นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 240
ปีที่ 51 ฉบับที่ 240 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2566 59 QUIZ สวัสดีคุณๆ ผู้อ่านที่รัก ฉบับนี้ต่ายจะพูดถึงวิธีการผลิตอาหารในรูปแบบใหม่ๆ ของมนุษย์ เพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากระบบการผลิตขนาดใหญ่ในรูปแบบ ไร่และฟาร์ม ไม่ว่าจะเป็นไร่ปลูกพืชผักหรือฟาร์มปศุสัตว์นานาชนิดล้วนมีของเสีย ที่สร้างปัญหาสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นเสมอ กระแสของความต้องการเปลี่ยนแปลงนี้ มาจากปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงและส่งผลกระทบต่อมนุษย์ เพิ่มมากขึ้นทุกวัน ทำ�ให้เกิดความตระหนัก กังวล อยากจะแก้ปัญหาซึ่งนำ�ไปสู่ ความสนใจในการมองหาแหล่งโปรตีนแหล่งใหม่ที่สร้างปัญหาสิ่งแวดล้อม น้อยลง “ แหล่งโปรตีนจากแมลงจึงถูกเลือกและส่งเสริมให้มีการนำ�มาใช้เป็น แหล่งโปรตีนสำ�หรับประชากรโลกโดยองค์การอาหารและการเกษตร แห่งสหประชาชาติ (FAO)” โดยนำ�แมลงมาทำ�อาหารด้วยวิธีการง่ายๆ คือ ทอด ปิ้ง ย่าง ต้ม หรือนำ�ไปผสมให้นัวกลมกลืนไปกับอาหารจนมองไม่เห็น ตัวแมลงที่หลายคนมองเห็นเป็นสิ่งที่ไม่น่ารับประทาน ต่อมามีการพัฒนาต่อ จนเป็นโรงงานแปรรูปแมลงให้เป็นผงโปรตีนจากแมลงเป็นเส้นสปาเก็ตตี้ มักกะโรนีผสมโปรตีนจากแมลงส่งออกไปขายต่างประเทศ และแม้แต่ใน ต่างประเทศเอง มีการทำ�ธุรกิจเลี้ยงแมลงขายกันมากมายเลยทีเดียว และสิ่งที่ น่าภูมิใจสำ�หรับคนไทยคือ ชาวต่างชาติมักจะนิยมมาดูงานการเลี้ยงแมลง ในประเทศไทย แล้วกลับไปพัฒนาฟาร์มแมลงให้ดีกว่าโดยใช้เทคโนโลยี ต่างๆ เข้าช่วย แมลงหลากหลายชนิดถูกนำ�มาเลี้ยงในระบบฟาร์ม มีทั้งแมลง ที่นำ�มาเป็นอาหารของมนุษย์โดยตรง และแมลงที่นำ�ไปใช้เป็นส่วนประกอบ ของอาหารเลี้ยงสัตว์ในฟาร์มปศุสัตว์เพื่อต้องการจะเสริมโปรตีนให้กับ สัตว์ต่างๆ ในฟาร์ม และเป็นการช่วยลดต้นทุนค่าอาหารสัตว์ไปได้อีกทางหนึ่ง นอกจากนี้ มูลของแมลงซึ่งมีไนโตรเจนสูงยังถูกนำ�ไปใช้เป็นปุ๋ยชีวภาพ สำ�หรับการเพาะปลูกได้อีกด้วย โดยพบว่าซากแมลงที่ได้จากฟาร์มจะช่วย ปรับสภาพสิ่งแวดล้อมในดินให้ดีขึ้น ทำ�ให้พืชสามารถเจริญเติบโตงอกงาม ได้ดี แม้ว่าไคติน (Chitin) ที่เปลือกแมลงจะมีปัญหาในเรื่องของการย่อย สำ�หรับสิ่งมีชีวิตทั่วไป แต่สำ�หรับแบคทีเรียหลายชนิดที่อยู่ในดิน ไคติน เป็นแหล่งอาหารชั้นดีสำ�หรับพวกมัน และที่สำ�คัญนักวิทยาศาสตร์พบว่า แบคทีเรียเหล่านั้นช่วยทำ�ให้พืชมีภูมิต้านทานต่อโรคพืชและแมลงได้ดีขึ้น พูดง่ายๆ ก็คือ ปุ๋ยจากซากแมลงช่วยทำ�ให้แบคทีเรียดีสำ�หรับพืชเจริญเติบโต ได้มากขึ้น โปรตีนจาก “รา (Fungi)” บริเวณบ่อน้ำ�พุร้อน อุทยานแห่งชาติ Yellow Stone ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นอีกหนึ่งการค้นพบของนักวิทยาศาสตร์ ที่ได้ทุนจากองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ NASA ซึ่งเป็นการศึกษาวิจัยเพื่อค้นหาสิ่งมีชีวิตในรูปแบบที่แตกต่างกัน บนโลก นั่นหมายความว่านักวิทยาศาสตร์ก็ต้องไปค้นหาสิ่งมีชีวิตในบริเวณที่ ไม่คิดว่าจะมีสิ่งมีชีวิตนั่นเอง หรือในสภาพแวดล้อมที่เคยเชื่อว่าไม่มีสิ่งมีชีวิต ใดๆ สามารถดำ�รงชีวิตอยู่ได้ ในที่สุดได้พบเชื้อราที่ชื่อว่า Fusarium Flavolapis ซึ่งพบว่าเจริญบริเวณน้ำ�พุร้อนที่ทั้งร้อนและมีสภาพเป็นกรดสูง เท่ากับกรดในแบตเตอรี่รถยนต์กันเลยทีเดียว ปัจจุบันนี้เชื้อราตัวนี้ถูกนำ�มา พัฒนาต่อเพื่อผลิตโปรตีนในระดับอุตสาหกรรม โดยกลุ่มธุรกิจ Start-up คุณสามารถเข้าชมได้ที่ Nature’s Fynd - Fungi-Based Foods for Optimists (naturesfynd.com) ซึ่งเป็นการผลิตโปรตีนโดยไม่ต้องอาศัย แสงแดด ฝน พื้นดิน เมื่อเทียบกับการผลิตโปรตีนจากการเลี้ยงวัวที่มี น้ำ�หนักโปรตีนเท่ากัน ราชนิดนี้ใช้พื้นที่น้อยกว่า 99% ใช้น้ำ�น้อยกว่า 87% และปล่อยแก๊สเรือนกระจกน้อยกว่าการผลิตโปรตีนจากการเลี้ยงวัว 94% นอกจากนี้ ยังสามารถผลิตโปรตีนได้มากและรวดเร็ว จากข้อดีในเรื่องนี้เอง ที่ทำ�ให้ NASA ให้ความสนใจกับการนำ�ราชนิดนี้ไปใช้ในการสร้างอาหาร สำ�หรับการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์อวกาศบนดวงจันทร์และดาวอังคาร โดย ภาพจาก: https://www.naturesfynd.com/
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5