นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 240
ปีที่ 51 ฉบับที่ 240 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2566 47 สยามชัย สุกใส นักวิชาการ สาขาเทคโนโลยี สสวท. e-mail: ssuks@ipst.ac.th สนุกกับกิจกรรม ร้อนก็เป็นเย็นก็ได้ และ กระบวนการออกแบบ เชิงวิศวกรรม เวลาหลายปีที่ผ่านมาครูและนักการศึกษาจากหลายสถาบันทั่วประเทศได้นำ� “กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม (Engineering Design Process หรือเรียกย่อๆ ว่า EDP)” ไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในห้องเรียน ตัวอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีการสอดแทรก EDP เช่น สะเต็มศึกษา (STEM Education) สตีมศึกษา (STEAM Education) สะเต็มยกกำ�ลังสอง (STEM 2 ) ซึ่งอาจมีการบูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่ม นอกจากนี้ EDP ยังเป็นหัวข้อหนึ่งของรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิชาเทคโนโลยี (การออกแบบ และเทคโนโลยี) ระดับมัธยมศึกษา ตามมาตรฐานและตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 อีกด้วย ส ถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ให้ความหมายของ EDP ว่า “เป็นกระบวนการแก้ปัญหาหรือ พัฒนางานเพื่อช่วยสร้างแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาหรือ สนองความต้องการอย่างเป็นขั้นตอน ซึ่งประกอบไปด้วย การระบุปัญหา การรวบรวมข้อมูล การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา การดำ�เนินการแก้ปัญหา การทดสอบ ประเมินผลและปรับปรุงแก้ไข และการนำ�เสนอผลการแก้ปัญหา หรือชิ้นงาน โดยในการแก้ปัญหาตาม EDP นั้น อาจย้อนกลับไปทำ� ขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งได้ หรืออาจมีการทำ�งานซ้ำ�ในบางขั้นตอนหาก ต้องการพัฒนาหรือปรับปรุงให้ดีขึ้น” ดังภาพ 1 อย่างไรก็ตาม การออกแบบกิจกรรมที่มีการใช้ EDP มีความท้าทาย หลายประการ เช่น การสร้างสถานการณ์ปัญหาให้เชื่อมโยงกับชีวิตจริง และดึงดูดความสนใจของผู้เรียน การบูรณาการความรู้จากศาสตร์ต่างๆ การจัดเตรียมอุปกรณ์ให้มีความหลากหลาย รวมทั้งวิธีการวัดและประเมิน ภาพจาก : https://www.ntc.edu/academics-training/programs/all/associ- ate-degree/mechanical-design-engineering-technology/courses ภาพ 1 กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5