นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 240

50 นิตยสาร สสวท. • เพราะเหตุใดขวดวัคซีนจึงแตกได้ • แสงไฟจากโคมไฟมีผลต่ออุณหภูมิของวัคซีนในขวดอย่างไร • EDP ช่วยในการแก้ปัญหาได้อย่างไร การวัดและประเมินผล การวัดและประเมินผลกิจกรรมร้อนก็เป็นเย็นก็ได้ ใช้ทั้งแบบ การประเมินการเรียนรู้ระหว่างเรียน (Formative Assessment) โดยใช้ คำ�ถามกระตุ้นการเรียนรู้ การสังเกตพฤติกรรม และการประเมินการเรียนรู้ สรุปรวม (Summative Assessment) โดยประเมินจากเกณฑ์คุณภาพ (Rubrics) รายการตรวจสอบ (Checklist) นอกจากนี้ ผู้เรียนสามารถนำ�เสนอ แนวทางการประเมินแบบอื่นๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพวิธีการแก้ปัญหาได้ ข้อเสนอแนะ หากมีเวลาเหลือ ผู้สอนอาจเพิ่มความท้าทายของกิจกรรมนี้ได้ โดยวิธีการดังต่อไปนี้ • เปลี่ยน เพิ่ม หรือลดวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้สร้างชิ้นงานเพื่อ การศึกษาและเปรียบเทียบสมบัติวัสดุที่แตกต่างกัน • เพิ่มการกำ�หนดราคาวัสดุอุปกรณ์แต่ละชนิดเพื่อศึกษาและ เปรียบเทียบเรื่องต้นทุนในการสร้างชิ้นงาน • เพิ่มขั้นตอนการปรับปรุงแก้ไขชิ้นงาน โดยนำ�เสนอภาพร่าง สิ่งที่ต้องการปรับปรุงแก้ไข รวมทั้งเพิ่มขั้นตอนการทดสอบชิ้นงานอีกครั้ง • เปลี่ยนสถานการณ์ปัญหาเพื่อให้สามารถเก็บรักษาวัคซีน หรือสารอื่นๆ ได้ทั้งที่อุณหภูมิสูง และ/หรือที่อุณหภูมิต่ำ� กิจกรรมร้อนก็เป็นเย็นก็ได้ เน้นสถานการณ์ปัญหาที่ใกล้ตัว เชื่อมโยงกับบริบทในชีวิตจริง โดยผู้เรียนได้ความรู้เกี่ยวกับประเภทและ สมบัติของวัสดุ การถ่ายโอนความร้อน การเปลี่ยนแปลงสถานะและ อุณหภูมิของสาร การแก้ปัญหาและการสร้างชิ้นงานตามสถานการณ์ที่กำ�หนด ได้อย่างสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม นอกจากนี้ ยังได้ฝึกสมรรถนะที่สำ�คัญของผู้เรียน เช่น ความสามารถในการคิด ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถ ในการใช้ทักษะชีวิต ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ผู้เขียนขอขอบคุณทีมวิทยากรทุกท่านในการประชุมปฏิบัติการ การพัฒนาวิทยากรแกนนำ�วิชาการออกแบบและเทคโนโลยี และโครงการ พัฒนาครูเครือข่ายวิชาการครู สควค. ที่ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนากิจกรรมนี้ และขอขอบคุณครูผู้เข้ารับการอบรมทุกท่าน 8. ผู้เรียนนำ�เสนอผลการแก้ปัญหา ดังตัวอย่างประเด็นต่างๆ ต่อไปนี้ • ประเด็นในการสืบค้นข้อมูลเพื่อแก้ปัญหา • แนวคิดในการออกแบบและสร้างชิ้นงาน • ผลการแก้ปัญหา • ปัญหาและอุปสรรค 9. ผู้เรียนแต่ละคนให้คะแนนกลุ่มที่คิดว่าแก้ปัญหาได้อย่าง เหมาะสมที่สุด ขั้นสรุป 10. ผู้เรียนและผู้สอนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับวิธีการแก้ปัญหาของ แต่ละกลุ่ม และอภิปรายปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น รวมทั้งแนวทางการ ปรับปรุงแก้ไข ในระหว่างการทำ�กิจกรรม ผู้สอนสามารถใช้ตัวอย่างคำ�ถามต่อไปนี้เพื่อ กระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียน • สถานการณ์ปัญหานี้มีเงื่อนไขหรือข้อจำ�กัดอะไรบ้าง • ใช้วัสดุอุปกรณ์ใดบ้างในการสร้างชิ้นงาน เพราะเหตุใด • ใช้วัสดุทดแทนหรือวัสดุในท้องถิ่นในการสร้างชิ้นงานได้ อย่างไรบ้าง • ชิ้นงานที่สร้างกับภาพร่างที่ออกแบบไว้เหมือนหรือแตกต่างกัน อย่างไร • พกพาชิ้นงานติดตัวได้อย่างไรโดยไม่ใช้มือจับ • การใช้เกลือและน้ำ�แข็งมีผลต่ออุณหภูมิของวัคซีนในขวด อย่างไร สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562). คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2566, จาก http://www.scimath.org/ebook-technology/item/8284-1-8284. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562). คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2566, จาก http://www.scimath.org/ebook-technology/item/8285-4. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562). เอกสารประกอบการประชุมปฏิบัติการการพัฒนาวิทยากรแกนนำ�วิชาการออกแบบและเทคโนโลยี และโครงการพัฒนาครู เครือข่ายวิชาการครู โครงการส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สควค.). กรุงเทพมหานคร. บรรณานุกรม

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5