นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 240

ปีที่ 51 ฉบับที่ 240 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2566 37 ภาพ 5 Flow เปรียบเทียบการทำ�งานคำ�สั่งแสดงภาพหลายภาพจาก Image Slide บนโปรแกรมแบบไม่มีคำ�สั่ง Delay (บน) และมีคำ�สั่ง Delay (ล่าง) บทสรุป การใช้แพลตฟอร์ม CiRA CORE เป็นสื่อการเรียนรู้ AI สำ�หรับนักเรียนควรประกอบด้วยสื่อพื้นฐานที่สำ�คัญ ได้แก่ โน้ตบุ๊ก คอมพิวเตอร์จำ�นวนเพียงพอกับผู้เรียนและกล้องเว็บแคม จากการจัดอบรม ครั้งนี้พบว่า แพลตฟอร์ม CiRA CORE เป็นโปรแกรมเรียนรู้ AI ที่ถูก ออกแบบมาสำ�หรับให้เรียนรู้ได้ง่าย นักเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของโครงการสามารถเข้าใจและทำ�โจทย์ตามที่วิทยากรกำ�หนดได้ นักเรียน บางคนสามารถประยุกต์คำ�สั่งในโปรแกรมไปสู่การใช้งานง่ายๆ ได้เอง เช่น การจับภาพและจำ�แนกภาพ CiRA CORE เป็นโปรแกรมที่ไม่ต้องใช้ อุปกรณ์เชื่อมต่อสำ�หรับการเรียนรู้ในเบื้องต้น จึงเหมาะสมกับโรงเรียน ที่ยังไม่พร้อมด้านงบประมาณในการซื้ออุปกรณ์เสริมการเรียนรู้คอมพิวเตอร์ และการติดตั้งโปรแกรมไม่จำ�เป็นต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในการติดตั้งและ ระหว่างใช้งานโปรแกรม นอกจากนั้น ผู้เขียนพบว่าแพลตฟอร์ม CiRA CORE สนับสนุนการจัดการเรียนรู้ AI ให้แก่เยาวชนไทย ซึ่งเป็นโปรแกรม ที่เหมาะกับการเรียนรู้ตั้งแต่ระดับเริ่มต้นไปจนถึงการใช้งานแบบประยุกต์ ผู้เรียนจะได้ฝึกทักษะ Deep learning กับ AI ผ่านการฝึกฝนให้ AI เรียนรู้ จดจำ� และจำ�แนกภาพ เชื่อมโยงไปสู่เทคโนโลยี AI ใกล้ตัว อาทิ ระบบจดจำ�ใบหน้าในโทรศัพท์มือถือ การสืบค้นและจำ�แนกภาพต่างๆ บน Google เช่น การระบุชนิดของดอกไม้ การจำ�แนกสถานที่ต่างๆ การขอใช้แพลตฟอร์ม CiRA CORE ผู้สอนสามารถทำ�ได้สะดวกโดย มีขั้นตอนและการดาวน์โหลดโปรแกรมจาก https://git.cira-lab.com/ cira/cira-core-sdk และสามารถศึกษาข้อมูลเบื้องต้นได้จาก http://tinyurl. com/cira-core-training2020 หรือแลกเปลี่ยนปรึกษาข้อมูลต่างๆ ได้ทาง Facebook “CiRA CORE : Community” สุดท้ายนี้ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่ง ว่าบทความแบ่งปันประสบการณ์การใช้สื่อแพลตฟอร์ม CiRA CORE ในการสอนทักษะด้าน AI เบื้องต้นจะเป็นประโยชน์ต่อผู้สอนหรือผู้กำ�ลัง สนใจเครื่องมือหรือสื่อสำ�หรับจัดการสอนในห้องเรียนดิจิทัล รวมทั้งผู้สอน ที่กำ�ลังเริ่มวางแผนการสอน AI ในขณะนี้ Breuner, S. (2020). Optimizing AI and Deep Learning Performance. Retrieved January 5, 2023, from https://www.datanami.com/2020/11/26/optimizing-ai- and-deep-learning-performance/. Rigby, C. (2016). ‘How Software that Learns as It Teaches is Upgrading Brazilian Education’. The Guardian . Retrieved December 25, 2022, from https://www.theguardian.com/technology/2016/jan/10/geekie-educational-software-brazil-machinelearning. Rozlosnik, A.E. (2020). Reimagining Infrared Industry with Artificial Intelligence and LoT /IIoT (Conference Presentation). Retrieved January 5, 2023, from https://www.researchgate.net/publication/340959455_Reimagining_infrared_industry_with_artificial_intelligence_and_IoT_IIoT_Conference_Presentation. Unesco (2019). Artificial Intelligence in Education: challenges and opportunities for sustainable development. Working Papers on Education Policy, Education 2030, UNESCO Education Sector. XPrize Global Learning. RoboTutor. Retrieved December 25, 2022, from http://www.xprize.org/prizes/ global-learning/teams/robotutor. บรรณานุกรม

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5