นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 240
18 นิตยสาร สสวท. ขั้นที่ 3 ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา (Solution Design) นักเรียนอภิปรายในชั้นเรียนโดยใช้ความรู้เดิมและความรู้ที่ ได้จากการสืบค้นข้อมูลในการออกแบบกระถางรังไหม โดยนักเรียนแต่ละกลุ่ม ออกแบบกระถางรังไหมของกลุ่มตนเอง เช่น กำ�หนดลักษณะของกระถาง ปริมาณของรังไหมและใยมะพร้าวที่ใช้ ขั้นตอนการผลิต และวิธีการตรวจสอบ กระถางเพื่อกำ�หนดลักษณะที่ดีของการทำ�กระถางรังไหมรักษ์โลก ได้แก่ การกักเก็บความชื้นได้ การงอกและการเจริญเติบโตของผักคะน้ามากที่สุด ขั้นที่ 4 วางแผนและดำ�เนินการแก้ปัญหา (Planning and Development) นักเรียนแต่ละกลุ่มลงมือทำ�กระถางรังไหมรักษ์โลกตามที่ ออกแบบไว้ ตัวอย่างการวางแผนและดำ�เนินการแก้ปัญหาของนักเรียน กลุ่มหนึ่ง มีดังนี้ 1. เตรียมวัสดุในการทำ�กระถาง โดยการตัดรังไหมเป็นชิ้น ตัด ใยมะพร้าวเป็นเส้น 2. นำ�น้ำ�ลอกกาวไหมผสมกับแป้ง เพื่อใช้ประสานเนื้อกระถาง 3. เตรียมเส้นใยมะพร้าวและรังไหมรวม 200 กรัม โดยมีอัตราส่วน โดยมวลในการทำ�กระถางดังนี้ - ชุดทดลองที่ 1 ใยมะพร้าว 100% (รังไหม 0%) - ชุดทดลองที่ 2 ใยมะพร้าว 75% รังไหม 25% - ชุดทดลองที่ 3 ใยมะพร้าว 50% รังไหม 50% - ชุดทดลองที่ 4 ใยมะพร้าว 25% รังไหม 75% - ชุดทดลองที่ 5 รังไหม 100% - ชุดควบคุม กระถางพลาสติก 4. คลุกวัสดุที่เตรียมไว้ให้เข้ากันโดยให้มีการกระจายตัวของวัสดุ อย่างสม่ำ�เสมอ เติมน้ำ�ลอกกาวไหมผสมแป้งที่เตรียมไว้ 5. นำ�เข้าเครื่องอัดเพื่อขึ้นรูปเป็นกระถางจนได้กระถางออกมา ดังภาพ 3 ภาพ 3 กระถางรังไหมรักษ์โลกจากวัสดุรังไหมและใยมะพร้าวในอัตราส่วนต่างๆ 6. นำ�เมล็ดคะน้าไปปลูกลงในกระถางละ 10 เมล็ด ติดตั้งอุปกรณ์ ตรวจวัดความชื้นในดินลงในกระถางแต่ละใบ สังเกตและบันทึกผล การงอกและเจริญเติบโตของคะน้าโดยวัดความสูงต้นและขนาดของใบ อาทิตย์ละครั้งเป็นระยะเวลา 1 เดือน ขั้นที่ 5 ทดสอบ ประเมินผล และปรับปรุงแก้ไขวิธีการแก้ปัญหาหรือชิ้นงาน (Testing, Evaluation and Design Improvement) นักเรียนนำ�กระถางรังไหมรักษ์โลกที่ได้สร้างขึ้นจากรังไหมและ ใยมะพร้าวในอัตราส่วนต่างๆ ไปทดสอบตามคุณลักษณะที่ได้กำ�หนดไว้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5