นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 240
ปีที่ 51 ฉบับที่ 240 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2566 15 Jones, T. C. (2016). Virtual Biology Lab: an Inquiry-Based Learning Environment. Retrieved December 20, 2022. from http://virtualbiologylab.org/. William, G. (1987). Techniques and Fieldwork in Ecology . London: Collins Educational Publishers. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2563). หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชีววิทยา เล่ม 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ตามผลการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 . กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว. บรรณานุกรม จากภาพ 7 แสดง L-P Est ซึ่งคำ�นวณจากสูตร โดยการนำ�ค่า Total Marked จากการจับครั้งที่ 1 เพื่อทำ�เครื่องหมาย และค่า Marked In Traps และ Total In Traps จากการจับครั้งที่ 2 เพื่อจับซ้ำ� ดังนี้ = = L-P Est = L-P Est = 88 ตัว ดังนั้น ขนาดของประชากรตัวโวลที่ประมาณได้ (L-P Est) มีค่าเท่ากับ 88 ตัว ซึ่งต่ำ�กว่าขนาดของประชากรจริงอยู่ 12 ตัว ทั้งนี้ สามารถชมวีดิทัศน์แสดงตัวอย่างการใช้ การทดลองเสมือนจริง โดยการสแกน QR-Code ที่ปรากฏ ผู้สอนที่สนใจนำ� Virtual Biology Lab เรื่องการทำ�เครื่องหมายและจับซ้ำ� ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน นอกจากจะตั้งค่าการใช้งานดังตัวอย่างแล้ว สามารถ กำ�หนดการตั้งค่าด้วยตนเอง โดยปรับเปลี่ยนรูปแบบการตั้งค่าต่างๆ ของประชากรตัวโวล รวมถึงการตั้งค่าจำ�นวนกับดัก ตำ�แหน่งการวางกับดัก และระยะเวลาการเปิดกับดักว่า ส่งผลต่อการประมาณขนาดของประชากร (L-P Est) ได้ใกล้เคียงกับขนาดของประชากรจริง (Actual N) หรือไม่อย่างไร รวมถึงการตั้งค่าในแบบต่างๆ เข้ากันได้กับข้อตกลงเบื้องต้น ของการประมาณขนาดของประชากรด้วยวิธีการทำ�เครื่องหมายและจับซ้ำ�เพื่อให้การ ประมาณค่ามีความเที่ยงตรงและแม่นยำ�หรือไม่ เช่น 1. ประชากรต้องเป็นประชากรแบบปิด (Close Population) ไม่มีการเกิด ไม่มีการตาย ไม่มีการอพยพเข้า และไม่มี การอพยพออก หรือไม่มีการเปลี่ยนแปลงขนาดของประชากรในระหว่างที่จับสิ่งมีชีวิตมาทำ�เครื่องหมายและจับซ้ำ�อย่างมีนัยสำ�คัญ 2. สิ่งมีชีวิตทุกตัวในประชากรมีโอกาสที่จะถูกจับเท่าๆ กัน 3. การทำ�เครื่องหมายต้องไม่ทำ�ให้สิ่งมีชีวิตมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ไม่ทำ�อันตรายแก่สิ่งมีชีวิตรวมถึง เครื่องหมายบนตัวสิ่งมีชีวิตต้องไม่ทำ�ให้สิ่งมีชีวิตนั้นเสี่ยงที่จะถูกล่าโดยผู้ล่ามากขึ้น 4. สิ่งที่นำ�มาใช้ทำ�เครื่องหมายบนสิ่งมีชีวิตต้องติดทนทานเพียงพอจนถึงการจับซ้ำ� (Recapture) 5. หลังจากทำ�เครื่องหมายแล้ว ต้องให้เวลาเพียงพอที่จะให้สิ่งมีชีวิตที่มีเครื่องหมายเข้าไปรวมกับประชากรทั้งหมดและ กระจายตัวอย่างทั่วถึงก่อนการจับซ้ำ� นอกจากนี้ ผู้สอนและผู้เรียนสามารถร่วมอภิปรายและขยายความรู้เกี่ยวกับการประมาณขนาดของประชากรสิ่งมีชีวิต เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้นและสามารถนำ�ความรู้ไปประยุกต์ใช้เมื่อศึกษาประชากรของสิ่งมีชีวิตจริงในธรรมชาติได้อย่างมี ประสิทธิภาพ (Total Marked) (L-P Est) 40 (L-P Est) 15 33 33 x 40 15 (Marked In Traps) (Total In Traps)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5