นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 240
ปีที่ 51 ฉบับที่ 240 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2566 39 ในทัศนะของผู้เขียนการออกแบบประสบการณ์สะเต็มศึกษาที่มี ความหมายต่อผู้เรียนเปรียบเสมือนการรวมวงดนตรีที่มีเครื่องดนตรี หลายชิ้นเล่นบรรเลงดนตรีอย่างพร้อมเพรียงกันจนกลายเป็นเพลงที่ไพเราะ นักดนตรีที่มีเทคนิคการบรรเลงดนตรีเพียงอย่างเดียวแต่ไม่สามารถเล่น ให้เข้ากับผู้อื่นได้อาจจะทำ�ให้การบรรเลงดนตรีในวงขาดความไพเราะ ในทำ�นองเดียวกัน หากผู้สอนสะเต็มศึกษาไม่สามารถออกแบบประสบการณ์ ที่ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจและประยุกต์การทำ�งานด้านสะเต็มในชีวิตประจำ�วันได้ ก็อาจไม่ต่างไปจากผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านสะเต็ม แต่ไม่สามารถ ถ่ายทอดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความหมาย จากประสบการณ์ในบทบาทที่เป็นนักพัฒนาวิชาชีพครู พบว่า การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาสามารถส่งเสริมให้ผู้เรียนนำ� สมรรถนะที่สำ�คัญและจำ�เป็นไปใช้ในการดำ�รงชีวิตได้นั้นเป็นความท้าทาย ประการหนึ่งของผู้สอน ผู้เขียนสรุปข้อสังเกตของปัญหาที่ผู้สอนพบในการ ออกแบบกิจกรรมสะเต็ม แนวทางการแก้ปัญหาดังกล่าวตามมุมมองผู้พัฒนา วิชาชีพครู และแนวทางการพัฒนาและใช้เครื่องมือเพื่อช่วยในการออกแบบ กิจกรรมสะเต็มดังภาพ 2 ภาพ 1 ความรู้ที่ได้จากการวิจัยสู่ความสามารถในการออกแบบประสบการณ์สะเต็ม ภาพ 2 ความเห็นเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือเพื่อช่วยออกแบบกิจกรรมสะเต็มจากผู้พัฒนาวิชาชีพครูสะเต็ม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5