นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 240
34 นิตยสาร สสวท. ภาพ 1 ความสัมพันธ์ระหว่าง AI, ML และ DL ประยุกต์จาก Rozlosnik (2020) และ Breuner (2020)ิ ต ปั ญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Artificial Intelligence) ล้วนเป็นส่วนหนึ่ง ของโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ในปัจจุบันและเป็นส่วนสำ�คัญในการ พัฒนานวัตกรรม ความตื่นตัวด้าน AI สำ�หรับประเทศกำ�ลังพัฒนา ทำ�ให้เกิดคำ�ถามว่า 1) ควรเตรียมบริบทต่างๆ รองรับ AI แล้วจึงพัฒนา ทักษะ AI หรือ 2) ควรพัฒนาทักษะ AI ก่อนเป็นอันดับแรก แล้วค่อย พัฒนาบริบทรองรับอื่นๆ และอีกหลายคำ�ถามเกี่ยวกับ AI อันนำ�ไปสู่ ความตื่นตัวในการเตรียมพร้อมของเยาวชนแต่ละประเทศให้มีความสามารถ ใช้งาน AI ที่จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในทุกๆ กิจกรรมของมนุษย์ในอนาคต ยูเนสโก (2019) อธิบายในเอกสาร “Artificial Intelligence in Education: Challenges and Opportunities for Sustainable Development” ว่า การพัฒนาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนด้วย AI ล้วนมีภาคส่วน ด้านการศึกษาเข้ามาเกี่ยวข้องทั้งในบทบาทของผู้บริโภคและผู้ปฏิบัติ การศึกษาจึงกลายเป็นตัวแปรสำ�คัญของการขับเคลื่อนกลยุทธ์เพื่อพัฒนา AI ในระดับชาติของแต่ละประเทศ ตั้งแต่การเปิดตัวหรือเรียกว่าการแจ้งเกิด ของ AI ครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1956 ในการประชุม Dartmouth ส่งผลให้ เกิดความสนใจเกี่ยวกับ AI ต่อเนื่องในภาคอุตสาหกรรมในเวลาต่อมา จนถึงปัจจุบัน ขณะเดียวกัน AI ได้พลิกโฉมเทคโนโลยีภายในระยะเวลา อันรวดเร็วเกี่ยวเนื่องไปถึงบิ๊กดาต้า (Big Data) การใช้คอมพิวเตอร์ใน ระบบเศรษฐกิจ และความก้าวหน้าของการเรียนรู้ด้วยจักรกล (Machine Learning, ML) เพียงไม่กี่ปีหลังการแจ้งเกิดของ AI ก็ตามมาด้วยความสนใจ ใน Machine Learning โดย Arthur Samuel อธิบาย Machine Learning ไว้ว่า “คือคอมพิวเตอร์เรียนรู้ได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องเขียนโปรแกรมกำ�กับ ชัดเจน (Explicitly Programmed)” อธิบายเพิ่มเติมได้ว่าการเรียนรู้ด้วย จักรกลเป็นเสมือนทางลัดเพื่อลดขั้นตอนการทำ�งานให้ AI นั่นเอง การพัฒนา ของ AI ยังไม่หยุดเพียงแค่นั้นยังคงต่อเนื่องไปสู่ การเรียนรู้เชิงลึก หรือ Deep Learning (DL) ซึ่งเป็นอีกแขนงที่แตกย่อยมาจากการเรียนรู้ ด้วยจักรกล กล่าวได้ว่าการเรียนรู้เชิงลึกเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลในระบบ คอมพิวเตอร์แบบจำ�ลองการประมวลผลของสมองมนุษย์ด้วยเครือข่าย เซลล์ประสาท (Neural Networks) นั่นเอง ความสัมพันธ์ระหว่าง AI การเรียนรู้ด้วยจักรกล (ML) และการเรียนรู้เชิงลึก (DL) อธิบายได้ ดังภาพ 1 เป็นที่ทราบกันดีว่ายุค Digital Disruption จะเกิดการ เปลี่ยนแปลงขึ้นโดยเป็นผลมาจากนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่ง การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลกับทุกภาคส่วนในยุคปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น ภาคอุตสาหกรรม การศึกษา การเงิน ภาคธุรกิจ และอื่นๆ ทำ�ให้เกิด การปรับตัวเพื่อเตรียมความพร้อมของทุกภาคส่วนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยอาศัยการใช้เทคโนโลยีต่างๆ ได้แก่ เทคโนโลยีในการสื่อสาร คลาวด์ (Cloud) บิ๊กดาต้า หุ่นยนต์ การเรียนรู้ด้วยจักรกล AI และอื่นๆ เข้ามาช่วย การให้ความสำ�คัญโดยพึ่งพาแค่เทคโนโลยีนั้น ไม่เพียงพอที่จะขับเคลื่อน ให้เกิดการพัฒนา จึงต้องดำ�เนินการควบคู่กับการเตรียมความพร้อมให้แก่ ทรัพยากรมนุษย์ โดยเน้นด้านทักษะ ความเข้าใจ การรู้เท่าทัน AI ให้แก่ สมาชิกในสังคม โดยเฉพาะการเตรียมความพร้อมแก่กลุ่มประชากรวัย เด็กเพื่อให้เติบโตเป็นประชากรคุณภาพของประเทศ มีความเท่าทันและ พร้อมใช้ชีวิตท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี รวมทั้งเพื่อส่งเสริม ให้เด็กมีการพัฒนาสู่ความเชี่ยวชาญและอาชีพที่เกี่ยวข้องกับ AI สำ�หรับ ประเทศไทยพบว่าผลสำ�รวจของสำ�นักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ DEPA (Digital Economy Promotion Agency) กล่าวถึงสายงาน ด้านดิจิทัลที่มีความต้องการคนทำ�งานไอที จำ�นวน 100,000 คนต่อปี ซึ่งประเทศไทยประสบปัญหาขาดแคลนบุคลากรด้านนี้ ดังนั้น การส่งเสริม ทักษะด้าน AI จะช่วยเพิ่มความสามารถด้านไอทีและการใช้เทคโนโลยี ให้ประชากรไทยที่กำ�ลังจะเติบโตสู่วัยทำ�งาน สร้างโอกาสในการจ้างงาน สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ของสหประชาชาติเป้าหมายที่ 4 กล่าวคือ “สร้าง หลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต” ซึ่งเทคโนโลยี AI ถูกนำ�มาใช้ เป็นเครื่องมือให้เกิดการเข้าถึงและแผ่ขยายการศึกษาเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ในข้อนี้ อนาคตประเทศไทยมีแนวโน้มว่าเทคโนโลยี AI จะค่อยๆ บูรณาการ สู่ระบบการเรียนการสอนมากขึ้น แต่ด้วยข้อจำ�กัดเรื่องทรัพยากรสำ�หรับ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5