นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 240

10 นิตยสาร สสวท. ดร.ธเณศ เกิดแก้ว นักวิชาการ สาขาเคมีและชีววิทยา สสวท. e-mail: thker@ipst.ac.th เรียนรู้การทำ�เครื่องหมายและจับซ้ำ� ผ่าน Virtual Biology Lab การศึกษาขนาดของประชากรสิ่งมีชีวิตทำ�ได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับชนิดและลักษณะของสิ่งมีชีวิต รวมถึงลักษณะของ พื้นที่ศึกษา ในการเรียนวิชาเพิ่มเติมชีววิทยา ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ผู้เรียนจะได้ศึกษาวิธีการทำ�เครื่องหมาย และจับซ้ำ� (mark-recapture method หรือ Lincoln-Petersen method) ซึ่งผู้สอนและผู้เรียนต้องวางแผนและ จัดเตรียมอุปกรณ์ก่อนออกไปศึกษาจริง ปัจจุบันมีแหล่งเรียนรู้ออนไลน์ที่ทำ�การทดลองเสมือนจริง (Virtual Experiment) ซึ่งช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจหลักการประมาณขนาดของประชากรสิ่งมีชีวิตได้ดีขึ้น รวมถึงอาจทำ�ให้ ผู้เรียนมองเห็นภาพก่อนการออกไปศึกษาจริง บทความนี้จะนำ�เสนอการใช้แหล่งเรียนรู้การทดลองเสมือนจริง ออนไลน์ เรื่องการทำ�เครื่องหมายและจับซ้ำ� จาก Virtual Biology Lab ภาพจาก : https://www.the-scientist.com/news-opinion/virtual- lab-tours-for-recruitment-and-outreach-67633 V irtual Biology Lab พัฒนาขึ้นโดยได้รับการสนับสนุนจาก East Tennessee State University และ National Science Foundation ประเทศสหรัฐอเมริกา มีจุดประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการทดลองเสมือนจริงเกี่ยวกับชีววิทยาหลายแขนง เช่น นิเวศวิทยา วิวัฒนาการ วิทยาเซลล์ ซึ่งผู้จัดทำ�เปิดให้บริการฟรี โดยเข้าถึงได้ที่ https://virtualbiologylab.org/ และยกตัวอย่างเรื่องการทำ�เครื่องหมายและจับซ้ำ� ดังนี้ เมื่อเข้ามาที่เว็บไซต์ Virtual Biology Lab แล้ว เลือก Ecology Models และ Population Ecology ตามลำ�ดับ ดังภาพ 1

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5