นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 240

ปีที่ 51 ฉบับที่ 240 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2566 51 สมรศรี กันภัย ผู้ชำ�นาญ โครงการโลกศึกษาเพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อม (GLOBE) สสวท. e-mail: skanp@ipst.ac.th GLOBE สร้างความเท่าเทียม ในการเรียนรู้สู่ชุมชน การพัฒนาเยาวชนให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เป็นความท้าทายของทุกประเทศ การสร้างเยาวชนให้ทันโลก มีความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพและทักษะทางสังคม การเปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้ ที่เน้นให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเองและเป็นผู้ค้นพบองค์ความรู้ วิเคราะห์และสรุปสิ่งที่ได้ค้นพบ เกิดการ พัฒนากระบวนการคิด การเรียนรู้ใหม่โดยมีครูเป็นผู้อำ�นวยความสะดวก แนวคิดนี้เป็นความต้องการของนักการศึกษา ทุกคน ก่อให้เกิดการผลักดันนโยบายการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) อย่างจริงจังและแพร่หลายเพื่อให้เป็น การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยมีแนวทางหลากหลายรูป เช่น ระดมสมอง (Brainstorming) เน้นปัญหา/โครงงาน/ กรณีศึกษา (Problem/Project-based Learning/Case Study) แสดงบทบาทสมมุติ (Role Playing) แลกเปลี่ยน ความคิด (Think–Pair–Share) สะท้อนความคิด (Student’s Reflection) ตั้งคำ�ถาม (Questioning-based Learning) ใช้เกม (Games-based Learning) (ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้, 2566) ต ลอดระยะเวลากว่า 23 ปี โครงการ GLOBE (Global Learning and Observations to Benefit the Environment) ประเทศไทย เน้นกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry-based Learning) ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งของการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อมุ่งสู่การหาคำ�ตอบเกี่ยวกับ สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับชุมชนของนักเรียนในรูปแบบโครงงานวิจัย ระดับนักเรียนและมุ่งหวังให้การลงมือทำ�กิจกรรม GLOBE เป็นการฝึกฝน กระบวนการให้เกิดทักษะต่างๆ ภายใต้บริบทสังคมและอาชีพของคนในชุมชน โดยครูมีบทบาทเป็นผู้ส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกับนักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการ และปราชญ์ชาวบ้าน ในฐานะผู้ทรงความรู้ในศาสตร์เฉพาะด้าน รูปแบบการเรียนรู้ และการจัดการเรียนรู้ในแนวคิดการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางของ GLOBE นี้ สามารถช่วยส่งเสริมการเรียนการสอนของโรงเรียนได้ โดยภาพรวม ของประเทศไทยนั้นชุมชนส่วนใหญ่มีความเข้มแข็งด้านองค์ความรู้และ ทักษะการประกอบอาชีพเกษตรกรรมและการท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม การส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ดังกล่าวอาจมีข้อจำ�กัดในกลุ่มโรงเรียนที่มี ทรัพยากรจำ�กัด เช่น โรงเรียนขนาดเล็ก มีงบประมาณจำ�กัด ครูไม่เพียงพอ กับจำ�นวนรายวิชา ครูสาระวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไม่ได้จบสาขาวิชา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี สื่อการเรียนการสอนไม่เพียงพอ กับจำ�นวนนักเรียน โครงการ GLOBE สสวท. จึงร่วมกับเครือข่ายโครงการ GLOBE ประเทศไทย ได้แก่ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลอีสาน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี โรงเรียนวิทยาศาสตร์ จุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย ตรัง และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดกิจกรรม GLOBE ให้กับนักเรียนและครู จัดหาสื่ออุปกรณ์ด้านการตรวจวัดสิ่งแวดล้อม ตามแนวทาง GLOBE ให้กับโรงเรียน 4 แห่ง คือ โรงเรียนบรรพตวิทยา จังหวัดเชียงราย โรงเรียนบ้านดอน (สหรัฐ-ราษฎร์อุทิศ) จังหวัดนครราชสีมา โรงเรียนบ้านโป่งเป้า จังหวัดอุบลราชธานี และโรงเรียนบ้านมดตะนอย จังหวัดตรัง โดยมีเป้าหมายให้โรงเรียนกลุ่มที่ขาดความพร้อมด้าน งบประมาณ บุคลากร และสื่อ แต่มีความอุดมสมบูรณ์ด้านทรัพยากร ธรรมชาติและองค์ความรู้ของชุมชนมีโอกาสที่จะทำ�งานวิจัยตามแนวทาง ของ GLOBE ได้ลงมือตรวจวัดสิ่งแวดล้อมรอบตัว ทำ�งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ ท้องถิ่น ได้สะสมทักษะและต่อยอดในการเรียนรู้และการประกอบอาชีพ ในอนาคต ขณะเดียวกันการลงมือปฏิบัติของนักเรียนสามารถส่งผลเชิงบวก ต่อการอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรของท้องถิ่น การดำ�เนินงานโครงการ The Extension of GLOBE Research Program and Network to Strengthen Local Wisdoms in Rural Areas of Thailand ได้รับ การสนับสนุนงบประมาณจากสถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำ�ประเทศไทย และได้รับวัสดุอุปกรณ์ตรวจวัด GLOBE บางส่วนจาก Youth Learning As Citizen Environmental Scientists (YLACES) ภาพจาก : https://knowledge.insead.edu/responsibility/five-global-trends- business-and-society-2023

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5