นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 240
16 นิตยสาร สสวท. โครงงานสะเต็มศึกษา กระถางรังไหมรักษ์โลก จ ากวิกฤตการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงและส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะในกลุ่มเกษตรกร ที่ได้รับผลกระทบในด้านคุณภาพและปริมาณผลผลิตลดน้อยลงเนื่องจากปริมาณน้ำ�ที่ใช้เพาะปลูกลดน้อยลงดังจะเห็นได้จาก ภาพ 1 กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์ภัยแล้งและดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร พบว่าปัญหาภัยแล้งในปัจจุบันมี แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นบ่อยกว่าในอดีต (มณฑลี กปิลกาญจน์ และนันทนิตย์ ทองศรี, 2563) วิวรรธน์ สุทะณะ เจนวิชญ์ รามางกูร เสาวนีย์ บุญบำ�รุง วิไลรัตน์ อุบลวัตร บรรณารักษ์ ตัญจพัฒน์กุล นิสิตหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รศ. ดร.ศศิเทพ ปิติพรเทพิน ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดร.ขจิต เมตตาเมธา ผู้ชำ�นาญ สาขาเทคโนโลยี สสวท. e-mail: kmett@ipst.ac.th ภาพ 1 กราฟแสดงผลของปรากฏการณ์ภัยแล้งที่มีต่อค่าดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในประเทศไทย (ดัชนี ONI : Oceanic Nino Index ใช้ชี้วัดการเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญและลานีญา) ที่มา: มณฑลี กปิลกาญจน์ และนันทนิตย์ ทองศรี (2563) วัสดุจากธรรมชาติจำ�นวนมากที่เหลือใช้จากการประกอบอาชีพหรือทำ�เกษตรกรรมมักจะถูกทิ้งไว้ไม่ได้นำ�มา ใช้ประโยชน์อะไร การทิ้งวัสดุเหลือใช้เหล่านี้ไว้อาจก่อให้เกิดปัญหาและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม วัสดุเหลือใช้ เหล่านี้ส่วนมากมีคุณสมบัติที่เป็นประโยชน์ การนำ�กลับมาใช้ใหม่จึงเป็นแนวทางที่ช่วยเพิ่มมูลค่าให้วัสดุเหล่านี้ แล้วยังช่วยลดปัญหาและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดังตัวอย่างการศึกษาการนำ�รังไหมที่คัดทิ้งมาใช้ประโยชน์ในการ พัฒนาแนวทางในการทำ�เกษตรกรรมที่ช่วยรับมือกับปัญหาภัยแล้งในบทความนี้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5