที่สามารถให้ผลผลิตได้สูงสุดมากถึง 1,660.32 กิโลกรัมต่อไร่เมื่อเทียบกับข้าวไทย พันธุ์เจ๊กเชย1 ที่ให้ผลผลิตสูง 812 กิโลกรัมต่อไร่ (ข้าวเสาไห้ที่หุงแล้วเมล็ดร่วนไม่ติดกัน) ในขณะที่ ข้าวหอมมะลิไทย (พันธุ์ กข15 ที่พัฒนาจากการนำ�ข้าวขาวดอกมะลิ 105 มาอาบรังสีแกมมาทำ�ให้มีผลผลิตเพิ่มขึ้น) ให้ผลผลิตสูงสุดที่ 560 กิโลกรัมต่อไร่ทำ�ให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่างานวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวของจีนประสบความสำ�เร็จอย่างมากสำ�หรับการตอบโจทย์ ในเรื่องของการสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับประชากรชาวจีนในเรื่องของข้าว และน่าจะสามารถตอบโจทย์เป้าหมายความมั่นคงทาง อาหารให้กับประชากรของโลกได้อีกด้วย และเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับความสำ�เร็จของจีนที่สามารถปลูกข้าวตั้งแต่งอกจากเมล็ดจนข้าวออกรวง ได้สำ�เร็จบนอวกาศ คุณๆ สามารถดูการปลูกข้าวในอวกาศได้จาก China grows rice, other plants in space as part of Tiangong station experiment | South China Morning Post (scmp.com) ี ที่ ั บี่ ิ กั น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5