นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 240

48 นิตยสาร สสวท. ผลการแก้ปัญหา ท่ามกลางความท้าทายดังกล่าวจึงได้มีการพัฒนากิจกรรม “ร้อนก็เป็นเย็นก็ได้” มาเป็นตัวอย่างกิจกรรมที่ใช้ EDP เป็นส่วนหนึ่ง ในการจัดการเรียนรู้สำ�หรับผู้เรียน โดยวัตถุประสงค์ของกิจกรรมได้แก่ อธิบายการแก้ปัญหา และสร้างชิ้นงานโดยใช้ EDP ในการแก้ปัญหาตาม สถานการณ์ที่กำ�หนดได้อย่างสร้างสรรค์ นอกจากนี้ ยังเป็นการฝึกสมรรถนะ ที่สำ�คัญของผู้เรียน เช่น ความสามารถในการคิด ความสามารถในการ สื่อสาร ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีผ่านการทำ�กิจกรรม สถานการณ์ปัญหาของกิจกรรมร้อนก็เป็นเย็นก็ได้ “ท่านและเพื่อนในกลุ่มเป็นอาสาสมัครจากหน่วยงาน สหประชาชาติที่กำ�ลังเดินทางโดยรถยนต์เพื่อนำ�วัคซีนไปใช้ป้องกันโรค ซึ่งกำ�ลังระบาดในหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่อยู่ห่างไกลในป่า วัคซีนชนิดนี้ต้อง เก็บรักษาในช่วงอุณหภูมิ 0 - 8 องศาเซลเซียส ในขณะเดินทางพบเส้นทาง ที่รถยนต์ไม่สามารถเข้าไปได้ จำ�เป็นต้องเดินเท้าต่อไปเป็นระยะเวลา ประมาณ 30 นาทีเพื่อทำ�ภารกิจให้สำ�เร็จ และระหว่างทางมีสิ่งกีดขวางที่มี ความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร จำ�นวน 20 จุด ทั้งนี้ ยังสามารถหาวัสดุ และอุปกรณ์บางอย่างภายในรถได้แต่มีจำ�นวนจำ�กัด ท่านจะมีวิธีการอย่างไร ในการนำ�วัคซีนไปให้ถึงหมู่บ้านโดยไม่ต้องใช้มือจับขวดวัคซีนหรือภาชนะ บรรจุ และวัคซีนต้องอยู่ในสภาพเดิมหรือใกล้เคียงสภาพเดิมมากที่สุด” จากสถานการณ์ดังกล่าว ผู้เรียนนำ� EDP มาใช้แก้ปัญหาโดย วิเคราะห์เงื่อนไข ข้อจำ�กัดต่างๆ ในการส่งวัคซีนไปให้ถึงหมู่บ้านโดยศึกษา และสืบค้นข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น วัสดุและสมบัติของวัสดุ การถ่ายโอน ความร้อน การเปลี่ยนสถานะของสาร วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำ�กิจกรรม • ขวดแก้วขนาด 10 มิลลิลิตร พร้อมฝา • น้ำ�อัดลมสีแดง (สมมุติเป็นวัคซีน) • กระดาษขาว • กระดาษแข็ง • กระดาษลูกฟูก • แผ่นฟอยล์ • พลาสติกใส • เกลือ • น้ำ�แข็ง • เครื่องมือและอุปกรณ์สำ�หรับตัด ต่อ และยึด วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดสอบ • โคมไฟและหลอดไส้ 100 วัตต์ • เทอร์มอมิเตอร์สเกล -10 ถึง 100 องศาเซลเซียส ขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรม ก่อนเริ่มปฏิบัติกิจกรรมร้อนก็เป็นเย็นก็ได้ ผู้สอนบรรจุน้ำ�อัดลม สีแดงในขวดแก้วเพื่อสมมติเป็นวัคซีน และเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 0 - 8 องศาเซลเซียส กิจกรรมนี้อาจแบ่งเป็นขั้นตอนหลักๆ ได้ 3 ขั้น ได้แก่ ขั้นนำ� ขั้นสอน และขั้นสรุป แต่ผู้สอนสามารถรวบหรือขยายขั้นตอนต่างๆ ได้ตามบริบท และความเหมาะสม ดังต่อไปนี้ ขั้นนำ� 1. แบ่งกลุ่มผู้เรียนกลุ่มละ 4 - 5 คน จากนั้นผู้สอนยกตัวอย่าง สถานการณ์ปัญหาที่พบในชีวิตประจำ�วัน เช่น ถ้าผู้เรียนต้องการขนส่ง เครื่องดื่มเย็นๆ จากโรงเรียนถึงสนามฟุตบอลระยะทาง 10 กิโลเมตร เพื่อไปให้นักกีฬาจำ�นวน 25 คน ให้ทันในระหว่างการแข่งขัน ผู้เรียนจะ เสนอแนวทางการแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างไร และอภิปรายวิธีการแก้ปัญหา เหล่านั้นร่วมกัน 2. ผู้เรียนศึกษาและสืบค้นเกี่ยวกับกระบวนการแก้ปัญหาต่างๆ ที่เคยใช้ในชีวิตประจำ�วันว่าแก้ปัญหาได้อย่างไรบ้าง จากนั้นศึกษาและ สืบค้นเกี่ยวกับกระบวนการแก้ปัญหาแบบ EDP โดยผู้เรียนอภิปรายร่วมกัน ถึงแนวทางการแก้ปัญหาในข้อ 1 โดยใช้ EDP ขั้นสอน 3. ผู้เรียนศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาของกิจกรรม ร้อนก็เป็นเย็นก็ได้ จากนั้นผู้สอนอธิบายเกณฑ์การทดสอบ และเกณฑ์ การประเมินผลการแก้ปัญหา (หรือชิ้นงาน) ได้แก่ • ชิ้นงานที่สร้างขึ้นมาต้องสามารถพกพาไปกับตัวได้โดยไม่ใช้ มือหรือแขนถือหรือประคองชิ้นงาน • ผู้พกพาชิ้นงานต้องกระโดดข้ามสิ่งกีดขวางที่มีความสูง ประมาณ 30 เซนติเมตร จำ�นวน 20 ครั้ง โดยชิ้นงานไม่เสียหาย เช่น ฉีกขาด รั่ว • ชิ้นงานที่สร้างขึ้นมาต้องสามารถควบคุมอุณหภูมิของวัคซีน ในขวดให้อยู่ในช่วง 0 - 8 องศาเซลเซียส โดยวางภายใต้โคมไฟ 100 วัตต์ นาน 30 นาที 4. ผู้เรียนรวบรวมข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหา ของกิจกรรม โดยศึกษาและสืบค้นข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม เช่น ประเภทและสมบัติของวัสดุที่กำ�หนดให้ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ (ชิ้นงาน) ให้รองรับแรงกระแทกและสามารถพกพาได้ 5. ผู้เรียนออกแบบวิธีการแก้ปัญหาร่วมกันภายในกลุ่มโดย ร่างภาพวิธีการแก้ปัญหาลงบนกระดาษปรู๊พ

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5