นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 240

52 นิตยสาร สสวท. ภาพ 1 การทำ�งานวิจัยระดับนักเรียนตามแนวทางของ GLOBE ที่มา https://www.globe.gov/documents/355050/14396119/ScientificInquiry.pdf/4015e624-aef3-4fc1-8471-842305855fba ภาพ 2-1 (ซ้าย) โรงเรียนบรรพตวิทยา ระดับประถมศึกษา ภาพที่ 2-2 โรงเรียนบรรพตวิทยาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ภาพที่ 2-3 การออกดอกของต้นนางพญาเสือโคร่ง มีการแตกตา จะสังเกตเห็น เป็นปุ่มสีเขียว/ สีอื่นๆ เริ่มเห็นสีของกลีบดอกโผล่ ขึ้นมา เริ่มเห็นกลีบเต็ม ๆ แต่ยังไม่บาน ดอกบานเต็มต้น ภายใต้แนวคิดของโครงการฯ มหาวิทยาลัยเครือข่ายโครงการ GLOBE ในฐานะ นักวิทยาศาสตร์ที่ปรึกษาได้จัดกิจกรรม GLOBE ให้กับโรงเรียน และส่งเสริมโรงเรียน ให้นำ�องค์ความรู้ของชุมชนมาพัฒนาเป็นโครงงานวิจัย ดังนี้ โรงเรียนบรรพตวิทยา อำ�เภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ภายใต้การดูแลทาง วิชาการของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โรงเรียนตั้งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริม การท่องเที่ยว โดยรอบบริเวณโรงเรียนปลูกต้นนางพญาเสือโคร่งจึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มี นักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศเดินทางมาชมดอกนางพญาเสือโคร่งทุกปี และชุมชนรอบโรงเรียนมีรายได้จากการประกอบอาชีพที่รองรับการท่องเที่ยว เช่น มัคคุเทศก์ โรงแรม ร้านอาหาร ผู้นำ�และชุมชนให้ความสำ�คัญกับการอนุรักษ์และส่งเสริม การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน แต่การบานของดอกนางพญาเสือโคร่งขึ้นอยู่กับอุณหภูมิอากาศ การออกดอกของนางพญาเสือโคร่งจึงไม่สามารถระบุเวลาที่แน่นอนได้ นักเรียนจึงสนใจ ที่จะติดตามการออกดอกของนางพญาเสือโคร่งกับสภาพอากาศ โดยทำ�งานวิจัยหัวข้อ “ผลของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มีต่อการผลิตาและการออกดอกของนางพญาเสือโคร่ง ณ โรงเรียนบรรพตวิทยา จังหวัดเชียงราย (Effect of Climate Change on Budburst and Flowering of WildHimalayan Cherry at Banpot Wittaya School, Chiang Rai, Thailand” เพื่อที่จะสามารถทำ�นายช่วงเวลา ที่เหมาะสมที่จะวางแผนการจัดการท่องเที่ยวของชุมชน และเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ที่บูรณาการได้หลากหลาย ทำ�ให้นักเรียนได้เรียนรู้การใช้สิ่งแวดล้อมในชุมชนเป็นแหล่ง เรียนรู้และเสริมรายได้แนวทางหนึ่ง

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5