นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 240
ปีที่ 51 ฉบับที่ 240 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2566 19 นักเรียนนำ�ผลการทดลองที่ได้มาอภิปรายกันในกลุ่มเพื่อ พิจารณาหาแนวทางการปรับปรุงหรือพัฒนากระถางรังไหมรักษ์โลกให้ สามารถกักเก็บความชื้นได้ดีที่สุด และการงอกและการเจริญเติบโตของ ผักคะน้าได้มากที่สุดโดยครูทำ�หน้าที่ให้ข้อเสนอแนะ จากนั้นแต่ละกลุ่ม จึงนำ�ข้อเสนอที่ได้จากการอภิปรายในกลุ่มมาดำ�เนินการปรับปรุง กระถางรังไหมรักษ์โลกให้มีคุณสมบัติที่ดีขึ้นในแต่ละด้าน จากนั้น ทำ�การทดสอบตามคุณลักษณะที่ได้กำ�หนดไว้อีกครั้ง เมื่อได้ผลการทดสอบ ที่ได้จากการปรับปรุง จึงนำ�มาเปรียบเทียบกับผลการทดสอบในครั้งแรก แล้วสรุปเป็นข้อมูลของกลุ่มตัวเอง ขั้นที่ 6 การนำ�เสนอวิธีการแก้ปัญหา ผลการแก้ปัญหาหรือชิ้นงาน (Presentation) นักเรียนแต่ละกลุ่มนำ�เสนอชิ้นงานโดยอธิบายแนวทางการพัฒนา และปรับปรุงกระถางรังไหมรักษ์โลกของกลุ่มตนเองโดยใช้เวลาในการนำ�เสนอ กลุ่มละ 5 นาที หลังจากนั้น ให้นักเรียนแลกเปลี่ยน ซักถาม และอภิปราย จากนั้นนักเรียนสะท้อนความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้และออกแบบในการ พัฒนากระถางรังไหมรักษ์โลกโดยเชื่อมโยงกับความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ รวมทั้งการบูรณาการกับ วิชาต่างๆ โดยครูอธิบายเพิ่มเติมหากนักเรียนมีความคิดที่คลาดเคลื่อน บทสรุป จากการทดสอบคุณสมบัติของกระถางรังไหมรักษ์โลก ทั้งการ กักเก็บความชื้น อัตราการงอกและการเจริญเติบโตของผักคะน้า พบว่า กระถางรังไหมสามารถนำ�มาใช้ในการเพาะปลูกผักคะน้าได้เป็นอย่างดี การนำ�รังไหมและน้ำ�ลอกกาวไหมกลับมาใช้ช่วยลดของเสียที่เกิดขึ้นจาก การนำ�เส้นไหมมาใช้ประโยชน์ ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จากตัวอย่าง การจัดการเรียนรู้ตามแบบสะเต็มด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม ทำ�ให้นักเรียนรู้จักใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมมาจัดการ ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเองอย่างสร้างสรรค์ ส่งเสริมและ สร้างความตระหนักในการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่ามากที่สุด National Research Council. (2012). A framework for K-12 Science Education: practices, cross cutting concepts and core ideas. Washington, DC: The National Academies Press. ณัชฎา คงศรี. (2560). จาก MDGs สู่ SDGs เป้าหมายการพัฒนาที่เปลี่ยนไปเพื่อความยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2565, จาก https://www.sdgmove.com/2017/ 08/13/mdgstosdgs/. มณฑลี กปิลกาญจน์ และนันทนิตย์ ทองศรี. (2563). ปรับสู้แล้งเปลี่ยนแปลงยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2565, จาก https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/ articles/Pages/Article_27Feb2020.aspx. อมรรัตน์ พรหมบุญ (2558). วัสดุเหลือทิ้งมูลค่าสูงจากรังไหม. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2565, จาก http://arcbs.bsru.ac.th/journal/File64876.PDF. บรรณานุกรม ตาราง 1 การงอกและการเจริญเติบโตของต้นคะน้าที่ปลูกในกระถางรังไหมรักษ์โลกในอัตราส่วนต่าง ๆ แต่ละชุดทดลองจะค่อยๆ ลดลง โดยกระถางที่มีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง ความชื้นน้อยที่สุดคือ กระถางรังไหม 100% รองลงมาคือ รังไหม 75% รังไหม 50% ชุดควบคุม รังไหม 25% และรังไหม 0% ตามลำ�ดับ - การเจริญเติบโตของต้นคะน้าที่ปลูกในกระถางรังไหมรักษ์โลก ในอัตราส่วนต่างๆ โดยพิจารณาจาก อัตราการงอก ความสูงเฉลี่ย ขนาดใบ และน้ำ�หนักต่อต้น ได้ผลดังตาราง 1 จากนั้นทำ�การรวบรวมผลการทดสอบและนำ�ข้อมูลมาเปรียบเทียบผล การทดสอบแต่ละด้านดังนี้ - ประสิทธิภาพการกักเก็บความชื้นของกระถาง นักเรียนทดสอบ โดยใช้อุปกรณ์ตรวจสอบความชื้นในดินจากบอร์ด Arduino UNO R3 เซ็นเซอร์วัดความชื้นในดิน และโมดูล Micro SD Card โดยการเขียนคำ�สั่ง ให้อุปกรณ์ทำ�งานและบันทึกค่าความชื้นในดินทุกๆ 15 นาที เป็นเวลาต่อเนื่อง อย่างน้อย 24 ชั่วโมง พบว่าการเปลี่ยนแปลงความชื้นในดินของกระถาง ชุดทดลอง อัตราการงอก ความสูงเฉลี่ย (เซนติเมตร) ขนาดใบเฉลี่ย (เซนติเมตรxเซนติเมตร) กระถางพลาสติก กระถางรังไหม 0% กระถางรังไหม 25% กระถางรังไหม 50% กระถางรังไหม 75% กระถางรังไหม 100% 60% 90% 90% 90% 90% 90% 60% 90% 90% 90% 90% 90% 1.82 x 2.02 1.62 x 2.53 2.77 x 3.93 4.95 x 5.05 5.02 x 6.28 5.20 x 6.72
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5