นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 240
38 นิตยสาร สสวท. ธาฤชร ประสพลาภ ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ e-mail: Tharuesean.Pr@ku.th ดร.กรกนก เลิศเดชาภัทร อาจารย์ ประจำ�ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย e-mail: Kornkanok.L@chula.ac.th ดร.วชิร ศรีคุ้ม รักษาการผู้อำ�นวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคลและพัฒนาองค์กร สสวท. e-mail: wsrik@ipst.ac.th เทมเพลตในการออกแบบ ประสบการณ์การเรียนรู้ ตามแนวทางสะเต็มศึกษา The Template for Designing STEM Experiences สะเต็มศึกษาเริ่มได้รับความสนใจในแวดวงการศึกษาของไทยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 (สถาบันส่งเสริมการสอน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี [สสวท.], 2565) ผ่านการส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในมุมมองและวิธีการในการ จัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยเปลี่ยนแปลงจากการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นความเข้าใจในเนื้อหาเป็นสำ�คัญ ไปสู่ การเน้นการประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และด้านต่างๆ ในการแก้ปัญหา (Vasquez et al., 2013) แม้ว่าจะมีความตื่นตัวจากระดับนโยบาย (Policy Level) สู่ระดับปฏิบัติการ (Practitioner Level) แต่หลังจาก การดำ�เนินการมาระยะหนึ่งพบว่าผู้สอนบางส่วนมีอุปสรรคในการออกแบบกิจกรรมสะเต็ม หรือการกำ�หนด สถานการณ์สะเต็มให้สอดคล้องกับการใช้ความรู้ร่วมกับการใช้ทักษะการทำ�งานและคุณลักษณะที่ช่วยในการ แก้ปัญหาได้อย่างประสบผลสำ�เร็จ (Faikhamta et al., 2020) ง านวิจัยทั้งในระดับชาติและนานาชาติให้ความสำ�คัญกับการศึกษา มิติทางสะเต็มศึกษาอย่างหลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในบริบท ของการพัฒนาวิชาชีพครูดังจะเห็นได้จากภาพ 1 ผู้เขียนคัดเลือก งานวิจัยที่ศึกษาประเด็นที่ยังเป็นที่ถกเถียงกันในแวดวงวิทยาศาสตร์ศึกษา เช่น กรอบแนวคิดลักษณะสำ�คัญของสะเต็มศึกษา (Roehrig et al., 2021; กรกนก เลิศเดชาภัทร และ ชาตรี ฝ่ายคำ�ตา, 2564; สุทธิดา จำ�รัส, 2560) แนวทางการพัฒนารายวิชาวิธีวิทยาการสอนสะเต็ม (Pimthong & Williams, 2021) และกรอบแนวคิดสมรรถนะสำ�คัญของผู้สอนในการจัดการเรียนรู้ตาม แนวทางสะเต็มศึกษา (Hanuscin, Cisterna, & Lipsitz, 2018; Srikoom, Hanuscin, & Faikhamta, 2018; Faikhamta, Lertdechapat, & Prasoplarb, 2020) จะให้เห็นว่าหลายงานวิจัยได้นำ�เสนอการจัดการเรียนรู้ สะเต็มศึกษาในมิติด้านต่างๆ หากเราสามารถนำ�องค์ประกอบด้านต่างๆ มาประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถออกแบบและพัฒนากิจกรรม การเรียนรู้สะเต็มศึกษาได้นั้นก็จะเกิดประโยชน์อย่างมาก ดังนั้น ผู้เขียน จึงได้รวบรวมทั้งองค์ความรู้และประสบการณ์ในการสร้างเครื่องมือ การออกแบบกิจกรรมสะเต็มที่มีความจำ�เพาะกับบริบทของการจัดการเรียนรู้ สะเต็มศึกษาที่หลากหลายมุมมอง ภาพจาก : https://www.augusta.edu/pamplin/music/conservatory/
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5