นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 240

ปีที่ 51 ฉบับที่ 240 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2566 13 ในกรณีนี้จะยกตัวอย่างการประมาณขนาดของประชากรตัวโวลจากการทดลองเสมือนจริง โดยตั้งค่าการใช้งานดังนี้: 1. มีขนาดประชากรจริง (Pop_size) ขนาดใหญ่ (Large) 2. มีรูปแบบการกระจายตัวของสมาชิกในประชากร (Distribution) เป็นแบบสุ่ม (Random) 3. มี Trap_Experience เป็นแบบ Neutral 4. ใช้กับดัก (Num_Traps) จำ�นวน 4 กับดัก 5. ใช้เวลาเปิด-ปิดกับดัก (Trap_Time) 4 ชม. ปรับความเร็ว (Speed) การเคลื่อนที่ของตัวโวลและการวางตำ�แหน่งของกับดัก ดังภาพ 4 ภาพ 4 แสดงการตั้งค่าและตำ�แหน่งการวางกับดัก ภาพ 5 แสดงการทดลองการดักจับตัวโวลเพื่อทำ�เครื่องหมาย เมื่อตั้งค่าเสร็จแล้วเริ่มการทดลองดักจับตัวโวลครั้งที่ 1 เพื่อทำ�เครื่องหมาย (Mark) โดยกดที่ปุ่ม Open/Close 1 ครั้ง เพื่อเปิดกับดักจับตัวโวลและกับดักทั้งหมดจะปิดอัตโนมัติเมื่อ Timer (hrs) ผ่านไป 4 ชม. โดยจะมีตัวโวลจำ�นวนรวม 40 ตัว เข้ามาอยู่ในกับดักทั้ง 4 กับดัก (Total In Traps) จากนั้นกดปุ่ม Mark Voles เพื่อทำ�เครื่องหมายตัวโวลที่จับได้ ดังภาพ 5

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5