นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 240

ปีที่ 51 ฉบับที่ 240 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2566 43 ตาราง 2 แสดงขั้นตอนหลักในการทำ�งานสะเต็มและมุมมองที่แตกต่างของวิชา เทมเพลตแสดงขั้นตอนหลัก ในการทำ�งานสะเต็ม มุมมองวิทยาศาสตร์ ตัวอย่างการระบุรายละเอียดในเทมเพลต มุมมองนาฏศิลป์ ระยะที่ 2 การท้าทายผู้เรียน มีเป้าหมายเพื่อระดมความคิด ในการออกแบบแนวทางการแก้ปัญหาที่เป็นไปได้ พิจารณาข้อดีและข้อจำ�กัดของแนวทางที่ระบุ ระยะที่ 3 การพัฒนานวัตกรรม มีเป้าหมายเพื่อเลือก วิธีการแก้ปัญหาที่เป็นไปได้มากที่สุดเพียง วิธีเดียว และสามารถดำ�เนินการได้ด้วยผู้เรียนเอง ในบริบทจริง ระยะที่ 4 การยกระดับชุมชนหรือสร้างสรรค์สังคม มีเป้าหมายเพื่อถ่ายทอดแนวทางการแก้ปัญหา ที่ใช้งานได้จริงสู่การใช้งานในชุมชน ผู้เรียนระดมความคิดแนวทางที่เป็นไปได้ในการ ขจัดของเหลวปริศนา เช่น วิธีการทำ�ความสะอาด พื้นผิวที่เปื้อนของเหลวปริศนา วิธีการดูดซับ ของเหลว ผู้เรียนเลือกวิธีการแก้ปัญหาเพื่อขจัดของเหลว ปริศนาบนพื้นผิว โดยพัฒนา ทดสอบ และ ปรับปรุงตัวดูดซับที่มีลักษณะเป็นวัสดุผสม (Composite Materials) ที่มีความเป็นไปได้ ในการแก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ยังเป็นโอกาสสำ�หรับการทำ�งานร่วมกัน ของผู้สอนที่มีความเชี่ยวชาญที่แตกต่างกัน มาร่วมกันให้ข้อสังเกตแก่ผู้เรียนเพื่อพัฒนา ชิ้นงานดังกล่าว ผู้เรียนนำ�เสนอตัวอย่างชิ้นงานและขั้นตอน การพัฒนาชิ้นงานให้กับสมาชิกในห้องเรียน โรงเรียน และชุมชน เพื่อเปิดโอกาสให้ชิ้นงานที่ นักเรียนพัฒนาขึ้นสามารถนำ�ไปใช้แก้ปัญหา ได้จริง และมีความจำ�เพาะกับบริบทนั้น ๆ ผู้เรียนระดมความคิดแนวทางที่เป็นไปได้ในการ ปรับความเข้าใจให้ตรงกับปัญหาและสาเหตุของ ปัญหาที่เกิดขึ้นโดยใช้หลักฐานมาสนับสนุน เช่น การประชาสัมพันธ์ผ่านเสียงตามสาย การแจกแผ่นพับที่มีการนำ�เสนอหลักฐานและ เหตุผลเพื่อโน้มน้าวให้เปลี่ยนแปลงความเชื่อ ผู้เรียนเลือกวิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสมที่สุด เพียง 1 วิธี ที่จะสามารถช่วยส่งเสริมความเข้าใจ ที่ถูกต้องอย่างเป็นเหตุเป็นผลให้กับชาวบ้าน หรือกลุ่มเป้าหมายที่ประสบปัญหาในระยะที่ 1 ข้างต้น โดยเลือกจากผลการระดมความคิด ในระยะที่ 2 จากนั้นพัฒนาหรือดำ�เนินการ ตามวิธีการที่เลือกไว้ให้สอดคล้องและเหมาะสม กับกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด ผู้เรียนนำ�เสนอปัญหา สาเหตุของปัญหา และ วิธีการแก้ปัญหาให้กับเป้าหมายเพื่อลดความเชื่อ แบบไม่มีเหตุผลลงและปรับความเข้าใจให้ สอดคล้องกับหลักฐาน เครื่องมือที่ 3 (เทมเพลตที่ 3) ส่งเสริมการออกแบบสะเต็มผ่านมุมมอง ลักษณะสำ�คัญของกิจกรรมสะเต็มศึกษา แนวคิดของการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง สะเต็มศึกษา ซึ่งผู้สอนส่วนใหญ่อาจรู้สึกไม่มั่นใจว่าแผนของตนเองที่ ออกแบบเป็นสะเต็มแล้วหรือไม่ หากยังไม่เป็นจะปรับปรุงอย่างไรดังภาพ 6 นอกจากจะช่วยผู้สอนในการกำ�หนดหรือออกแบบกิจกรรมสะเต็มแล้วยัง แสดงองค์ประกอบสำ�คัญให้เห็นภาพรวมทั้ง 5 ส่วน พร้อมทั้งรายการ ตรวจสอบด้วยตนเองเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างแต่ละองค์ประกอบ ซึ่ง อธิบายรายละเอียดได้ตาราง 3 ภาพ 6 ตัวอย่างการใช้เทมเพลตเพื่อส่งเสริมการออกแบบสะเต็มผ่านมุมมองลักษณะสำ�คัญของกิจกรรมสะเต็มศึกษา

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5